ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“กรรมการสิทธิฯ”หวั่นเกิดอันตราย กรณีใช้อุปกรณ์สกัดจับแก๊งซิ่ง

สังคม
17 ต.ค. 55
14:42
258
Logo Thai PBS
“กรรมการสิทธิฯ”หวั่นเกิดอันตราย กรณีใช้อุปกรณ์สกัดจับแก๊งซิ่ง

กรรมการสิทธิฯ เผยระมัดระวังการกวดขันจับกุมแก๊งซิ่ง ไม่ควรทำเกินกว่าเหตุ รุนแรง แนะแก้ปัญหารอบด้านทั้งการ ขึ้นทะเบียนนักซิ่ง ผู้ปกครอง กวดขันร้านแต่งรถ รวมถึงสร้างพื้นที่ให้วัยรุ่นได้แสดงออกอย่างถูกวิธี ขณะที่เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ชี้ ควรใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ช่วยแก้ไขปัญหา นอกเหนือจากการใช้กลไกจากตำรวจเท่านั้น

                                  

<"">

พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าว ถึงกรณีที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะทำการกวดขันกลุ่มขับขี่รถยนต์-มอเตอร์ไซค์ซิ่งว่า จุดประสงค์ในการกวดขัน และปราบปรามกลุ่มนักซิ่งเหล่านี้อยู่บนพื้นฐานของความหวังดี เพื่อเป็นการลดการก่อความเดือดร้อน รำคาญ รวมถึงลดอันตรายทั้งต่อผู้ขับขี่และต่อบุคคลรอบข้างที่ใช้รถใช้ถนนด้วย
<"">
<"">

แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ วิธีการจับกุมและปราบปราม ซึ่งแม้ว่าจะใช้วิธีการต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์เข้าช่วยเหลือ ที่ล่าสุดที่มีการสาธิตการใช้ชุดดักรถจักรยานยนต์กวนเมือง หรือ ชุดซิ่งสั่งลา ซึ่งหากนำไปใช้สกัดจับจริงอาจนำไปสู่การเกิดอันตรายและบาดเจ็บ หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้

ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้วิธีการที่เหมาะสมและคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากที่สุด มิฉะนั้นจะได้รับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ที่ระบุว่า“ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี”

รวมถึงการชดเชยเยียวยา หากมีการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการจับกุม ดังนั้นเจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงเพื่อมิให้เกิดอันตรายขึ้นทั้งต่อเจ้าหน้าที่และกลุ่มแก๊งซิ่งเหล่านี้

<"">
<"">

กรรมการสิทธิฯ ยังเสริมว่า นอกเหนือจากวิธีการกวดขัน จับกุม ที่ถือว่าเป็นมาตรการขั้นปลายแล้วยังจำเป็นต้องใช้วิธีการด้านอื่น ๆ เสริมด้วยเช่นกัน ทั้งการจัดทำทะเบียนประวัติผู้ขับขี่ ประวัติพ่อแม่ผู้ปกครอง และ กวดขันจำกุมร้านจำหน่ายอุปกรณ์และแต่งรถซิ่งเหล่านี้ รวมถึงการจำกัด ขนาดซีซีรถและรุ่นรถเพื่อมิให้นำไปสู่การขับขี่ด้วยความเร็ว
รวมไปถึงการจัดทำสนามแข่งรถเพื่อให้เป็นพื้นที่ให้กลุ่มคนเหล่านี้แสดงออกเช่นเดียวประเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.วันชัย ทิ้งท้ายว่า การกวดขันจับกุม ควรที่จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มิใช่เน้นเพียงการกวดขันในขั้นตอนสุดท้ายคือการไล่จับ หรือก็คือ การเน้นวิธีการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง และทันท่วงที มากกว่าการใช้วิธีการรุนแรง ที่พิสูจน์มาหลายครั้งแล้วว่าไม่ช่วยให้ปัญหาลดลง

ขณะที่ นายมนตรี สินทวิชัย เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดการกวดขันจับกุมอย่างจริงจัง และเข้มข้น เนื่องจากเยาวชนบางส่วนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากกระทำในสิ่งที่ละเมิดบุคคลอื่น ซึ่งส่งผลกระทั้งการทำให้ผู้อื่น บาดเจ็บและเสียชีวิต แต่ตำรวจซึ่งทำหน้าที่จับกุมก็ควรที่จะระมัดระวังในวิธีการจับกุมที่อาจจะละเมิดสิทธิเยาวนหรือบุคคลอื่นด้วยเช่นกัน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง