<"">
รายงานการติดตามตลาดพันธบัตรเอเชียฉบับล่าสุดของธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ระบุว่า ตลาดพันธบัตรในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกขยายตัวที่ร้อยละ 12.1 ต่อปี อยู่ที่ 6.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2556 จากการเติบโตของหุ้นกู้ภาคเอกชน
นาย Iwan J. Azis หัวหน้าสำนักการบูรณาการเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของเอดีบีกล่าวว่า การเติบโตของตลาดพันธบัตรอีก หากเศรษฐกิจในภูมิภาคยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และนักลงทุนภายในประเทศมีความมั่นใจในพันธบัตรที่เป็นสกุลเงินท้องถิ่นของเอเชียมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลและบริษัทเอกชนต่างมีความสามารถในการบริหารจัดการหนี้มากขึ้นเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา
รายงานการติดตามตลาดพันธบัตรเอเชียรายไตรมาสมีการประเมินตลาดพันธบัตรของจีน ฮ่องกง อินโดนีเชีย เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
ปัจจุบัน ตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นภายในภูมิภาคเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในสัดส่วนที่มากกว่า 3 เดือนหรือหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยคิดเป็นร้อยละ 57.8 ของ GDP ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2556 เมื่อเทียบกับร้อยละ 54.6 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2555 และร้อยละ 52.8 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555
ตลาดหุ้นกู้ภาคเอกชนภายในภูมิภาคขยายตัวที่ร้อยละ 19.5 ต่อปี และร้อยละ 4.6 ต่อไตรมาส อยู่ที่ 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2556 ในขณะที่ ตลาดพันธบัตรรัฐบาลเติบโตในสัดส่วนที่น้อยกว่า โดยเติบโตที่ร้อยละ 8.3 ต่อปี และร้อยละ 2 ต่อไตรมาส อยู่ที่ 4.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ
ประเทศอินโดนีเซียมีตลาดหุ้นกู้ภาคเอกชนที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคไตรมาสแรกของปี โดยขยายตัวที่ร้อยละ 26.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 20 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามมาด้วยจีนซึ่งมีตลาดหุ้นกู้ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคที่ 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 25.3
เวียดนามเป็นประเทศในภูมิภาคที่ตลาดพันธบัตรรัฐบาลเติบโตเร็วที่สุด โดยขยายตัวที่ร้อยละ 64.6 ต่อปี อยู่ที่ 29 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการออกพันธบัตรของกระทรวงการคลัง ธนาคารกลาง และรัฐวิสาหกิจ ในขณะที่ตลาดหุ้นกู้ภาคเอกชนของเวียดนามมีอัตราการเติบโตที่ลดลงร้อยละ 47.2 ไปอยู่ที่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ส่วนของประเทศไทยนั้น ในไตรมาสแรกของปี 2556 มีการขยายตัวของการถือครองพันธบัตรรัฐบาลโดยนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด โดยมีการขยายตัวที่ร้อยละ 17.6 จากร้อยละ 12.2 ของปีก่อนหน้า มูลค่าของตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศไทยอยู่ที่ 294 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 โดยตลาดหุ้นกู้ภาคเอกชนขยายตัว
ร้อยละ 17.9 อยู่ที่ 63 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และตลาดพันธบัตรรัฐบาลขยายตัวที่ร้อยละ 10.2 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 232 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
นอกจากนี้ รายงานยังได้ระบุว่าการถือครองของพันธบัตรรัฐบาลสกุลเงินท้องถิ่นของต่างชาติในตลาดเอเชียตะวันออกยังคงขยายตัวในไตรมาสแรก ด้วยผลตอบแทนที่มากกว่าตลาดในสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยนักลงทุนเห็นว่าคุณภาพของเครดิตของตลาดในเอเชียเท่าเทียมกันหรือมากกว่าเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว
สิ้นเดือนมีนาคม 2554 สัดส่วนการถือครองของนักลงทุนต่างชาติในตลาดพันธบัตรรัฐบาลของอินโดนีเซียคิดเป็นร้อยละ 32.6 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ตามมาด้วยมาเลเซียที่ร้อยละ 31.2
ตั้งแต่สิ้นปี 2555 ผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลในภูมิภาคส่วนใหญ่มีแน้วโน้มที่ลดลง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับปานกลางและอัตราดอกเบี้ยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เว้นแต่ในกรณีของฮ่องกง อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งตั้งแต่ต้นปี 2556 มีผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มมากขึ้นสาหรับพันธบัตรส่วนใหญ่ที่ครบกาหนดการไถ่ถอน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ