ฝนตกต่อเนื่องบนเขาใหญ่ น้ำป่าไหลบ่าเข้าท่วมชุมชนตลาดเก่า อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ชาวบ้านต้องอพยพหนีน้ำ ขณะที่เขาสมิง จ.ตราด น้ำบ่าชาวบ้านเดือดร้อน 40 หลังคาเรือน ส่วน "จันทบุรี" เปิดประตูระบายน้ำปากคลองภักดีรำไพ เร่งระบายน้ำออกอ่าวไทย
พาย้อนกลับมาเยือน "เมืองจันทบุรี" อีกครั้ง เมืองเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์และเรื่องราวมากมาย หลังจากที่ครั้งก่อนเราได้มีโอกาสพาทุกคนไปรู้จักกับเพื่อนใหม่ในชุมชนริมน้ำจันทบูร ชุมชนเก่าแก่ริมน้ำที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน วันนี้เรากลับมาอีกครั้งเพื่อสำรวจชีวิตของผู้คนในตัวเมืองจันทบุรีให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ถ้าพูดถึงชุมชนบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เกือบทุกหลังคาเรือนจะมีอาชีพหลักในการทอเสื่อกกจันทบูร เนื่องจากชุมชนบางสระเก้ามีการผลิตผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบด้วยเสื่อกก แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป การออกแบบหรือคิดค้นลวดลายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ต้องปรับให้ทันสมัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนยุคใหม่ให้มากขึ้น เพราะเมื่อสินค้าอยู่ได้ วิสาหกิจชุมชนก็อยู่รอดพาคุณผู้ชมไปดูการต่อยอดภูมิปัญญาจากคนรุ่นเก่าพัฒนาสู่คนรุ่นใหม่ ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "คุยกันวันใหม่" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyWanmaiTalk
สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในเวลานี้ บางพื้นที่น่าเป็นห่วง เพราะฝนทิ้งช่วงนาน อย่างที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ สถานการณ์ตอนนี้ จังหวัดได้ประกาศภัยแล้งแล้วใน 2 อำเภอ ขณะที่บางอำเภอแม้ยังไม่ประกาศ แต่พบว่าชาวสวนต้องซื้อน้ำรดต้นทุเรียน ที่กำลังออกผลผลิต ส่วนชาวบ้านก็ขาดน้ำใช้ในครัวเรือน
หลังช่วงปี 2500 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการพัฒนาบ้านเมืองในหลายด้าน บางคนอาจมองเห็นความเสื่อมถอย บางคนก็มองเป็นเรื่องปกติของการพัฒนา จากรากสู่เราพาไปพบและพูดคุยกับผู้คนรุ่นปัจจุบันที่ อ. แกลง จ.ระยอง และ จ.จันทบุรี ที่ต่างหาทางออกให้กับอาชีพ ให้กับชีวิตโดยเชื่อมโยงคุณค่าเดิมของภูมินิเวศน์ในพื้นที่ และสังคมวัฒนธรรมในอดีตกับวิถีชีวิตในปัจจุบันและสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
ต่างจากพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย เมื่อในภาคตะวันออกโดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรีที่ไม่พบร่องรอยของงานมหรสพตามฤดูกาลจากเกษตรกรรม แต่กลับพบการเล่นละครชาตรีที่เรียกกันว่า “เท่งตุ๊ก” หรือ “เท่งกรุ๊ก” จากรากสู่เราขอพาทุกคนไปชมละครเท่งตุ๊กที่จันทบุรี จากต้นกำเนิดครูคนแรก สู่บทบาทสำคัญทางความเชื่อในปัจจุบัน
หากจะนึกถึงอาหารประจำจังหวัดจันทบุรี คุณจะนึกถึงเมนูไหน หมูชะมวง เส้นจันท์ผัดปู ก๋วยเตี๋ยวเนื้อเลียง หรืออาจจะนึกถึงอาหารจีน อาหารทะเล อาหารป่านานาชนิด นี่คือความหลากหลายเมนูที่สะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมเชื้อชาติที่หลอมรวมกับธรรมชาติพื้นถิ่น จากรากสู่เราพาทุกคนไปสำรวจเรื่องราวของผู้คนและสังคมคนเมืองจันทร์ในอดีตจนถึงปัจจุบันที่อยู่ในเมนูอาหารเหล่านั้น
ท่องไปในประวัติศาสตร์การทำสวนในจันทบุรี “อัญมณีแห่งภาคตะวันออก” นับแต่แรกเริ่มของการส่งออกของป่าเข้าสู่ส่วนกลางในสมัยกรุงศรีอยุธยา สู่ช่วงเริ่มแรกของการทำเกษตรอุตสาหกรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 จวบจนปัจจุบันที่เมืองจันทบุรีกลายเป็นแหล่งผลิตทุเรียนสำคัญส่งออกไปยังประเทศจีน พืชสวนและผู้คนจากอดีตจวบจนปัจจุบันมีความสัมพันธ์ถึงกันอย่างไร
จังหวัดจันทบุรีมีภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเป็นเมืองท่าและเมืองหน้าด้านสำคัญ ชาวญวนที่นับถือคริสต์และพุทธถือเป็นอีกกลุ่มชนสำคัญที่อพยพย้ายถิ่นมายังพื้นแห่งนี้ ชีวิตของชาวเวียดนามในไทย เข้ามาด้วยเหตุผลตั้งแต่ถูกกวาดต้อนมา กระทั่งอพยพย้ายประเทศจากความขัดแย้งทางการเมือง สีสันแห่งชีวิตเหล่านี้เต็มไปด้วยจากต่อสู้ที่ “จากรากสู่เรา” จะพาทุกคนไปสัมผัสถึงเรื่องราวชีวิตผ่านการกาลเวลาที่เติมเต็มท่วงทำนองสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
ย้อนรอย ร.ศ. 112 ในมุมของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมีเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศสบุกยึดจันทบุรีเป็นช่วงเวลาถึง 11 ปี เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าและด้านสังคมมากมาย แต่กลับไม่มีการปะทะกับคนในพื้นที่จนลุกลาม นี่คือช่วงเวลาที่สยามเกือบจะกลายเป็นประเทศอาณานิคมอย่างฉิวเฉียดมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เราเรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจันทบุรีนี้ได้บ้าง ?
จันทบุรีรวมถึงพื้นที่ภาคตะวันออกมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของประเทศ หลังสงคราม “อานามสยามยุทธ” อันเป็นฉากสำคัญหนึ่งของพื้นที่แห่งนี้ การสร้างเมืองเพื่อรับศึกนำมาสู่ความเจริญรุ่งเรืองที่ตามมา เหตุใดเกิดสงครามแต่กลับมีความรุ่งเรือง ? รากสู่เราจะพาไปค้นหาคำตอบกัน
จันทบุรีมีหลักฐานว่าเป็นเมืองสำคัญตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา หลายช่วงเวลาถือว่ามีส่วนสำคัญกับประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “สงครามอานามสยามยุทธ” ร่องรอยของสงครามครั้งนี้ เรื่องราวของขุนนางและคหบดีจีนที่ยังหลงเหลืออยู่ สุดท้ายสะท้อนเรื่องราวอะไรให้กับเราได้บ้างในปัจจุบัน
คนจีนในไทยอยู่ภูมิภาคไหนมากที่สุด ภาคตะวันออกคงเป็นคำตอบผ่านสุสานขนาดใหญ่ และศาลเจ้ามากมายได้ไม่ยาก ทว่าความเป็นจีนแท้จริงมีมากกว่านั้น “จากรากสู่เรา” พาทุกคนลงไปสำรวจยังชุมชนชาวจีนทั่วจังหวัดจันทบุรี ทั้งจีนแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน และจีนแคะ เรียนรู้เรื่องราววิถีชีวิตชุมชนจีนเก่าแก่ สำรวจภูมิปัญญาข้ามน้ำข้ามทะเลสั่งสมสืบต่อมาหลายร้อยปี
“จันทบุรี” มีหลักฐานยืนยันถึงการเป็นเมืองท่ามาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นจุดเชื่อมโยงเส้นทางการค้าทั้งทางบกภายในแผ่นดิน และทางทะเลภายในภูมิภาค จากพื้นที่การค้าหลากหลายวัฒนธรรม สู่ หัวเมืองการค้าสำคัญของสยามในภาคตะวันออก เรื่องราวประวัติศาสตร์เหล่านี้สะท้อนผ่านหลักฐานที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันใดบ้าง ?
“จันทบุรี” มีร่องรอยการเป็นบ้านเมืองอยู่บริเวณเชิงเขาสระบาป นับจากการสำรวจในสมัยรัชกาลที่ 5 พบร่องรอยโบราณสถาน โบราณวัตถุ บารายหรือสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงจารึกหลักฐานกระดูกมนุษย์โบราณที่โยงไปถึง “คนชอง” หลักฐานและเรื่องราวนับพันปีจะมีประโยชน์กับคนในปัจจุบันอย่างไรบ้าง