ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“ชู เกง กวาง” ศิลปินใหญ่ปาดป้ายสีน้ำมัน บันทึกสิงคโปร์ก่อนเปลี่ยนแปลง

Logo Thai PBS
“ชู เกง กวาง” ศิลปินใหญ่ปาดป้ายสีน้ำมัน บันทึกสิงคโปร์ก่อนเปลี่ยนแปลง
การพัฒนาเมืองอย่างก้าวกระโดด ทำให้สิงคโปร์สลัดภาพวันวานเมื่อ 30 ปีก่อน หาก “ชู เกง กวาง” (Choo keng kwang) ศิลปินอาวุโสชั้นนำของสิงคโปร์ ยังเลือกบันทึกความทรงจำให้คนรุ่นหลังได้เห็น ใช้สีน้ำมันเล่าอดีตของประเทศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

โต๊ะนั่งดื่มกินถูกกางจนเกือบเต็มถนนเทมเพิล สตรีท (Temple Street) ย่านไชน่าทาวน์ สิงคโปร์ ถือเป็นแหล่งสังสรรค์ของแรงงานชาวจีนกวางตุ้ง คือภาพอดีต 30 ปีก่อน ของเมืองลอดช่องที่ถูกบันทึกไว้ในงานสีน้ำมันของ ชู เกง กวาง (Choo keng kwang) ศิลปินใหญ่

หากวันนี้ถนนเส้นเดิมได้รับการจัดระเบียบร้านค้า แม้เปลี่ยนไปไม่เหลือเค้าเดิม แต่ก็ยังคงสัญลักษณ์อาคารไม้ประวัติศาสตร์ ไล ชุน หยวน (Lai Chun Yuen) ที่วันนี้เปลี่ยนจากโรงละครอุปราการมาเป็นโรงแรมแต่ก็ยังคงสถาปัตยกรรมดั้งเดิมให้คนรุ่นก่อนได้คิดถึง

 

 

 

ภาพเขียนเมืองเก่าของ ชู เกง กวาง จึงยังเป็นเหมือนบันทึกบอกเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงในอดีตของบ้านเมืองสิงคโปร์

ราว 7 ปี ศิลปินใหญ่ ชูเกงกวาง ไม่ได้มาวาดรูปที่ย่านเทมเพิลสตรีทแถวไชน่าทาวย่านนี้ โดยเจ้าตัวหวนคิดถึงภาพแห่งวันวาน เพราะเมืองในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งสถานที่แลบ้านคน หลายแห่งกลายเป็นร้านขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว

ชู เกง กวาง บอกว่า ครั้งคนจีนเข้ามาสิงคโปร์ก็มารวมกันอยู่ในไชน่าทาวน์ เหมือนที่ไทยมีเยาวราช หากทุกวันนี้รัฐบาลสร้างเมืองใหม่ เขาจึงคิดว่าควรบันทึกภาพตึกเก่าของบ้านเมืองไว้ เพื่อให้หนุ่มสาวได้รู้จักย่านจีนในอดีต เพราะสิงคโปร์จะไม่มีอะไรให้ชมถ้ามีแต่ความร่วมสมัยเหมือนกันไปหมด บางพื้นที่ภาครัฐควบคุมให้คงรูปแบบเมืองเก่า แต่ในความคิดเขาผลงานสถาปนิครุ่นใหม่ไม่น่าปลื้มใจนัก

 

 

เสน่ห์เมืองที่หายไป ทำให้ศิลปินใหญ่เลิกลงพื้นที่จริงมาวาดจากภาพถ่าย ผลงานล่าสุดภาพเทศกาลไหว้พระจันทร์ ป้ายพู่กันแบบอิมเพรสชั่นนิสผสมศิลปะตะวันตกและเอเชีย เอกลักษณ์สร้างชื่อศิลปินรุ่นแรกของสิงคโปร์ เจ้าของเหรียญรางวัลบริการสาธารณะ Public Service Medal ที่ได้ชื่อว่าวาดย่านไชน่าทาวน์ได้ดีที่สุดคนหนึ่ง

จนวันนี้ในวัย 84 ปี ชู เกง กวาง เปลี่ยนแนวงานมาแล้ว 3 รูปแบบ จากเขียนย่านจีน มาวาดสัตว์อย่างนกพิราบและปลา สื่อถึงความสงบเมื่อหลากเผ่าพันธุ์มาอยู่ร่วมกัน เช่น คนในสิงคโปร์ จน 2 เดือนที่ผ่านมา เขาได้สร้างท้าทายใหม่ให้ตัวเองด้วยผลงานกึ่งนามธรรม

 

 

 

ชู เกง กวาง ไม่ยึดติดกับการทำงานศิลปะแค่รูปแบบเดียว ยิ่งในวัยที่สายตาไม่เฉียบคมเท่าวัยหนุ่ม การวาดรูปที่เน้นรายละเอียดจึงยากขึ้น เลยหันมาสนุกกับภาพแนวแอพแสคที่พอลองแล้วก็ไม่ง่าย

ความสำเร็จทำให้ฝากบทเรียนถึงอาร์ติสท์สิงคโปร์รุ่นหลัง ว่าเราไม่สามารถทำได้ดีเท่าฝั่งตะวันตกที่ประศาสตร์ศิลปะยาวนานกว่ามาก แต่ควรค้นหาแนวทางใหม่สร้างความพิเศษให้ตัวเองได้เช่นกัน

แม้มีปัญหาสุขภาพตามวัย แต่ใจของรุ่นใหญ่ยังอยู่กับปลายพู่กัน ภายใต้การดูแลของครอบครัวใหญ่ ซึ่งชู ไอ ลูน ลูกสาวยังตามรอยเป็นศิลปิน แถมได้ลูกเขยศิลปินไทยคนดัง เริ่งศักดิ์ บุณยวานิชกุล โดย ชู เกง กวาง และ ชู ไอ ลูน เตรียมแสดงงานร่วมกันเดือน ต.ค. นี้ (2559)

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง