ต้องรอให้ศาลตัดสินว่าธุรกิจดิไอคอนเข้าข่าย "แชร์ลูกโซ่" หรือไม่ แต่ถ้าถามถึงปัจจัยที่ทำให้คนหลงเชื่อร่วมลงทุน นักวิชาการด้านจิตวิทยา สะท้อนว่าสาเหตุหลัก ๆ มาจากการใช้จิตวิทยาการชักจูง นำดาราผู้มีชื่อเสียงสร้างความน่าเชื่อถือ และโฆษณาลงทุนน้อย ผลตอบแทนสูง
ธุรกิจ (แอบแฝง) แชร์ลูกโซ่ (Ponzi scheme) กำลังเป็นข่าวร้อนแรงในเมืองไทย จากคดีดิไอคอนกรุ๊ป แต่ก่อนจะมี “เหล่าบอส” หรือพ่อข่าย แม่ข่าย ในอดีตก็เคยมีเรื่องราวที่ได้ชื่อว่าเป็น “แชร์ลูกโซ่ใหญ่ที่สุดในโลก” ซึ่งแอบแฝงมากับธุรกิจการเงินการลงทุน ที่สร้างความเสียหายมากถึงหลัก 6 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 2 ล้านล้านบาท ชายผู้ก่อเรื่องนี้มีชื่อว่า Bernie Madoff . ย้อนดูเรื่องราวจากพ่อมดการเงิน สู่ ปีศาจแห่ง Wall Street อาชญาโกงแชร์ลูกโซ่ของโลก วีรกรรมของ Bernie Madoff หลอกลวงตั้งแต่ชาวบ้านทั่วไป ไปจนถึงดาราฮอลลีวูด รวมถึงเจ้าหน้าที่การเงินระดับสูงของสหรัฐฯ โลกได้บทเรียนจากอาชญาโกงทางการเงินครั้งใหญ่นี้อย่างไรบ้าง
นายวิฑูรย์ เก่งงาน ทนายความของนายวรัตน์พล พาพนักงานบริษัทดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด 6 คน เข้าพบพนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน เพื่อลงบันทึกประจำวัน หลังจากเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ บก.ปคบ. เข้าตรวจค้น 11 จุด ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทดิไอคอน พร้อมยึดของกลาง และเชิญตัวพนักงาน 10 คน เข้ามาสอบปากคำ นานกว่า 8 ชั่วโมง ในฐานะพยาน แต่ถูกยึดโทรศัพท์มือถือ ทำให้ครอบครัวไม่สามารถติดต่อได้ นายวิฑูรย์ เปิดเผยว่า ไม่ได้สงสัยการทำหน้าที่ของตำรวจ แต่ทราบว่าพนักงานที่ถูกเชิญตัวไปสอบปากคำ ถูกบังคับให้เซ็นยินยอม เพราะกลัวว่าหากไม่ให้ความร่วมมือ จะไม่ได้กลับบ้าน และบรรยากาศในห้องสอบปากคำ ท่าทาง และคำพูดบางอย่าง ทำให้พนักงานรู้สึกกดดัน
พ.ต.ต. วรณัน ศรีล้ำ โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยถึงการตรวจอายัดทรัพย์สิน ของนายวรัตน์พล วรัทวรกุล หรือ พอล โดยเฉพาะนาฬิกาหรู 19 เรือน และสร้องคอทองคำ พร้อมพระเครื่อง ที่ซุกซ่อนอยู่ในห้องเช่า ซอยรามอินทรา 9 หลังมีการเผยแพร่ภาพ นาฬิกา และทรัพย์สิน ออกมา มีผู้เชี่ยวชาญ ตั้งข้อสังเกตว่า ทั้งหมดอาจเป็นของปลอม พ.ต.ต. วรณัน เปิดเผยว่า หลังได้เบาะแส ดีเอสไอจึงขอศาลเข้าตรวจค้น เพื่อนำหลักฐานมาสอบ ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ตามปกติ ส่วนของกลางจะเป็นของปลอมหรือไม่ จะเชิญผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบอีกครั้ง
ตำรวจสอบสวนกลาง ตรวจสอบคลิปเสียง 200 คลิป ที่ได้จากสื่อมวลชน และโทรศัพท์ของนายวรัตน์พล วรัทวรกุล ผู้ต้องหาในคดีดิไอคอน พบว่า มีนักการเมือง นักร้องเรียน และ เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ถูกพาดพิง และพบหลักฐานเป็น "สลิปการโอนเงิน" กว่า 10 ล้านบาท โดยหลังจากนี้เตรียมเรียกบุคคลในคลิปเสียงมาชี้แจง ด้าน สมาคมผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตั้งข้อสังเกต บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป อาจบันทึกรายได้ผิดปกติจากค่าเปิดบิลสมาชิก โดยมีรายได้ 4,949 ล้านบาท แต่มีสินค้าคงเหลือเพียง 6.72 ชั่วโมง ซึ่งไม่สมเหตุสมผลสำหรับธุรกิจทั่วไป