ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ร้อง กสทช.คุมเว็บหนังละเมิดลิขสิทธิ์

Logo Thai PBS
ร้อง กสทช.คุมเว็บหนังละเมิดลิขสิทธิ์
สมาพันธ์ภาพยนตร์ฯ โร่พบ กสทช. ร้องคุมเว็บละเมิดลิขสิทธิ์หนัง คาดกว่า 10 ปีเสียหายนับ 10,000 ล้านบาท กสทช.จ่อประสานไอเอสพี ถอด 36 เว็บ

วันนี้ (27ธ.ค.2559)สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ นำโดยนายวิชา พูลวรลักษณ์ กรรม การผู้จัดการ บ.เมเจอร์ ซีเนเพล็กซ์ กรุ้ป(มหาชน)พร้อมด้วยบรรดาผู้กำกับภาพยนตร์และนักแสดง เข้ายื่นหนังสือกับนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระ จายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)เพื่อขอให้ดำเนินการกับเว็บไซต์ ที่นำภาพยนตร์ไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทย อยู่ระหว่างการเดินหน้าไทยแลนด์ 4.0 ภาพยนตร์ไทยจัดอยู่ในกลุ่มที่ 5 ของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และเป็นสินค้าส่งออกในระดับภูมิภาคเอเชีย เช่น มาเล เซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บูรไน พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม แต่อุปสรรคใหญ่ที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ คือการละเมิดลิขสิทธิ์


นายพรชัย ว่องศรีอุดมพร กรรมการสมาพันธ์ บอกว่า ทางสมาพันธ์ฯ พบปัญหาการละเมิดลิข สิทธิ์ลักษณะนี้มา 10 ปี จนถึงปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การปล่อยหนังให้ดูฟรีผ่านช่องทางเว็บไซต์ต่างๆ เฟสบุ๊ค และแอพพลิเคชั่นไลน์ และอีกประเภท เป็นเว็บแบบบอกรับสมาชิก ซึ่งคาดว่ามีทีมงาน ที่มีความรู้ด้านไอทีจัดดูแลการ จัดระบบ และเก็บเงินออนไลน์ มีความสามารถทางเทคนิคเข้าถึงแหล่งข้อมูลของภาพยนต์ใหม่ได้รวดเร็ว และจากการเฝ้าระวังตั้งแต่ในช่วง 10 ปีมานี้ พบหลายยูอาร์แอลที่ดูดภาพยตร์ไปแบบนี้ และที่ผ่านมาทางสหพันธ์ฯ เคยแจ้งไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เพื่อขอให้แก้ปัญหาแล้ว แต่ไม่มีความคืบหน้า 

ขณะเดียวกัน เคยประสานไปที่เว็บไซด์ที่ละเมิด ซึ่งบางเว็บที่เป็นมือสมัครเล่นก็จะถอดออกให้ แต่บางเว็บไซด์ไม่ร่วมมือต่อการละเมิดที่เกิดขึ้น ซึ่งทางสมาพันธ์ฯ
ไม่สามารถทำอะไรได้เพราะไม่ใช่ฝ่ายกำกับดูแลกฎหมาย

“ คาดว่า 10 ปีน่าจะมีความเสียหายราว  10,000 ล้านบาทแทนที่ประชาชนจะได้รับชมในโรงภาพยนตร์ ก็ถูกคนเหล่านี้สอยหรือดูด ไปให้ชมได้ผ่านเว็บโดยที่พวกเค้าไม่ต้องลงทุน แต่พวกเราต้องลงทุนในการสร้างและค่าใช้จ่ายต่างๆ และเป็นที่น่าเสียใจว่าประเทศไทยละเมิดลิขสิทธิ์เป็นอันดับ 2 ของประเทศที่ถูกจัดอันดับของการละเมิดลิขสิทธิ์”นายพรชัย กล่าว


ด้าน นายอานนท์ มิ่งขวัญตา หรือ “พจน์ อานนท์”ผู้กำกับภาพยนตร์ ระบุว่า นอกจากผลกระทบที่เกิดกับผู้สร้างหนังสือ สิ่งที่กังวลคือ เยาวชนรุ่นใหม่ดูหนังออนไลน์กันมาก แต่ภาพยนตร์ที่ถูกละเมิดไปปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม และทำให้เยาวชนเข้าถึงได้สะดวก ส่วนใหญ่เป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการพนันออนไลน์ ลามกอนาจาร หรือขายยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ซึ่งล้วนเป็นอบายมุขที่ทำให้เยาวชนเข้าถึงได้ง่ายหากไม่ป้องกันให้ดี ทั้งนี้ สำหรับการผลิตหนังแต่ละเรื่องต้องใช้เงินลงทุนเฉลี่ย 20-30 ล้านบาทต่อเรื่อง

 



นายฐากร ระบุว่า เบื้องต้นจะตรวจสอบ 36 เว็บไซต์ที่สหพันธ์แจ้งมา และเรียกประชุมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(ไอเอสพี) จำนวน 13 ราย เช่น บ.กสท.โทรคมนาคมคม, บริษัท ทีโอที, บริษัทดีแทค,เอไอเอส, ทรู, ทริปเปิลทรี, ซีเอส ล็อก อินโฟร์ เพื่อหาแนวทางร่วมกัน ซึ่งตามขั้นตอนแล้วหากผู้เสียหายที่โดนละเมิด มีใบแจ้งความจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจส่งมอบให้กสทช. ก็จะช่วยประสานไปทางไอเอสพี เพื่อขอให้ดำเนินการถอด หากยังไม่ดำเนินการ ก็จะต้องผ่านกระบวนการขอคำสั่งจากศาล โดยกสทช.จะเร่งรัดดำเนินการ เนื่องจากปัญหาการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นนโยบายของรัฐบาลชุดนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง