ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"กระทรวงเกษตร" อ่อนใจชาวนารั้นปลูกข้าวพุ่ง 4 ล้านไร่

สิ่งแวดล้อม
10 ก.พ. 60
10:48
904
Logo Thai PBS
"กระทรวงเกษตร" อ่อนใจชาวนารั้นปลูกข้าวพุ่ง 4 ล้านไร่
พล.อ.ฉัตรชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และ พิจิตร ตรวจเยี่ยม และรับมือช่วยเหลือภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำยมปี 60 ระบุพบชาวนาลุ่มน้ำเจ้าพระยาทำนา 4 ล้านไร่จากที่วางแผนแค่ 2 ล้านไร่

วันนี้ (10 ก.พ.2560) พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ลุ่มน้ำยม ไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ เช่น ลุ่มน้ำอื่นๆ ทำให้ฤดูน้ำหลากเกิดน้ำท่วม และในฤดูแล้งน้ำไม่พอใช้จึงต้องอาศัยน้ำต้นทุนจากลุ่มน้ำยมเท่านั้น ซึ่งทั้ง 3 จังหวัด คือ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร มีน้ำใช้การรวมกันเพียง 206 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ในขณะที่พื้นที่นาข้าวไม่ลดลง

 


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังย้ำว่า แม้ปีนี้ปริมาณน้ำใช้การในเขื่อนหลักจะมากกว่าปีที่แล้ว แต่ยังคงวางใจไม่ได้และไม่สามารถทำนาได้ตามปกติทุกพื้นที่ เช่น พื้นที่นอกเขตชลประทาน ก็ยังต้องปรับเปลี่ยนการปลูกพืช ไปปลูกพืชใช้น้ำน้อย หรือ ปฎิรูปพการทำเกษตรใหม่

 

 

ข้อมูลจากฝ่ายประมวลวิเคราะห์และสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน วางแนวทางการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ระหว่างวันที่ 1 พ.ย.2559 – 30 เม.ย.2560 พบว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญและขนาดกลาง ทั้งปัจจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 9,398 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 53 ของแผนจัดสรรน้ำ ส่วนในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ครอบคลุม เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อย และ ป่าสัก ใช้น้ำรวมกัน 3,256 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อย 55 ของแผนจัดสรรน้ำ

 

สำหรับปัญหาขาดแคลนน้ำ ที่จ.พิจิตร ชาวนาบางส่วนที่บ้านใหม่ หมู่ 6 ต.รังนก อ.สามง่าม ต้องปล่อยนาข้าวบางส่วนให้แห้งตาย เนื่องจากไม่สามารถหาน้ำมาหล่อเลี้ยงได้เพียงพอ เพราะนอกจากแหล่งน้ำธรรมชาติจะแห่งขอดแล้ว น้ำบาดาลก็สูบไม่ขึ้นด้วย เนื่องจากพื้นที่ อยู่นอกเขตชลประทาน ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงเสี่ยงทำนา แต่หลังน้ำไม่เพียงพอก็จำเป็นต้องปล่อยต้นข้าวบางส่วนให้ยืนต้นตาย ดีกว่า เสี่ยงการหาแหล่งน้ำ ซึ่งจะไม่คุ้มกับการลงทุน


เช่นเดียวกับ จ.นครสวรรค์ ชาวนาหมู่ 2 ต.หนองเบน อ.เมืองนครสวรรค์ ต้องสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำของวัดไกลกว่า 3 กิโลเมตร เพื่อไปหล่อเลี้ยงต้นข้าว หลังแหล่งน้ำในคลองสาธารณะแห้งขอดแต่ก็ต้องยกเลิก เพราะมีต้นทุนสูงขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง