As a land of pluralism, Satun has long been a cultural and commercial meeting place for Thais and Malays who travelled throughout the Malay Peninsula. Satun’s ports have served as windows into a broader world that facilitated the exchange of goods and products from far-off places.
When armed struggle came to an end, the comrades put down their weapons and left the jungle where they had been hiding for over 20 years. Some chose to return to their motherland of Malaysia. Those who stayed decided to start new lives in Thailand. From Communist Malaya, they transitioned into developers of “a new land”.
เรื่องราวในครอบครัวมาเต้ ผ่านความคิด ความทรงจำของ มาเรีย เอลิซาเบธ เอ มาเต้ (Maria Elizabeth A. Mate) ภาพชีวิตของคนฟิลิปปินส์ในยุคอาณานิคมสู่เผด็จการมาร์กอส ก่อนที่ชีวิตของเธอจะพลิกผันสู่ประเทศไทย สร้างครอบครัว ปรับตัวกับความแตกต่าง และเริ่มต้นบทบาทใหม่ที่ผู้คนยุคนั้นรู้จักเธอในชื่อ “WEEGEE”
หนังสือการ์ตูน “มังงะมลายู” เต็มไปด้วยเรื่องราวของวิถีชีวิตและคุณค่าของบ้านเกิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สร้างสรรค์โดย “กิตติคุณ กิตติอมรกุล” หนึ่งในทีมสารคดีของสถาบันรามจิตติ ที่ต้องการสื่อสารคุณค่าความเป็นมลายูในหลายมิติผ่านตัวการ์ตูน ที่เป็นดั่งเพื่อนใหม่ของเด็ก ๆ
การออกเดินทางไปตามเส้นสายลายมลายู ทำให้ค้นพบว่าชาวมลายู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงผูกพันกับลวดลายที่สืบต่อมาจากบรรพบุรุษ ช่างท้องถิ่นแต่งแต้มลายมลายูบนเรือกอและ ศิลปินสร้างสรรค์ลายมลายูบนงานเซรามิก ความงดงามของลายมลายูบนสถาปัตยกรรมท้องถิ่น และที่สำคัญคือมันได้สลักลงในหัวใจของผู้คนด้วย
กว่า 40 ปีแล้วที่ครอบครัวจอร์แดนได้ยืนหยัดอยู่บนแผ่นดินไทย และช่วยเหลือพี่น้องชาวปรัยในจังหวัดน่าน ถึงตอนนี้ความเป็นนักพัฒนาจากรุ่นพ่อได้ส่งต่อมาทางสายเลือดสู่ เคเลบ จอร์แดน ลูกชายคนเล็กที่นำความรู้จากด้านกาแฟต่างประเทศเข้ามาพัฒนาชุมชน และที่ไม่ได้แค่ทำให้ผู้คนในหมู่บ้านมณีพฤกษ์ค่อย ๆ พบกับความเปลี่ยนแปลงในการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับป่าเมืองน่านเพียงอย่างเดียว แต่ยังทำให้ชาวบ้านมีรายได้ที่มั่นคง ได้พบกับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และทำให้หมู่บ้านเล็ก ๆ บนยอดดอยอย่าง มณีพฤกษ์ กลายเป็นที่สนใจของคอกาแฟไทยและทั่วโลก
ชวนเดินทางไปยังอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ไปพบกับคุณเดวิด จอร์แดน นักบุญผู้พัฒนาภาษาปรัย มิชชันนารีอีกหนึ่งคน ที่เข้ามาประเทศไทยพร้อม ๆ กับคุณบุญยืน สุขเสน่ห์ ก่อนเดินทางขึ้นดอยไปรู้จักกับคุณเคเลบ ลูกชายคนเล็กของครอบครัว กับบทบาทการทำงานกับชาวปรัยและการเจริญรอยตามผู้เป็นพ่อ ในหมู่บ้านมณีพฤกษ์ ที่เขารักเสมือนบ้านหลังที่สอง