ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ขับถ่ายก่อนออกกำลังกาย ช่วยให้ร่างกายทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

3 ม.ค. 68

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

ขับถ่ายก่อนออกกำลังกาย ช่วยให้ร่างกายทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

https://www.thaipbsbeta.com/now/content/2113

ขับถ่ายก่อนออกกำลังกาย ช่วยให้ร่างกายทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

วิทยาศาสตร์น่ารู้ ! นักวิจัยค้นพบว่าการ “อุจจาระ” ก่อน “ออกกำลังกาย” (Exercise) จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย เช่น รวดเร็วขึ้น กระฉับกระเฉง สมองพรั่งพรู ไอเดียกระฉูดขึ้น โดยการศึกษานี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Sports Medicine and Health Science

smiling-asian-female-active-sport-lifestyle-warmup-stretching-before-running-exercise-while-arranging-her-hair-park-morning-workout-healthy-lifestyle-well-being-life

โดยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษานักไตรนักกีฬาจำนวน 13 คน ผ่านการทดสอบทางปัญญาที่เรียกว่าการทดสอบ Stroop (แบบทดสอบด้านประสาทจิตวิทยา) และยาระบายแมกนีเซียมออกไซด์ (Magnesium Oxide)

(แบบทดสอบ Stroop คือแบบทดสอบที่ให้คุณเห็นภาพของข้อมูลที่ขัดแย้งกัน ตัวอย่างเช่น คำว่า “สีแดง” อาจปรากฏเป็นข้อความสีน้ำเงิน ผู้เข้าร่วมการทดสอบต้องพูดออกเสียงสีของข้อความ ไม่ใช่คำสีที่เขียนไว้ แบบทดสอบนี้จะประเมินความยืดหยุ่นทางปัญญาและเวลาตอบสนอง)

young-asia-athlete-lady-exercises-tying-laces-work-out-urban-environment-japanese-teen-girl-wearing-sport-clothes-walkway-bridge-early-morning-lifestyle-active-sporty-city

ผลการศึกษาพบว่า นักไตรนักกีฬาทำผลงานได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในการทดสอบความสามารถในการรับรู้หลังจาก “อุจจาระ” ก่อน “ออกกำลังกาย” (Exercise) โดยงานวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นว่ามีการเชื่อมโยงระหว่างทวารหนักและการทำงานของสมองด้านความสามารถในการรับรู้ ซึ่งความเชื่อมโยงที่อาจเกิดขึ้นนี้มีความน่าสนใจมาก ไม่เพียงแต่จะเป็นเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการรับรู้ - เข้าใจถึงขีดจำกัดของร่างกายดีขึ้นด้วย

Chen-Chan Wei นักชีวเคมี จากมหาวิทยาลัยไทเป ผู้ทำการวิจัยกล่าวว่า ประสิทธิภาพการทดสอบ Stroop สำหรับผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมดที่บริโภคแมกนีเซียมออกไซด์ดีขึ้นกว่าการไม่ “อุจจาระ” ก่อน “ออกกำลังกาย” (Exercise) ชัดเจน ขณะที่การขับถ่ายเองไม่ต้องพึ่งยาถ่าย ก็สามารถทำผลการทดสอบดีขึ้น 9 จาก 13 คน

ทั้งนี้มีการศึกษาวิจัยในปี 2022 พบว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในระยะเริ่มต้น อาจมีอาการสมองเสื่อมเล็กน้อยเมื่อมีอาการท้องผูก ซึ่งบ่งชี้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างทวารหนักกับสมอง ด้วยเหตุนี้แนวคิดในการวิจัยล่าสุดจึงอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากลำไส้ของเรามีเซลล์ประสาทหลายร้อยล้านเซลล์และไมโครไบโอม (microbiome) ในลำไส้อาจมีบทบาทต่ออารมณ์ของเราได้ ซึ่งรวมถึงความผิดปกติทางระบบประสาท และสุขภาพจิต

asian-cheerful-young-adult-attractive-strong-morning-stretching-before-runin-park-sports-concept-healthy-lifestyle-young-fitness-woman-runner-stretching-before-run-park

ดังนั้น Chen-Chan Wei และทีมวิจัย จึงต้องการศึกษาเพิ่มเติมถึงความเชื่อมโยงนี้กับนักกีฬาไตรกีฬา ซึ่งเกี่ยวข้องกับกีฬา 3 ประเภทที่แตกต่างกันโดยต้องใช้ทั้งจิตใจและร่างกาย นักกีฬาต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพื่อก้าวผ่านเส้นทาง - การแข่งขันที่ยากลำบาก มีความอดทนอย่างมากกว่าจะไปถึงเส้นชัย ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามเอาชนะนักกีฬาคนอื่น ๆ ด้วย

Chia-Hua Kuo นักสรีรวิทยา จากมหาวิทยาลัยไทเป หนึ่งในทีมวิจัย เผยข้อมูลว่า การ “อุจจาระ” ก่อนปั่นจักรยานส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายดีขึ้น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณคอร์เทกซ์ (cortex) ด้านหน้าของสมองในนักไตรกีฬา ขั้นตอนต่อไป หลังจากพบความเชื่อมโยงระหว่างการขับถ่ายกับประสิทธิภาพทางกายที่เพิ่มขึ้นแล้ว ก็คือการพยายามระบุว่าจะมีความเชื่อมโยงในลักษณะเดียวกันนี้กับประสิทธิภาพทางปัญญาหรือไม่

ณ ขณะนี้งานวิจัยดังกล่าวแม้จะยังไม่สามารถระบุถึงความเชื่อมโยงและเหตุผลการ “อุจจาระ” ทำให้ประสิทธิภาพทางปัญญาดีขึ้นได้อย่างชัดเจน แต่ทีมวิจัยคาดการณ์ว่าประสิทธิภาพทางกายที่ดีขึ้นนั้นอาจมีความเกี่ยวข้องกับทรัพยากรที่มีจำกัดในร่างกายของเรา เมื่อร่างกายมีอาหารอยู่ในระบบย่อยอาหาร เลือดและออกซิเจนจะถูกใช้เพื่อช่วยย่อยอาหารดังกล่าว แต่เมื่อไม่มีอาหารให้ย่อย ทรัพยากรที่ต้องใช้ในกระบวนการย่อยจึงถูกนำไปใช้ในที่อื่นได้

asian-cheerful-young-adult-attractive-strong-morning-stretching-before-runin-park-sports-concept-healthy-lifestyle-young-fitness-woman-runner-stretching-before-run-park

Chia-Hua Kuo อธิบายเพิ่มเติมว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายเรามีการเชื่อมโยงกันอย่างแปลกประหลาดและน่าอัศจรรย์ จิตของเราอาจไม่ได้อยู่ภายในกะโหลกศีรษะเท่านั้น แต่ยังอยู่ในส่วนอื่น ๆ ด้วย และทวารหนักก็เป็นส่วนหนึ่งของสมอง

ส่งท้าย นักวิจัยเตือนว่าหากไม่จำเป็นไม่ควรใช้ยาระบาย - ยาถ่ายก่อนออกกำลังกาย หากมีปัญหาในการรักษาความสม่ำเสมอของระบบทางเดินอาหาร ควรปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือจากแพทย์


อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : sciencedirect, sciencealert

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

อุจจาระก่อนออกกำลังกายอุจจาระขับถ่ายออกกำลังกายExerciseวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์น่ารู้Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด