วันธรรมสวนะ หรือ "วันพระ" ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หรือวันแรม 14 ค่ำ ในเดือนขาด)
ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน เป็นวันกำหนดประชุมฟังธรรมเทศนา หรือที่เรียกกันว่า "ฟังเทศน์" เพื่อสนทนาธรรมเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนา ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เนื่องจากอดีตยังไม่มีการบันทึกคำสอนเป็นลายลักษณ์อักษร จึงถ่ายทอดสืบต่อกันผ่านการพูด การฟัง และท่องจำสืบต่อกันมา การฟังเทศน์ ฟังธรรม จึงเปรียบเสมือนเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่สืบทอดศาสนาพุทธ ซึ่งในปี พ.ศ. 2568 แต่ละเดือนมีวันพระดังนี้
วันพระ เดือนมกราคม 2568
- วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2568
ขึ้น 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง - วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568
ขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง - วันอังคารที่ 21 มกราคม 2568
แรม 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง - วันอังคารที่ 28 มกราคม 2568
แรม 15 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง
วันพระ กุมภาพันธ์ 2568
- วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568
ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง - วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง - วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568
แรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง - วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568
แรม 14 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง (วันมาฆบูชา)
วันพระ มีนาคม 2567
- วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2568
ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง - วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2568
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง - วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2568
แรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง - วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2568
แรม 15 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง
วันพระ เมษายน 2568
- วันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2568
ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง - วันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2568
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง - วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2568
แรม 8 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง - วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2568
แรม 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง
วันพระ พฤษภาคม 2568
- วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม 2568
ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง - วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม 2568
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง (วันวิสาขบูชา) - วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2568
แรม 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง - วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2568
แรม 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง
วันพระ มิถุนายน 2568
- วันอังคารที่ 3 มิถุนายน 2568
ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง - วันอังคารที่ 10 มิถุนายน 2568
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง - วันพุธที่ 18 มิถุนายน 2568
แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง - วันพุธที่ 25 มิถุนายน 2568
แรม 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง
วันพระ กรกฎาคม 2568
- วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม 2568
ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง - วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2568
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง (วันอาสาฬหบูชา) - วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม 2567
แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง (วันเข้าพรรษา) - วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม 2568
แรม 8 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง - วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม 2568
แรม 15 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง
วันพระ สิงหาคม 2568
- วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม 2568
ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง - วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2568
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง - วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม 2568
แรม 8 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง - วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2568
แรม 14 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง - วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม 2568
ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง
วันพระ กันยายน 2568
- วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2568
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง - วันจันทร์ที่ 15 กันยายน 2568
แรม 8 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง - วันจันทร์ที่ 22 กันยายน 2568
แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง - วันอังคารที่ 30 กันยายน 2568
ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง
วันพระ ตุลาคม 2568
- วันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2568
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง (วันออกพรรษา) - วันพุธที่ 15 ตุลาคม 2568
แรม 8 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง - วันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2568
แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง - วันพุธที่ 29 ตุลาคม 2568
ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเส็ง
วันพระ พฤศจิกายน 2568
- วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน 2568
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเส็ง (วันลอยกระทง) - วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน 2568
แรม 8 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเส็ง - วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน 2568
แรม 15 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเส็ง - วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2568
ขึ้น 8 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะเส็ง
วันพระ ธันวาคม 2568
- วันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2568
ขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะเส็ง - วันอังคารที่ 10 ธันวาคม 2568
แรม 8 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะเส็ง - วันพุธที่ 18 ธันวาคม 2568
แรม 14 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง - วันพุธที่ 25 ธันวาคม 2568
ขึ้น 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง
สำหรับการฟังธรรมในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของศาสนาพุทธ จึงได้ประกาศให้ วันพระ และวันอาทิตย์ เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าวัด ทำบุญตักบาตร ฟังธรรมเทศนา ภายหลังจึงได้ประกาศเปลี่ยนให้วันเสาร์ และวันอาทิตย์ เป็นวันหยุดราชการตามหลักสากลทั่วไปแทน ในปี พ.ศ. 2502 แต่ยังคงถือว่า วันพระ เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่มีอยู่ประจำทุกเดือน และพุทธศาสนิกชนยังคงนิยมเข้าวัดทำบุญ รักษาศีล และฟังธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดสติปัญญา ผ่านการฝึกฝนทบทวนและเข้าใจหลักธรรมมากยิ่งขึ้น มีจิตใจที่สงบ มีสติสัมปชัญญะมากขึ้นจากการสวดมนต์ และนั่งสมาธิอีกด้วย
"การแผ่เมตตา" หลังสวดมนต์ เป็นการแสดงความปรารถนาดีต่อผู้อื่นด้วยการสำรวมจิตใจ และนึกถึงผู้อื่น ซึ่งจะช่วยขัดเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจเมตตา เอื้ออาทรต่อผู้อื่น การแผ่เมตตาเป็นประจำ จะทำให้เทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์รับรู้ไปจนถึงสรรพสัตว์ สัมภเวสีทั้งหลายได้มารับส่วนบุญส่วนกุศล
- บทสวดแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพะยาปัชฌา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีความสุขกาย สุขใจ, รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด (กราบ 3 ครั้ง)
- บทสวดแผ่เมตตาให้ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด
"การกรวดน้ำ" เป็นพิธีกรรมหนึ่งในการอุทิศบุญกุศลแก่ผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการหลั่งน้ำ ชาวพุทธนิยมปฏิบัติหลังจากทำบุญ ลักษณะการกรวดน้ำ โดยทั่วไป คือ การนำน้ำสะอาดใส่ในภาชนะอย่างแก้ว ขวด หรือคนโทเล็ก ๆ เทลงในภาชนะที่รองรับอีกที
โดยเริ่มรินน้ำตั้งแต่พระขึ้นคำว่า ยถา วาริวะหา..… จนถึงคำว่า มณิ โชติรโส ยถา ก็เทน้ำให้หมดพอดี บทสวดในช่วงนี้จะเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ล่วงลับไปแล้ว ระหว่างเทน้ำลงภาชนะที่รองรับ ไม่จำเป็นต้องใช้นิ้วรองน้ำ แต่ให้เทลงไปตรง ๆ เพื่อมิให้น้ำขาดสาย เหมือนให้บุญหลั่งไหลลงไปโดยไม่ขาดตอน และเมื่อพระขึ้นคำว่า สัพพีติโย.… ก็ให้นั่งประนมมือฟังต่อจนสวดจบ เป็นอันเสร็จพิธีกรวดน้ำ บทสวดในช่วงนี้จะเป็นการให้พรแก่ผู้ทำบุญที่ยังมีชีวิตอยู่ บทสวดทั้งสองบทนี้จึงมักเรียกรวมโดยใช้คำขึ้นต้นว่า ยถา-สัพพี หมายถึง การอุทิศบุญให้คนตายและให้พรคนเป็น หรือที่พูดภาษาปากกันว่า "ยถา ให้ผี - สัพพี ให้คน"
นอกจากบทกรวดน้ำ ยถา-สัพพี ที่พระสงฆ์เป็นผู้สวดหลังทำบุญต่าง ๆ แล้ว ยังมีบทกรวดน้ำที่ผู้ทำบุญเป็นผู้สวดเองอีกด้วย บทสวดแบบย่อ กล่าวว่า
อิทังเม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
แปลว่า ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุขเถิดฯ
เมื่อกรวดน้ำเสร็จ จึงนำน้ำที่กรวดแล้วไปเทลงดินหรือตามต้นไม้ เสมือนให้พระแม่ธรณีเป็นพยานในการทำบุญเช่นเดียวกับพระพุทธองค์ จากตำนานความเป็นมาที่เล่ากันว่า พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ ได้ทรงผจญกับเหล่าพวกพญามารทั้งหลาย พระแม่ธรณีทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบเหล่าพญามาร โดยทรงบีบมวยผมให้น้ำไหลออกมาท่วมพวกพญามารทั้งหลายให้พ่ายแพ้ไป ต่อมาชาวพุทธนิยมไปเทตรงต้นไม้ คงเพราะต้นไม้ขึ้นในดิน จึงถือว่ารดน้ำบำรุงต้นไม้ไปด้วย
ข้อมูลจาก กรมการศาสนา , สำนักงานพระพุทธศาสนา , พระไตรปิฎกฉบับประชาชน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ