ภาพลักษณ์ของ “ทนายความ” ที่หลายครั้งไม่ใช่เป็นเพียงตัวแทนทางกฎหมาย แต่ยังรับบทบาทนักร้องเรียนผ่านสื่อ รวมถึงให้ความรู้ ตอบข้อซักถามในรายการต่าง ๆ จนกลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง นายกสภาทนายความ ตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นวิธีการที่ทำให้คดีกลายเป็นที่สนใจของประชาชน คือ คดีดัง-ทนายก็พลอยดังไปด้วย
"ทนายตั้ม" หรือ นายษิทรา เบี้ยบังเกิด เข้าสู่วงการทนาย ตั้งแต่ปี 2547 เริ่มจากการเป็นทนายที่ให้คำแนะนำชาวบ้าน กระทั่งสร้างทีมชื่อ "ทีมทนายประชาชน" ทำงานในลักษณะอาสาช่วยสังคม ซึ่งเส้นทางตลอดช่วง 10 ปี มานี้ มีคดีหลายคดีที่ทำให้ตัวเขา ได้รับความสนใจจากสังคมเป็นอย่างมาก แต่ไม่ว่าจะตัวปัจจัยใด เขากลายเป็นทนายความคนหนึ่งที่สื่อมวลชนและสังคมให้ความสนใจ
วันนี้ (20 พ.ค. 67) ตำรวจสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล บุกจับนายอาร์ม ซึ่งเป็นทนายความ ถึงบ้านพักในจังหวัดสงขลา ตามหมายจับในคดีข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น เบื้องต้นให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา พร้อมอ้างว่าเป็นการสมยอม สำหรับเหตุคดีดังกล่าว เกิดขึ้นในปี 2566 ผู้เสียหายเป็นหญิง 26 ปี ว่าจ้างทนายความให้ช่วยทวงหนี้ หลังตกลงรับทำคดีความแล้ว ทนายความได้ชักชวนให้มาร่วมงานประชุมและงานเลี้ยง ก่อนกระทำการข่มขืนและผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความ ด้านทนายทำทีว่าจะรับผิดชอบ โดยให้ผู้เสียพิมพ์จำนวนเงินผ่านแชทไลน์ แต่กลับนำหลักฐานดังกล่าว แจ้งความผู้เสียหายในข้อหาแจ้งความเท็จและกรรโชกทรัพย์
การตอบโต้กันไปมาในโลกออนไลน์ด้วยข้อความหยาบคาย ดูหมิ่น หรือคุกคามข่มขู่ ตามกฎหมายจะเสี่ยงถูกข้อหาอะไรบ้าง เราสามารถนำข้อความในโลกออนไลน์มาเป็นหลักฐานในการแจ้งความดำเนินคดีได้หรือไม่ ติดตามชมประเด็นรู้เท่ารู้ทัน ในช่วง "วันใหม่ ไทยพีบีเอส" วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคมนี้ ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live