ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วัตถุดิบชีวภาพไทยส่อแวว สดใส หลังสหรัฐฯเร่งมาตรการใช้พลาสติกชีวภาพ รักษาสิ่งแวดล้อมโลก

สิ่งแวดล้อม
4 มี.ค. 55
17:32
29
Logo Thai PBS
วัตถุดิบชีวภาพไทยส่อแวว สดใส หลังสหรัฐฯเร่งมาตรการใช้พลาสติกชีวภาพ รักษาสิ่งแวดล้อมโลก

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันกระแสด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมด้าน กฎหมายและระเบียบท้องถิ่นควบคุมในเรื่องบรรจุภัณฑ์พลาสติก และต้นทุนวัตถุดิบหรือเม็ดพลาสติกที่เพิ่มสูงขึ้น มีผลผลกระทบทางลบต่ออุตสาหกรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์ เช่น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก ฟิล์มพลาสติกห่อของการให้ความสนใจต่อน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์พลาสติก และการลดการใช้พลาสติกจากปิโตรเลียมและหันไปใช้พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ยังเป็นการสร้างโอกาสในการดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ให้หันมาซื้อสินค้า และมีส่วนช่วยในการเพิ่มมูลค่าการส่งออก ทั้งในทางตรงและทางอ้อมซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมการส่งออกของกรมฯ อีกทั้งประเทศไทยยังมีความอุดมสมบูรณ์ด้านชีวมวล(Biomass) และมีวัตถุดิบที่มีศักยภาพ ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด และ มันสำปะหลัง ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาและผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่างผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่การันตีถึงผลงาน “ภาชนะบรรจุย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากมันสำปะหลัง” เพื่อใช้ทดแทนภาชนะบรรจุพลาสติกและโฟม เป็นการเพิ่มศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลังเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม ที่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงและนำเงินตราเข้าประเทศได้เพิ่มมากขึ้น ช่วยแก้ปัญหามันสำปะหลังล้นตลาดและราคาตกต่ำ ทั้งยังช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม รัฐบาลสามารถประหยัดงบประมาณ ที่ใช้ในการจัดการขยะ ภาชนะบรรจุหีบห่อย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากมันสำปะหลังนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในตลาดต่างประเทศสูงมาก กรมฯ จึงได้เล็งเห็นถึงช่องทางการขยายตลาดสินค้าประเภทวัตถุดิบด้านชีวมวลในสหรัฐฯ ที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของวัตถุดิบชีวมวลเพื่อเป็นวัตถุในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก ให้เป็นที่ยอมรับ และสนองความต้องการของตลาดโลกได้ ในระยะยาว

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก เปิดเผยถึงสถานการณ์ตลาดของสหรัฐฯในปัจจุบันว่า อุตสาหกรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์ของสหรัฐฯ ต้องต่อสู้กับกระแสด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมรวมถึงต้องปรับกลยุทธ์การผลิตและการตลาดมาโดยตลอด โดยผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกยุคใหม่ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบ่งเป็น 3 รูปแบบคือ

1. บรรจุภัณฑ์น้ำหนักเบา (Lightweight) ผู้ผลิตและผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ในสหรัฐฯ มีความต้องการลดน้ำหนักของขวดพสาสติก โดยเฉพาะขวดใส่น้ำดื่ม เนื่องจาก ต้นทุนวัตถุดิบหรือเม็ดพลาสติกมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และราคาน้ำดื่มขวดมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น การลดปริมาณการใช้พลาสติกในการผลิต จะช่วยให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์สามารถรักษาระดับราคา และไม่ส่งผลกระทบต่อราคาขายของน้ำดื่มขวด ในขณะเดียวกันการคิดค้นและพัฒนาเม็ดพลาสติกควรจะต้องดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์มีน้ำหนักเบา

2. การใช้วัตถุดิบที่เป็นมวลชีวภาพ (Bio based Polymer/Bio Plastic) ปัจจุบัน บริษัทโค๊กและ บริษัทเป๊ปซี่ เป็นผู้นำในการใช้ขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่ม หรือที่เรียกกันว่าขวด PET (PolyethyleneTerephthalate) ซึ่งใช้เม็ดพลาสติกจากปิโตรเลียม แต่ในปัจจุบันบริษัทฯ ได้ตระหนักถึงปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของโลก จึงเริ่มหันไปใช้พลาสติกชีวภาพ (Bio Plactic) ในการผลิตขวดเครื่องดื่ม แทนอย่างไรก็ดี การใช้พลาสติกชีวภาพในขณะนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่จะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับในอนาคต โดยบริษัทโค้กและแป๊บซี่คาดว่าจะเพิ่มการใช้พลาสติกชีวภาพเป็นร้อยละ 100 ภายในปี พ.ศ. 2563 และร้อยละ50 ภายในปี 2561 ตามลำดับ

3. การใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก (Recycled Content) นอกเหนือไปจากการใช้วัสดุชีวภาพมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกแล้ว การนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีก (Recycled Content) เป็นส่วนผสมในการผลิตบรรจุภัณฑ์จะขยายตัวเพิ่มขึ้น และผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ยินดีที่จะแจ้งให้ผู้ใช้/ผู้บริโภคทราบว่าบรรจุภัณฑ์ (ขวด/ถุงลพาสติก) มีส่วนผสมวัตถุดิบที่นำกลับมาใช้อีก ซึ่งเป็นแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบและส่งเสริมสภาพแวดล้อม

ปัจจุบัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้าน Sorting, Shredding และ Cleaning ช่วยคืนชีพกระบวนการปรับสภาพวัสดุใช้แล้วและช่วยให้มีวัตถุดิบเพิ่มขึ้น Recycled Content เพิ่มมากขึ้นเพื่อนำไปเป็นส่วนผสมผลิตถุงพลาสติกหรือขวดพลาสติกในปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญบัติFederalFarm Bill – Title 9 ว่าด้วยการใช้พลังงาน บังคับให้หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องวางแผนการจัดซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยวัตถุดิบชีวภาพ (Bio Base Materials) ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลดีทำให้เพิ่มความต้องการบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม กลุ่มองค์กรสนับสนุนสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าทำหน้าที่ต่อต้อนการใช้ถุงพลาสติก/ขวดพลาสติก และรัฐบาลท้องถิ่นในสหรัฐฯ หลายแห่งออกกฎหมายบังคับห้ามใช้ถุงพลาสติกหรือขวดน้ำดื่ม เช่น เมืองซีแอตเติ้ล นครซานฟรานซิสโก กรุงวอชิงตัน ดีซี ห้ามใช้ถุงพลาสติก (T-shrit Bag) อุทยานแห่งชาติ แกรนด์แคนยอนและมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง ห้ามน้ำขวดน้ำดื่ม หรือเทศบาลท้องถิ่นบางแห่งออกกฎหมายเรียกเก็บภาษีการค้าจากการใช้ถุงพลาสติก (Bag Tax) เป็นต้น และกระแสการดำเนินการนี้ จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้และการการผลิตขวดพลาสติกและถุงพลาสติก


ข่าวที่เกี่ยวข้อง