ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ใช้"ปลา" เป็นสัตว์ทดลองงานวิจัยทางชีวการแพทย์

สิ่งแวดล้อม
1 มี.ค. 55
17:26
194
Logo Thai PBS
ใช้"ปลา" เป็นสัตว์ทดลองงานวิจัยทางชีวการแพทย์

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยบูรพา จัดการประชุมวิชาการ Symposium on “FISH IN RESEARCH DEVELOPMENT” A Satellite Symposium to The 7th Congress of the Asia and Oceania Society for Comparative Endocrinology (7th AOSCE Congress) เพื่อกระตุ้นนักวิจัยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำปลามาใช้เพื่อการวิจัยทางด้านชีวการแพทย์

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่าปัจจุบันปลาเป็นสัตว์อีกประเภทหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจและนำมาใช้เป็นสัตว์ทดลองทดแทนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่างไรก็ตาม การนำปลามาใช้เพื่องานทดลองก็ควรมีแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับจรรยาบรรณการใช้สัตว์เช่นเดียวกับสัตว์ทดลองอื่น ๆ เพื่อผลงานที่มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อพัฒนางานเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ จึงร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยบูรพา จัดการประชุมวิชาการ Symposium on “FISH IN RESEARCH DEVELOPMENT” A Satellite Symposium 7th AOSCE Congress  เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยไทยได้ร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศเพื่อทราบแนวทางปฏิบัติที่ประเทศต่าง ๆ ถือปฏิบัติและร่วมกันจัดทำมาตรฐานและแนวทางการใช้สัตว์น้ำของประเทศไทย ก่อนที่จะไปเข้าร่วมประชุม 7th AOSCE Congress ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย วันที่ 3 – 7 มีนาคม นี้
       
นายประดน  จาติกวนิช ที่ปรึกษาสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อพัฒนางานเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ วช. กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีพันธุ์ปลาหลากหลายชนิดจึงจำเป็นที่ต้องนำปลามาสืบสายพันธุ์ก่อนเพื่อคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับการวิจัย ซึ่งการใช้ปลาในงานทางวิทยาศาสตร์มีการดูแลที่สะดวกกว่าหนูแรทและหนูเม้าส์ และสามารถเลี้ยงในพื้นที่จำกัดเช่นตู้ปลา มีการจัดการสภาพแวดล้อมได้ง่ายสามารถสืบสายพันธุ์ และเพาะขยายพันธุ์ได้พันธุกรรมคงที่อย่างต่อเนื่อง หวังที่จะเห็นประเทศไทยนำปลามาใช้ทางการแพทย์เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ สำหรับการประชุมครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะกระตุ้นให้นักวิจัยไทยนำปลามาใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์อย่างแพร่หลายและเพื่อให้ ผลงานวิจัยที่เกิดจากการใช้ปลาหรือสัตว์น้ำในงานทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง