วันนี้ (13 ก.พ. 2561) พล.อ.ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมนาย กลิน ที เดวีส. เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และพล.ท.ลอว์เรนซ์ ดี นิโคลสัน ผู้บัญชาการกองกำลังภาคโพ้นทะเลนาวิกโยธินที่ 3 ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกคอบร้าโกลด์ 2018 ณ กองการบินทหารเรือ สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง โดยมีเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประ เทศไทย เอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำประเทศไทย ผู้แทนเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย และอัครราชทูตที่ปรึกษาสิงคโปร์ประจำประเทศไทย เข้าร่วมด้วยประเทศไทย และอัครราชทูตที่ปรึกษาสิงคโปร์ประจำประเทศไทย เข้าร่วมด้วย

การฝึกคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกร่วมผสมทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทย และกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกในประ เทศไทยเป็นประจำทุกปี ในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 37 วัตถุประสงค์การฝึกเพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงในการแก้ไขสถานการณ์ความขัดแย้ง มุ่งไปสู่การเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติ

รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางทหาร ระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์ 2018 ที่ดีอยู่แล้วให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ในปีนี้การฝึกคอบร้าโกลด์ มีประเทศเข้าร่วมการฝึกหลัก จำนวน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยมีประเทศจีน และอินเดีย เข้าร่วมในส่วนโครงการช่วยเหลือประชาชน นอกจากนี้ยังมีประเทศในโครงการฝ่ายเสนาธิการผสมส่วนเพิ่มนานาชาติ จำนวน 10 ประเทศ สำหรับประเทศที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึก จำนวน 10 ประเทศ จำนวนผู้เข้ารับการฝึกรวม 11,075 นาย

โดยใช้พื้นที่กองทัพภาคที่ 1 กองทัพภาคที่ 2 และบริเวณอ่าวไทยตอนบน เป็นพื้นที่การฝึกหลัก ในระหว่างวันที่ 13-23 ก.พ.นี้ ประกอบด้วย การฝึกปัญหาที่บังคับการ การฝึกภาคสนาม และโครงการช่วยเหลือประชาชน โดยในปีนี้ได้เพิ่มการฝึกช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย การฝึกต่อต้านการก่อการร้ายสากล การฝึกกวาดล้างและทำลายทุ่นระเบิด

สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากการฝึกคอบร้าโกลด์ แบ่งเป็นสามระดับ ประกอบด้วย ระดับประเทศ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในระดับนานาชาติในการเตรียมความพร้อมด้านการทหารที่มีความเข้มแข็ง ทันสมัย สามารถตอบสนองภารกิจด้านความมั่นคงในทุกมิติ เช่น การรักษาสันติภาพ การบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

ส่วนในระดับกองทัพ เป็นการพัฒนาขีดความสามารถทางทหารในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพมิตรประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจของกองทัพไทยในทุกมิติ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะด้านการบรรเทาสาธารณภัยในภูมิภาค
