คณะกรรมการค่าจ้าง หรือ บอร์ดไตรภาคี ประชุมหารือค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ 1 ต.ค. ขณะที่ผู้ประกอบการและกลุ่มนายจ้าง ระบุเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว ด้านนักวิชาการมอง เป็นการตอบโจทย์นโยบายหาเสียง
การจ่ายเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 หมื่นบาท เริ่มจ่ายไปแล้วสวนทางกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่ไม่เป็นตามเป้าที่วางไว้ คือ 1 ตุลาคม นี้ ฝ่ายตัวแทนแรงงาน เชื่อว่า มันเป็นเกมการเมืองที่ยื้อเวลา แต่ในอีกด้าน เมื่อค่าแรงไม่สัมพันธ์กับค่าครองชีพ ทำให้นักวิชาการตั้งข้อกังวลจะกระทบกับมิติทางสังคมและคุณภาพชีวิตของแรงงานที่จะแย่ลง
ตามที่รัฐบาลประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ ภายในวันที่ 1 ต.ค. 67 เมื่อวันแรงงาน 1 พ.ค. 67 นั้น วันนี้ (7 พ.ค. 67) นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวในงานแถลงข่าวคัดค้านนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันทั่วประเทศ ว่า ผู้ประกอบการเห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างเพื่อให้แรงงานมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่การปรับขึ้นค่าจ้างที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ และความพร้อมของผู้ประกอบการ จะสร้างผลกระทบเชิงลบ ทั้งต้นทุนที่สูงขึ้น และความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง
การเตรียมประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ วันที่ 1 พ.ค. ที่เป็นวันแรงงานในมุมของแรงงาน ย่อมเป็นข่าวดีท่ามกลางข้อมูลผลสำรวจของผู้ประกอบการเกินครึ่งที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งค่าแรงใหม่คาดว่าจะเริ่มมีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. นี้ เป็นต้นไป โดยคณะกรรมการไตรภาคีจะนัดประชุมในวันที่ 14 พ.ค. นี้ เพื่อรองรับประกาศอย่างเป็นทางการทำให้แรงงานหลายคนหวังว่าค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจะมาช่วยบรรเทาค่าครองชีพได้