พบไทย
พบประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนครูแนะแนวมืออาชีพ บางโรงเรียนให้ครูทุกคนทำหน้าที่แนะแนว ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่สามารถให้คำปรึกษา แนะแนวทางอาชีพให้กับนักเรียนได้ ขณะที่ประสบการณ์จากต่างประเทศ ระบุชัดว่า การแนะแนวมีบทบาทสำคัญเพื่อสร้างอาชีพให้เด็กในอนาคต และป้องกันการว่างงาน
นางซาโตโกะ ยาโนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ยูเนสโก้ ประเทศไทย ระบุในการเสวนาวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 6 การปฏิรูประบบแนะแนวประสบการณ์จากต่างประเทศ โดยเห็นว่า ต่างประเทศให้ความสำคัญกับการแนะแนวการศึกษา หลังในรอบกว่า 15 ปีที่ผ่านมา พบว่าทั่วโลกมีอัตราการว่างงานลดลงเพียง ร้อยละ 0.7
สะท้อนถึงภาวะการตกงานของแรงงานรุ่นใหม่ ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจาก การไม่ให้ความสำคัญกับกระบวนการแนะแนวอย่างเหมาะ ส่งผลให้การผลิตแรงงาน และการเลือกอาชีพไม่ตรงกับความตัองการ ทำให้หลายประเทศปรับกระบวนการแนะแนว เพื่อเตรียมความพร้อมใหันักเรียนตั้งแต่อายุ 8 - 13 ปี เช่นที่ จีน, ฮ่องกง กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของครูต้องแนะแนวนักเรียนรายบุคคล ที่นิวซีแลนด์ ได้จัดทำคู่มือเกี่ยวกับอาชีพเป็นตัวช่วยตัดสินใจให้นักเรียนชั้นมัธยมฯ พัฒนาหลักสูตรสอดคล้องกับอาชีพแคนนาดามีหลักสูตรแนะแนวโดยเฉพาะ ขณะที่เกาหลี และสิงคโปร์ จัดรูปแบบการให้คำปรึกษาด้านอาชีพที่เป็นระบบ
นางวิภา เกตุเทพา ประธานครูแนะแนวกรุงเทพมหานคร สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย ยอมรับหนักใจกับปัญหาการขาดแคลนครูแนะแนวในไทย โดยสิ่งที่เกิดขึ้นคือครูทุกคนทำหน้าที่แนะแนวให้นักเรียน ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะครูแนะแนวตัองใช้ประสบการณ์ทำหน้าที่แนะแนวการศึกษา อาชีพ และเรื่องส่วนตัว ซึ่งตัองทำหนัาที่นี้ตลอดชีวิต เพื่อสร้างอนาคตให้นักเรียน แต่ปัจจุบันครูแนะแนวกลับมีสัดส่วนที่ไม่เพียงพอต่อนักเรียน บางโรงเรียนไม่มีครูแนะแนว แต่ให้ครูประจำชั้นทำหน้าที่แทน
ดังนั้น จึงเรียกรัองให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งปรับอัตราครูแนวแนวให้เพียงพอ กำหนดสัดส่วนครูแนะแนวให้เพียงพอต่อนักเรียน ต้องมีมาตรฐานการผลิตครูแนะแนวที่เข้าใจบทบาทหน้าที่ รวมถึงการตรวจสอบมาตรฐานครูแนะแนวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน