สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ "อบจ." แต่อาจจะยังคงต้องติดตามผลว่า การเลือกตั้งในบางจังหวัด นั้นเป็นไปอย่าง "โปร่งใส-ยุติธรรม" หรือไม่ สืบเนื่องจากคำร้องที่ถึงมือ กกต.มากกว่า 150 เรื่อง และยังคงต้องเกาะติดการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ "เทศบาล" นี้ด้วย
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร แจ้งความดำเนินคดีกับชายคนหนึ่ง ที่ข่มขู่เอาชีวิต ซึ่งเป็นผู้ติดป้ายหาเสียงให้กับผู้สมัคร นายก อบจ.จันทบุรี อีกหมายเลขหนึ่ง ซึ่งเป็นคู่แข่งกับผู้สมัครจากพรรคประชาชน ชายคนดังกล่าวอ้างว่า ไม่ได้มีเจตนาจะยิงนายวิโรจน์ตามที่พูดข่มขู่ และขอโทษสิ่งที่ทำลงไป
คู่ชิงนายก อบจ. ในพื้นที่หาเสียงเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย ส่วนใหญ่เป็นบ้านใหญ่ ชนบ้านใหญ่ บางที่ ยังต้องเจอผู้สมัครหน้าใหม่อย่างพรรคประชาชน ที่กวาดคะแนนในการเลือกตั้งระดับประเทศในครั้งที่ผ่านมา จึงอาจเป็นเหตุผลที่ภารกิจการลงพื้นที่ ช่วยผู้สมัครหาเสียงของ "ทักษิณ" ในช่วงนี้ ดูจะแน่นเป็นพิเศษ
“ทักษิณ ชินวัตร” ลงพื้นที่ช่วยผู้สมัคร นายก อบจ.หาเสียง ขึ้นเวทีปราศรัย 3 เวทีรวดที่เชียงราย ส่งสัญญาณการกลับมาอย่างเต็มตัวของอดีตนายกรัฐมนตรี เรียกคืนความเชื่อมั่นผ่านการนำเสนอตัวเองเป็นผู้มีประสบการณ์และมีคอนเน็กชันกับบุคคลสำคัญทั้งในและต่างประเทศ การเลือกตั้ง อบจ. ที่กำลังจะมาถึงจะเป็นบททดสอบสำคัญว่ากลยุทธ์ของทักษิณจะยังคงได้ผลอยู่หรือไม่
การเลือกตั้งนายก อบจ.เชียงราย ตอนนี้มีผู้สมัคร 2 คน คนแรก นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ ซึ่งเป็นผู้สมัครอิสระและแชมป์เก่า แม้จะลงในนามอิสระ แต่ถูกมองว่าได้รับการสนับสนุนจากค่ายสีน้ำเงิน คนที่ 2 คือ นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย การลงสมัคร นายก อบจ.ครั้งนี้ เป็นการหวนคืนสู่การเมืองในรอบ 10 ปี หลังถูกตัดสิทธิทางการเมือง ซึ่งนายทักษิณ ชินวัตร ผู้ช่วยหาเสียงพรรคเพื่อไทย เตรียมลงพื้นที่ช่วยหาเสียงที่จังหวัดเชียงราย ในช่วงต้นเดือน ม.ค. 68
ตามกฎหมายท้องถิ่นกำหนดให้มี "นายก อบจ." 1 ตำแหน่ง แต่สมาชิกสภา หรือ ส.อบจ. ให้ขึ้นอยู่จำนวนประชากรในแต่ละจังหวัด ขณะที่ งบประมาณของแต่ละจังหวัด ให้เป็นไปตามสภาผู้แทนราษฎร "เห็นชอบ-อนุมัติ" กฎหมายงบฯ แต่ละปี ประกอบกับการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น ตั้งแต่หลักร้อยล้านไปถึงพันล้านบาท และกลายเป็นเหตุหนึ่งให้ "บ้านใหญ่ทางการเมือง" ช่วงชิงกันเข้าสู่ตำแหน่ง