วันนี้ (๒๒ มิ.ย.๒๕๖๐) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยมีรายละเอียดดังนี้
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑๔) ของมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๓ ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสํารวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใด ไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเอง หรือบุคคลอื่น ต้องได้รับสัมปทาน ได้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือได้รับสัญญาจ้างบริการ ทั้งนี้ การขอ และการได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตให้เป็นไปตามหมวด ๓/๑ สัญญาแบ่งปันผลผลิต และ การได้มาซึ่งผู้รับสัญญาจ้างบริการให้เป็นไปตามหมวด ๓/๒ สัญญาจ้างบริการ”
มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ “การกําหนดให้ที่ใดสมควรที่จะดําเนินการสํารวจหรือผลิตปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่ง ในรูปแบบ ของสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือสัญญาจ้างบริการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คณะกรรมการประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษาโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี” มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๓/๑ สัญญาแบ่งปันผลผลิต มาตรา ๕๓/๑ มาตรา ๕๓/๒ มาตรา ๕๓/๓ มาตรา ๕๓/๔ มาตรา ๕๓/๕ มาตรา ๕๓/๖ มาตรา ๕๓/๗ และ มาตรา ๕๓/๘ และหมวด ๓/๒ สัญญาจ้างบริการ มาตรา ๕๓/๙ มาตรา ๕๓/๑๐ มาตรา ๕๓/๑๑ มาตรา ๕๓/๑๒ มาตรา ๕๓/๑๓ มาตรา ๕๓/๑๔ มาตรา ๕๓/๑๕ มาตรา ๕๓/๑๖ มาตรา ๕๓/๑๗ และมาตรา ๕๓/๑๘ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ “หมวด ๓/๑ สัญญาแบ่งปันผลผลิต
มาตรา ๕๓/๑ ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการพิจารณากําหนดให้แปลงสํารวจใด สมควรที่จะดําเนินการสํารวจและผลิตปิโตรเลียมในรูปแบบของสัญญาแบ่งปันผลผลิตตามความในหมวดนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศตามมาตรา ๒๓ วรรคสี่ การขอและการได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กําหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๕๓/๒ ให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอํานาจลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับ ผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตตามมาตรา ๕๓/๑ วรรคสอง แบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๕๓/๓ สัญญาแบ่งปันผลผลิตอย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดและเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ให้บรรดาค่าใช้จ่ายทั้งปวงในการประกอบกิจการปิโตรเลียมตกเป็นภาระของผู้รับสัญญา แบ่งปันผลผลิตและให้หักจากผลผลิตได้ตาม (๒) (๒) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการแบ่งปันผลผลิต ดังต่อไปนี้ ( ก) ให้ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตหักค่าใช้จ่ายสําหรับการประกอบกิจการปิโตรเลียมในแต่ละปี ได้เฉพาะรายจ่ายเท่าที่จ่ายจริงโดยเป็นไปตามวิธีการ หลักเกณฑ์ และการปฏิบัติทางบัญชีที่ใช้อยู่เป็นปกติ ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและตามแผนงานและงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีตามมาตรา ๕๓/๔ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของผลผลิตรวมของปิโตรเลียม (ข) ค่าใช้จ่ายสําหรับการประกอบกิจการปิโตรเลียม หากเกินร้อยละห้าสิบของผลผลิตรวมของปิโตรเลียมในปีใด ให้สามารถนําส่วนที่เกินไปใช้หักในปีต่อๆ ไปได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราตาม (ก) และไม่เกินจํานวนอายุของสัญญา (ค) ส่วนที่เหลือของผลผลิตรวมของปิโตรเลียมหลังจากหักค่าภาคหลวงและหักตาม (ก) แล้ว ให้แบ่งแก่ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตไม่เกินร้อยละห้าสิบ (๓) จํานวนเงินขั้นต่ําที่ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตต้องใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการ ปิโตรเลียมตามสัญญาแบ่งปันผลผลิต (๔) การกําหนดและการปฏิบัติตามข้อผูกพันทั้งในด้านปริมาณเงินและปริมาณงานสําหรับการสํารวจ และผลิตปิโตรเลียม การจ่ายเงินกรณีผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตยังปฏิบัติตามข้อผูกพันไม่ครบสําหรับ การสํารวจในแปลงสํารวจ และหลักเกณฑ์และวิธีการสํารวจและผลิตปิโตรเลียมอื่นใดที่มิได้บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัตินี้ (๕) ข้อตกลงเกี่ยวกับการขายหรือจําหน่ายปิโตรเลียมที่ผลิตได้ โดยกําหนดให้ผู้รับสัญญา แบ่งปันผลผลิตมีสิทธิขายหรือจําหน่ายปิโตรเลียมในส่วนที่เป็นของผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต และรัฐมีสิทธิขาย หรือจําหน่ายปิโตรเลียมในส่วนที่เป็นของรัฐ ในการนี้ รัฐจะมอบหมายให้ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตเป็นผู้ขาย หรือจําหน่ายปิโตรเลียมในส่วนที่เป็นของรัฐแทนก็ได้ (๖) ข้อตกลงเกี่ยวกับการบริหารจัดการการประกอบกิจการปิโตรเลียมของคู่สัญญา (๗) เงื่อนไขหรือมาตรการบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาแบ่งปันผลผลิต และการกําหนดค่าปรับ ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแบ่งปันผลผลิต (๘) เหตุในการเลิกสัญญาแบ่งปันผลผลิต มาตรา ๕๓/๔ เมื่อมีการลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิตแล้ว ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต ต้องเสนอแผนงานและงบประมาณสําหรับกิจการปิโตรเลียมในปีที่หนึ่งเพื่อให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติก่อนเริ่มกิจการปิโตรเลียม และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วผู้รับสัญญาแบ่งปัน ผลผลิตต้องเริ่มกิจการปิโตรเลียมเกี่ยวกับการสํารวจภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติ ภายในเดือนกันยายนของทุกปี ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตต้องเสนอแผนงานและงบประมาณ สําหรับกิจการปิโตรเลียมในปีปฏิทินถัดไปให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ ก่อนเริ่มกิจการปิโตรเลียมทุก ๆ ปี ค่าใช้จ่ายตามแผนงานและงบประมาณสําหรับกิจการปิโตรเลียมในปีใด หากยังไม่ได้รับอนุมัติ ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือได้รับอนุมัติแล้วแต่ไม่ได้นําไปใช้จ่ายจริง ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต จะนํามาใช้ในการหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา ๕๓/๓ (๒) (ก) หรือ (ข) ไม่ได้ รายละเอียดของแผนงานและงบประมาณสําหรับกิจการปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง หลักเกณฑ์และระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติ รวมทั้งการแก้ไขแผนงานและงบประมาณที่ได้รับอนุมัติแล้ว ในระหว่างปี ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา ๕๓/๕ บรรดาสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ ทรัพย์สิน และสิ่งอํานวยความสะดวก ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตมีกรรมสิทธิ์อันเกิดจากการใช้งบประมาณ ที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีตามมาตรา ๕๓/๔ ให้ตกเป็นของรัฐ และผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตสามารถใช้ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทน โดยผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตมีหน้าที่รับผิดชอบในการบํารุงรักษา ต่อเติม ซ่อมแซม และเอาประกันภัย สิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ ทรัพย์สิน และสิ่งอํานวยความสะดวก ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม มาตรา ๕๓/๖ ให้ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตเป็นผู้นําส่งค่าภาคหลวงแก่รัฐ โดยให้หักจากผลผลิตรวม ของปิโตรเลียมในอัตราร้อยละสิบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่กําหนดใน กฎกระทรวง มาตรา ๕๓/๗ ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งใด ๆ ซึ่งเกิดจากหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญาแบ่งปัน ผลผลิต ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ ให้ดําเนินการระงับโดยวิธีการเช่นเดียวกันกับการระงับข้อพิพาทที่ เกี่ยวกับสัมปทานตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง และให้นําความในมาตรา ๕๓ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๕๓/๘ ให้นําบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในหมวดนี้ ดังต่อไปนี้
(๑) บทบัญญัติในหมวด ๑ บททั่วไป เว้นแต่มาตรา ๖ มิให้นํามาใช้บังคับ (๒) บทบัญญัติในหมวด ๒ คณะกรรมการปิโตรเลียม (๓) บทบัญญัติในหมวด ๓ การสํารวจและผลิตปิโตรเลียม เว้นแต่มาตรา ๒๒ (๔) (๕) (๙) (๑๓) (๑๕) และ (๑๖) มาตรา ๓๐ วรรคสอง มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ และ มาตรา ๕๒ ทวิ มิให้นํามาใช้บังคับ (๔) บทบัญญัติในหมวด ๔ การเก็บรักษาและขนส่งปิโตรเลียม (๕) บทบัญญัติในหมวด ๕ การขายและจําหน่ายปิโตรเลียม เว้นแต่มาตรา ๕๖ และมาตรา ๕๙ มิให้นํามาใช้บังคับ (๖) บทบัญญัติในหมวด ๖ ประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของผู้รับสัมปทาน (๗) บทบัญญัติในหมวด ๘ บทกําหนดโทษ เว้นแต่มาตรา ๑๐๙ ทวิ มิให้นํามาใช้บังคับ ที่ใดในบทบัญญัติตามวรรคหนึ่งที่บัญญัติถึง “สัมปทาน” “ผู้รับสัมปทาน” “ผู้ขอสัมปทาน” “ให้สัมปทาน” “โอนสัมปทาน” และ “เพิกถอนสัมปทาน” ให้หมายถึง “สัญญาแบ่งปันผลผลิต” “ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต” “ผู้ขอสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต” “ให้สิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปัน ผลผลิต” “โอนสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต” และ “เพิกถอนสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต” ตามลําดับ
หมวด ๓/๒ สัญญาจ้างบริการ มาตรา ๕๓/๙ ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการพิจารณากําหนดให้แปลงสํารวจใด สมควรที่จะดําเนินการสํารวจและผลิตปิโตรเลียมในรูปแบบของสัญญาจ้างบริการตามความในหมวดนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศตามมาตรา ๒๓ วรรคสี่ การได้มาซึ่งผู้รับสัญญาจ้างบริการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดใน กฎกระทรวง ให้การทําสัญญาจ้างบริการตามวรรคหนึ่งกระทําได้ในรูปแบบของสัญญาจ้างสํารวจและผลิต สัญญาจ้างสํารวจ และสัญญาจ้างผลิตซึ่งปิโตรเลียม มาตรา ๕๓/๑๐ ให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอํานาจลงนามในสัญญาจ้างบริการกับ ผู้รับสัญญาจ้างบริการตามมาตรา ๕๓/๙ วรรคสอง แบบสัญญาจ้างบริการในแต่ละรูปแบบให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๕๓/๑๑ สัญญาจ้างสํารวจและผลิตอย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดและเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ผลผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดเป็นของรัฐ โดยรัฐมีสิทธิขายหรือจําหน่ายปิโตรเลียมดังกล่าว และรัฐอาจมอบให้ผู้รับสัญญาจ้างสํารวจและผลิตเป็นผู้ขายหรือจําหน่ายปิโตรเลียมแทนรัฐก็ได้ (๒) ให้บรรดาค่าใช้จ่ายทั้งปวงในการประกอบกิจการปิโตรเลียมตกเป็นภาระของผู้รับสัญญาจ้างสํารวจ และผลิต (๓) รัฐเป็นผู้ให้ความเห็นชอบแผนงานและงบประมาณในการสํารวจและผลิตปิโตรเลียม รวมทั้งเป็นผู้ควบคุมดูแลการสํารวจและผลิตปิโตรเลียม (๔) ค่าจ้าง วิธีการคํานวณ และการจ่ายค่าจ้างสํารวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งจะจ่ายต่อเมื่อ มีการผลิตปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ได้ โดยจะจ่ายเป็นเงินหรือผลผลิตปิโตรเลียมก็ได้ (๕) ระยะเวลาของสัญญาจ้างสํารวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งต้องไม่เกินสามสิบปี และเหตุที่สัญญา จะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาดังกล่าว (๖) หลักเกณฑ์และวิธีการสํารวจและผลิตปิโตรเลียมในแปลงสํารวจที่จะดําเนินการสํารวจและ ผลิตตามสัญญาจ้างสํารวจและผลิต (๗) เงื่อนไขหรือมาตรการบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างสํารวจและผลิต และการกําหนดค่าปรับ ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างสํารวจและผลิต (๘) การรายงานผลการประกอบกิจการปิโตรเลียม (๙) เหตุในการเลิกสัญญาจ้างสํารวจและผลิต
มาตรา ๕๓/๑๒ สัญญาจ้างสํารวจอย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดและเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย (๑) ให้บรรดาค่าใช้จ่ายทั้งปวงในการประกอบกิจการปิโตรเลียมตกเป็นภาระของผู้รับสัญญาจ้างสํารวจ (๒) รัฐเป็นผู้ให้ความเห็นชอบแผนงานและงบประมาณในการสํารวจ รวมทั้งเป็นผู้ควบคุมดูแล การสํารวจปิโตรเลียม (๓) ค่าจ้าง วิธีการคํานวณ และการจ่ายค่าจ้างสํารวจตามระยะเวลาที่กําหนด (๔) ระยะเวลาของสัญญาจ้างสํารวจปิโตรเลียม และเหตุที่สัญญาจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลา ดังกล่าว (๕) หลักเกณฑ์และวิธีการสํารวจปิโตรเลียมในแปลงสํารวจที่จะดําเนินการสํารวจตามสัญญาจ้างสํารวจ (๖) เงื่อนไขหรือมาตรการบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างสํารวจและการกําหนดค่าปรับในกรณี ที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างสํารวจ (๗) การรายงานผลการประกอบกิจการปิโตรเลียม (๘) เหตุในการเลิกสัญญาจ้างสํารวจ มาตรา ๕๓/๑๓ สัญญาจ้างผลิตอย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดและเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย (๑) ผลผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดเป็นของรัฐ โดยรัฐมีสิทธิขายหรือจําหน่ายปิโตรเลียมดังกล่าว และรัฐอาจมอบให้ผู้รับสัญญาจ้างผลิตเป็นผู้ขายหรือจําหน่ายปิโตรเลียมแทนรัฐก็ได้ (๒) ให้บรรดาค่าใช้จ่ายทั้งปวงในการประกอบกิจการปิโตรเลียมตกเป็นภาระของผู้รับสัญญาจ้างผลิต (๓) รัฐเป็นผู้ให้ความเห็นชอบแผนงานและงบประมาณในการผลิต รวมทั้งเป็นผู้ควบคุมดูแล การผลิตปิโตรเลียม (๔) ค่าจ้าง วิธีการคํานวณ และการจ่ายค่าจ้างผลิตปิโตรเลียม ซึ่งจะจ่ายต่อเมื่อมีการผลิต ปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ได้ โดยจะจ่ายเป็นเงินหรือผลผลิตปิโตรเลียมก็ได้ (๕) ระยะเวลาของสัญญาจ้างผลิตปิโตรเลียม และเหตุที่สัญญาจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลา ดังกล่าว (๖) หลักเกณฑ์และวิธีการผลิตปิโตรเลียมในแปลงสํารวจที่จะดําเนินการผลิตตามสัญญาจ้างผลิต (๗) เงื่อนไขหรือมาตรการบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างผลิต และการกําหนดค่าปรับในกรณีที่ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างผลิต (๘) การรายงานผลการประกอบกิจการปิโตรเลียม (๙) เหตุในการเลิกสัญญาจ้างผลิต
มาตรา ๕๓/๑๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๓/๑๖ เงินที่ส่วนราชการได้จากการขายหรือจําหน่าย ผลผลิตปิโตรเลียมตามสัญญาจ้างสํารวจและผลิตหรือสัญญาจ้างผลิต ให้นํามาจ่ายเป็นค่าภาคหลวงก่อน ส่วนที่เหลือให้นํามาจ่ายเป็นค่าจ้างตามสัญญาจ้างสํารวจและผลิตหรือสัญญาจ้างผลิต และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด โดยไม่ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ เมื่อได้จ่าย ค่าภาคหลวง ค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายดังกล่าวแล้ว หากมีเงินเหลือให้นําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา ๕๓/๑๕ บรรดาสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ ทรัพย์สิน และสิ่งอํานวยความสะดวกใน การประกอบกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัญญาจ้างบริการมีกรรมสิทธิ์อันเกิดจากการใช้งบประมาณของผู้รับ สัญญาจ้างบริการตามที่กําหนดในสัญญาจ้างบริการแต่ละรูปแบบตามมาตรา ๕๓/๑๑ (๓) มาตรา ๕๓/๑๒ (๒) และมาตรา ๕๓/๑๓ (๓) ให้ตกเป็นของรัฐ และผู้รับสัญญาจ้างบริการสามารถใช้ได้โดยไม่เสีย ค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทน โดยผู้รับสัญญาจ้างบริการมีหน้าที่รับผิดชอบในการบํารุงรักษา ต่อเติม ซ่อมแซม และเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ ทรัพย์สิน และสิ่งอํานวยความสะดวกในการประกอบกิจการ ปิโตรเลียม เว้นแต่ในกรณีสัญญาจ้างสํารวจและผลิตที่ผู้รับสัญญาจ้างสํารวจและผลิตไม่สามารถพบ หลุมปิโตรเลียมที่มีสมรรถนะเชิงพาณิชย์และกําหนดพื้นที่ผลิตถูกต้องตามมาตรา ๔๒ จนเป็นเหตุให้สัญญา สิ้นสุดลง ให้บรรดาสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ ทรัพย์สิน และสิ่งอํานวยความสะดวกในการประกอบกิจการ ปิโตรเลียมดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัญญาจ้างสํารวจและผลิตเช่นเดิม มาตรา ๕๓/๑๖ ให้ส่วนราชการเป็นผู้เสียค่าภาคหลวงสําหรับปิโตรเลียมที่ผลิตได้ตามสัญญา จ้างสํารวจและผลิตหรือสัญญาจ้างผลิตในอัตราร้อยละสิบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลา ที่คณะกรรมการกําหนด มาตรา ๕๓/๑๗ ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งใด ๆ ซึ่งเกิดจากหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญาจ้างบริการ ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ ให้ดําเนินการระงับโดยวิธีการเช่นเดียวกันกับการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับ สัมปทานตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง และให้นําความในมาตรา ๕๓ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๕๓/๑๘ ให้นําบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่ผู้รับสัญญาจ้างบริการ ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในหมวดนี้ ดังต่อไปนี้
(๑) บทบัญญัติในหมวด ๑ บททั่วไป เว้นแต่มาตรา ๖ และมาตรา ๑๓ มิให้นํามาใช้บังคับ (๒) บทบัญญัติในหมวด ๒ คณะกรรมการปิโตรเลียม เว้นแต่มาตรา ๑๖ (๓) และ (๔) มิให้ นํามาใช้บังคับ (๓) บทบัญญัติในหมวด ๓ การสํารวจและผลิตปิโตรเลียม ให้นํามาใช้บังคับเฉพาะมาตรา ๒๒ (๑) (๘) และ (๑๒) มาตรา ๒๒/๑ (๒) (๓) (๔) และ (๕) มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๒ ทวิ และมาตรา ๔๔
(๔) บทบัญญัติในหมวด ๔ การเก็บรักษาและขนส่งปิโตรเลียม (๕) บทบัญญัติในหมวด ๖ ประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของผู้รับสัมปทาน เว้นแต่มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ มาตรา ๗๑ มาตรา ๗๖ และมาตรา ๗๗ มิให้นํามาใช้บังคับ (๖) บทบัญญัติในหมวด ๘ บทกําหนดโทษ เว้นแต่มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๙ ทวิ และ มาตรา ๑๑๐ มิให้นํามาใช้บังคับ ที่ใดในบทบัญญัติตามวรรคหนึ่งที่บัญญัติถึง “สัมปทาน” “ผู้รับสัมปทาน” “ผู้ขอสัมปทาน” และ “ให้สัมปทาน” ให้หมายถึง “สัญญาจ้างบริการ” “ผู้รับสัญญาจ้างบริการ” “ผู้ขอเป็นผู้รับสัญญาจ้างบริการ” และ “ให้เป็นผู้รับสัญญาจ้างบริการ” ตามลําดับ” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗๙ อธิบดีมีอํานาจอนุญาตให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ใช้ประโยชน์จากน้ําในหลุมเจาะใด ๆ ที่ผู้รับสัมปทานไม่ต้องการใช้ในการประกอบ กิจการปิโตรเลียม” มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๘๒ ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงสําหรับปิโตรเลียมที่ขายหรือจําหน่าย แต่ไม่ต้อง เสียค่าภาคหลวงสําหรับปิโตรเลียม ดังต่อไปนี้
(๑) ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตและใช้ไปในสภาพเดิมในราชอาณาจักรเพื่อการวิเคราะห์ ทดลอง ผลิต และอนุรักษ์ปิโตรเลียม (๒) ปิโตรเลียมที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อการวิเคราะห์และทดลอง (๓) ก๊าซธรรมชาติที่จําเป็นต้องเผาทิ้งระหว่างการผลิตปิโตรเลียม กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด” มาตรา ๙ ให้ยกเลิกวรรคสามของมาตรา ๘๗ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒ มาตรา ๑๐ บทบัญญัติใดแห่งกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ํามันเชื้อเพลิงอ้างถึงผู้ได้รับสัมปทาน ตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ให้ถือว่าบทบัญญัตินั้นอ้างถึงผู้ได้รับสัมปทาน ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต และผู้รับสัญญาจ้างบริการตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม บทบัญญัติใดแห่งกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐอ้างถึงการให้สัมปทาน ตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ให้ถือว่าบทบัญญัตินั้นอ้างถึงการให้สัมปทาน การให้สิทธิเป็นผู้รับสัญญา แบ่งปันผลผลิต และการให้เป็นผู้รับสัญญาจ้างบริการตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
มาตรา ๑๑ การดําเนินการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามมาตรา ๒๓ วรรคสี่ มาตรา ๕๓/๑ มาตรา ๕๓/๒ มาตรา ๕๓/๔ มาตรา ๕๓/๖ มาตรา ๕๓/๙ มาตรา ๕๓/๑๐ และมาตรา ๕๓/๑๖ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากไม่สามารถดําเนินการได้ ให้รัฐมนตรีรายงาน เหตุผลที่ไม่อาจดําเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ มาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูป ด้านพลังงานในการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางด้านพลังงาน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อกําหนดให้การให้สิทธิสํารวจและผลิตปิโตรเลียมมีทางเลือกให้รัฐสามารถพิจารณา นําระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตหรือระบบสัญญาจ้างบริการมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม นอกเหนือไปจากการพิจารณาให้สัมปทานปิโตรเลียมภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งแก้ไข บทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับประโยชน์หรือสิทธิของผู้รับสัมปทานและบทบัญญัติเกี่ยวกับค่าภาคหลวงให้มี ความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
นอกจากนี้ ราชกิจจานุเบกษายังได้เผยแพร่พระราชบัญญัติ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยมีรายละเอียดดังนี้ คลิกที่นี่