ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สันติภาพชายแดนใต้ ไม่ง่ายจะสำเร็จ

การเมือง
22 ธ.ค. 61
11:53
1,678
Logo Thai PBS
สันติภาพชายแดนใต้ ไม่ง่ายจะสำเร็จ
การอภิปราย "สันติวิธีสู่สมานฉันท์ชายแดนใต้" หนุนสร้างสัมพันธุ์คนไทยพุทธ-มุสลิมอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ปลดล็อกพื้นที่การเมืองถกประเด็นการปกครอง-จัดการตนเอง

การอภิปรายหัวข้อ “สันติวิธีสู่สมานฉันท์ชายแดนใต้” จัดโดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีและเครือข่าย มี ศ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.มารค ตามไท ผู้อำนวยการสถาบันศาสนาวัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ และนายเมธัส อนุวัตรอุดม นักวิชาการด้านสันติวิธี ฯลฯ ร่วมเสวนา

 

ศ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ศ.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า การศึกษาปัญหาชายแดนใต้ตามที่คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) เคยศึกษาเมื่อ 13 ปีที่แล้ว บางสิ่งคาดไว้ผิด เช่น เหตุระเบิดเพิ่มขึ้นและการวางเพลิงลดลง ฯลฯ แต่หลายสิ่งถูก คือ ความสัมพันธ์ของชาวไทยพุทธและมุสลิมมลายู ร้าวรานมากกว่าเดิม เพราะสถาบันที่เคยร้อยรัดถูกกัดเซาะจนเปราะบาง และประชาชนในพื้นที่ได้รับความเสียหายจากความรุนแรงมากขึ้นซึ่งมีแนวโน้มว่าจะไม่จบลงโดยง่าย

เมื่อพูดถึง กอส. และการทำงานของบุคคลสำคัญ คือ นายอัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง, นางจิราพร บุนนาค, นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ บุคคลทั้งสามคือ “สะพาน” ที่เคยเชื่อมกับประชาชน ขบวนการ นโยบายความมั่นคง และโลก คำถามคือวันนี้ไม่มีสะพานแล้วจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร


เรื่องสะพานน่าสนใจ บางสะพานต้องสร้าง บางสะพานต้องรื้อ ไม่ใช่ทุกสะพานสำคัญเท่ากัน

ปัญหาชายแดนใต้มิติความสัมพันธ์ของคน มีปัญหาตั้งแต่ระดับรัฐที่พยายามเป็น “ผู้รู้ดี” และแสดงตัวรู้มากกว่าคนในสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งการแก้ไขปัญหาจะไม่สำเร็จ และทำให้การสร้างความสมานฉันท์เป็นเรื่องยาก

 

นอกจากนี้กรณีศึกษาอื่น เช่น ศรีลังกาและอาเจนตินา การตั้งคณะกรรมการเพื่อสร้างความสมานฉันท์ตั้งเมื่อความรุนแรงยุติแล้ว แต่ไทยตั้งคณะกรรมการระหว่างความรุนแรงยังมีอยู่ จึงแก้ไขได้ยากและรัฐเข้าใจบทบาทคณะกรรมการผิด เช่นจะเห็นจากการที่รัฐวิ่งเข้าหาประธาน กอส. (นายอานันท์ ปันยารชุน) เมื่อเกิดความรุนแรง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมการในการจะหยุดความเสียหายเฉพาะหน้า

ทั้งนี้วิธีคิดเรื่องวัฒนธรรมเชิงเดี่ยว (monoculture of the mind) เป็นอันตรายต่อการสร้างความสมานฉันท์ เพราะจุดเริ่มต้นของสันติภาพ คือการเคารพซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ปัจจุบันไทยยังติดกับความคิดแบบรัฐเดี่ยว หรือความเป็นเอกรัฐ ซึ่งถือว่าล้าหลัง โลกยุคนี้แม้เป็นรัฐเดี่ยว แต่ก็จะมีรัฐระดับรองที่มีอำนาจตัดสินใจรองลงไป แต่สังคมไทยและข้าราชการไทยยังไม่มีตรงนี้


สมานฉันท์ ถ้าแปลว่าต้องเหมือนกัน เป็นความคิดที่ไม่ถูก และเป็นอันตราย

นโยบายรัฐที่เน้นการรักษากฎหมายแบบ “กฎหมายนำ ทหารตาม การเมืองเป็นส่วนขยาย" เป็นทิศทางที่ไม่ถูกต้อง เพราะวิธีแบบนี้เป็นการใช้แก้ปัญหาอาชญากรรม แต่ปัญหาชายแดนใต้เป็นเรื่องความเห็นต่างไม่ใช่ปัญหาอาชญากรรม ดังนั้นจึงต้องใช้การเมืองเพื่อแก้ปัญหาการเมือง ซึ่งหากเดินหน้าใช้วิธีแก้ปัญหาแบบเดิม แม้ความรุนแรงลดลง แต่ความขัดแย้งไม่ได้ลดตาม

กวาดซุกไว้ใต้พรหม แล้วบอกว่าเรียบร้อย มันไม่ใช่การสร้างความสมานฉันท์ที่ยั่งยืน

ความรุนแรงเพิ่ม เริ่มหาทางออกด้วยสันติ

น.ส.สมใจ ชูชาติ ผู้ใหญ่บ้านบ้านนอก อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี

น.ส.สมใจ ชูชาติ ผู้ใหญ่บ้านบ้านนอก อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี

น.ส.สมใจ ชูชาติ ผู้ใหญ่บ้านบ้านนอก อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี

น.ส.สมใจ ชูชาติ ผู้ใหญ่บ้านบ้านนอก อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี กล่าวว่า ความรุนแรงส่งผลต่อความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่ นับแต่เหตุการณ์ปี 2548 แม้ช่วงแรกคนเพียงตั้งคำถามที่เกิดขึ้น แต่เมื่อมีภาพคนพุทธถูกฆ่า วัดถูกระเบิด และพระถูกทำร้าย สร้างความไม่เข้าใจระหว่างคนพุทธและมุสลิม เพราะบางคนรู้สึกว่าเป็นผู้ถูกกระทำและเจ็บปวด ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาของรัฐ ใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้อง ซ้ำยังเป็นการเพิ่มปัญหา และหลายครัฐในฐานะที่ต้องเป็นประชาชนและเป็นคนของรัฐรู้สึกว่าไม่ได้รับการปกป้องจากรัฐ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงทำให้ตนและชาวพุทธตื่นตัวและเริ่มหาทางออกเมื่อความรุนแรงเพิ่มขึ้น

เริ่มเรียนรู้เรื่องในพื้นที่ มีโอกาสจะทำงานร่วมกับคนพุทธ มุสลิม บางครั้งต่อสู้เรื่องแบบนี้ เพื่อให้ 3 จังหวัด มีความสุขขึ้น

น.ส.สมใจ ยอมรับว่า จากที่ไม่ค่อยยอมรับในหลักสันติวิธี เริ่มหาวิธีที่จะทำให้คนพุทธและมุสลิมร่วมกันคลี่คลายปัญหาความสัมพันธ์และความหวาดระแวงที่เกิดขึ้น โดยเริ่มจากการเข้าร่วมกับภาคประชาสังคม ศึกษาของมูลจากนักวิชาการ และรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน เพื่อสร้างความเข้าใจต่อปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งสุดท้ายพบว่าปมปัญหาไม่ใช่แค่เรื่องเหตุการณ์ไม่สงบ เช่น การวางระเบิดหรือการแบ่งแยกดินแดน แต่เป็นเรื่องของคนพุทธและคนมุสลิมว่าถูกกระทำอย่างไร เรียกว่าการเรียนรู้เริ่มจากตัวเราและเข้าใจเขา

แลกกระสุนปืนเพื่อสันติภาพไม่ได้

นายจตุรนต์ เอี่ยมโสภา สถานีวิทยุมีเดียสลาตัน

นายจตุรนต์ เอี่ยมโสภา สถานีวิทยุมีเดียสลาตัน

นายจตุรนต์ เอี่ยมโสภา สถานีวิทยุมีเดียสลาตัน


นายจตุรนต์ เอี่ยมโสภา สถานีวิทยุมีเดียสลาตัน กล่าวว่า ปัญหาความสัมพันธ์คนในพื้น 3 จังหวัดภาคใต้ ระหว่างพุทธและมุสลิม ไม่ได้ในทุกพื้นที่ แต่เป็นปัญหาแค่บางจุด ทั้งนี้สาเหตุมากจากการไม่ปฏิสัมพันธุ์กันตั้งแต่เด็ก เช่น แยกโรงเรียนระหว่างคนพุทธและคนมุสลิม จึงทำให้คนไม่เข้าใจถึงวัฒนธรรม ศาสนา และความแตกต่างกันตั้งแต่แรก ต่างจากอดีตที่คนพุทธ-มุสลิม เรียนรู้กันตั้งแต่เด็ก

เรียนรู้กันและกัน ส่วนหนึ่งจะทำให้ปัญหารอยร้าวและความไม่เข้าวัฒนธรรมศาสนาแก้ไขได้

นายจาตุรนต์ ยังตั้งคำถามเกี่ยวกับการผลักดันนโยบายสังคมพนุวัฒนธรรมของรัฐ ที่พยายามสร้างภาพการอยู่ร่วมกันของคนที่หลากหลายแต่ไม่สอดคล้องความเป็นจริง ทั้งที่คนในพื้นที่ที่มีวิถีชีวิตอยู่ร่วมกันมานานเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เช่น เดือนถือศีลอด เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องเชิญพระไปละศีลอด พอพระจะฉันก็ฉันไม่ได้ ส่วนอิม่ามก็ได้กินอินทะผาลำแค่เม็ดเดียว เรื่องนี้ไม่ใช่กิจของสงฆ์ และความสัมพันธ์ของคนทั้งคู่ เดิมก็เป็นเพื่อนกันอยู่แล้ว ความพยายามที่จะสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมจะยิ่งเป็นการทำลาย

ควรให้ชุมชนจัดการตนเอง นโยบายจากส่วนกลางลงข้างล่าง ส่วนกลางสั่งไปแล้วรู้จักหรือเข้าใจจริงๆ หรือเปล่า

ทั้งนี้สังคมไทยยังกลัวการตั้งคำถามเกี่ยวกับการจัดการตนเอง แต่ยิ่งเป็นสิ่งที่ต้องผลักดันให้มีการพูดคุยเรื่องนี้ เพราะ “กลัวคงไม่รู้ รู้แล้วคงไม่กลัว” โดยเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่มีปัญหามากว่า 15 ปี อย่างน้อยขอให้คนไทยช่วยกันแก้ไขได้สักครึ่งหนึ่งของกรณีถ้ำหลวง เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ปัญหาของคน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่คนทุกคนต้องมีส่วนร่วม ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็น “มุสโลโฟเบีย” เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ที่ประจำการอยู่ในชายแดนใต้ต้องเผชิญเหตุหรือเสียชีวิต ครอบครัวของผู้ตายย่อมมีความเจ็บปวดและมีความรู้สึกไม่พอใจคนมุสลิม ดังนั้นหากไม่ช่วยกันทำความเข้าใจสันติก็จะไม่เกิดขึ้น

เราไม่สามารถแลกเปลี่ยนกระสุนปืนเพื่อสันติภาพได้ แต่เราแลกเปลี่ยนปากกาลงนามในสันติภาพได้

"เรื่องใต้" ต้องคุยเรื่องการปกครอง

นายเมทธัส อนุวัตรอุดม ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ

นายเมทธัส อนุวัตรอุดม ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ

นายเมทธัส อนุวัตรอุดม ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ

นายเมทธัส อนุวัตรอุดม ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ กล่าวว่า ปัญหาความต่างและความห่างในความสัมพันธ์ของคนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ วิเคราะห์ได้ 4 ประเด็น 1. การแก้ปัญหาต้องมี “ข้อต่อ” และคนที่เป็นข้อต่อต้องทำงานต่อเนื่อง เพื่อประสานช่องทางพูดคุยระห่วาง ขบวนการ รัฐ ประชาสังคม เพื่อสร้างเครือข่ายและทำงานระยะยาว

2.การสร้างบรรยากาศที่พร้อมให้คนคุยหาทางออก เพราะการพูดคุยเพื่อสันตุภาพไม่สามารถพูดเฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ปัจจุบันรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ได้คุยกันขบวนการ ต่อไปประชาสังคมก็ต้องได้คุยกับขบวนการต่อไป เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจซึ่งกันและกัน

3. การพูดคุยต้องเป็นางเลือกที่มีความหวัง การพูดคุยจะเป็นความหวังได้ต้องมาจากการคุยแล้วทำได้จริง ดังนั้นคนที่คุยแล้วต้องทำ เพื่อให้คนเห็นสิ่งที่คนคุยร่วมกันแล้วเกิดรูปธรรม

คุยสันติภาพเป็นทางเลือกได้ ต้องลงมือทำ มีคนเข้าใจ มีคนศักยภาพทำให้เกิดขึ้น มีความตั้งใจและมีใจทำ

4.ต้องคุยเรื่องการปกครอง ที่ผ่านมาคุยทุกมิติทั้งปัญหาใต้ การพัฒนา การศึกษา และอัตลักษณ์ ฯลฯ แต่ทุกเรื่องจะกลับมาที่การปกครอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกระจายอำนาจ การจัดการตนเอง หรือสิทธิความเป็นเจ้าของเหนือดินแดน คือเรื่องเดียวกันและเป็นปัญหาทั่วประเทศ

"สมานฉันท์" มากกว่าความสัมพันธ์ุคน

รศ.มารค ตามไท ผู้อำนวยการสถาบันศาสนาวัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ

รศ.มารค ตามไท ผู้อำนวยการสถาบันศาสนาวัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ

รศ.มารค ตามไท ผู้อำนวยการสถาบันศาสนาวัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ

รศ.มารค ตามไท ผู้อำนวยการสถาบันศาสนาวัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ กล่าวว่า การสร้างความสมานฉันท์เป็นเรื่องยาก แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวเชื่อว่าหากจะทำให้การสมานฉันท์เกิดขึ้นจริง ต้องทำให้ยากกว่า หมายถึงการขยายความเรื่องสมานฉันท์มากกว่าความสัมพันธ์ระดับบุคคล แต่ขยายไปถึงความรู้สึกของปัจเจก ที่รู้สึกอึดอัดและถูกกัดดัน เมื่อไม่สามารถที่จะพูดถึง "ความฝัน"ของพวกเขาได้ และเมื่อคนมีความทุกข์ลักษณะนี้ก็จะสร้างความทุกข์ให้กับผู้อื่น


ชีวิตที่ถูกกดดัน ยากที่เขาจะมีความสัมพันธุ์ที่ดีกับคนอื่น และเสี่ยงที่จะสร้างความทุกข์กับคนอื่นต่อ

ดังนั้นการสร้างความสมานฉันท์จะต้องลดความอึดอัด และสร้างโอกาสที่คนจะได้ใช้ความพยายามไปถึงความฝันของเขา และความอึดอัดที่ว่าคือคำว่า "ขบวนการเอกราชปาตานี" เมื่อถูกถึงคำนี้ทุกคนมีความคิดและความเข้าใจที่ต่างกัน แต่หากยังยึดติดกับ บีอาร์เอ็น พูโล มาลา แปลว่าความเข้าใจยังห่างไกลจากสังคมสมานฉันท์ เพราะท้ายสุดสมานฉันท์ไม่ใช่เรื่องกลุ่มเหล่านี้ แต่เป็นความฝันแบบหนึ่งที่มีคนต้องการ

ประเทศอื่นไม่อึดอัด เพราะเขาถกเถียงกันได้ ดังนั้นสมานฉันท์ต้องเริ่มด้วยความสบายใจ

วิธีทางที่จะไปถึงความฝัน คือการยกระดับสันติวิธี เช่น ความกล้าหาญที่ กอส. ใช้สันติวิธีในการพูดคุยและมีสัมพันธ์ที่ดี สรุปแล้วการยกระดับหรือขยายขอบเขตสมานฉันท์ คือการทำให้คนหายอึดอัด และขั้นถัดไปคือ "ประชาสนทนา" ต้องไม่มีข้อจำกัด ซึ่งจะกลายเป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมืองแท้จริง

รศ.มารค ยืนยันว่า "เอกราช" ที่กล่าวถึงคือ independent (การจัดการตนเอง) ไม่ใช่ autonomy (การปกครองตนเอง) และคำนี้เป็นปัญหาหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการยกระดับ เพราะสังคมตื่นตระหนกเมื่อพูดคำนี้ และมักกลายเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับการถกเถียงเรื่องศาสนาประจำชาติ ทั้งที่ทางปฏิบัติการแสดงความคิดเห็นไม่ใช่เรื่องที่จะขัดหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ดังนั้นต้องเปิดพื้นที่ให้คนได้แสดงความคิดเห็น


การพูดเป็นของอ่อน ดีที่สุดคือคนในพื้นที่คุยกันเอง ถกกันเอง ลดความสับสน ลดความรุนแรงด้วยการพูด
นายอานันท์ ปันยารชุน

นายอานันท์ ปันยารชุน

นายอานันท์ ปันยารชุน

ขณะที่ นายอานันท์ ปันยารชุน กล่าวว่า การเคลื่อนไหวในไทยและต่างประเทศ การใช้คำว่า "เอกราช" ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้ไม่ได้มีความต้องการประเด็นนี้ แต่ต้องการสิทธิและอำนาจในการจัดการปัญหาของตนเอง เช่น อเมริกามีหลายรัฐ แต่ละรัฐมีอำนาจในการจัดการตนเอง ขณะที่รัฐบาลกลางมีหน้าที่ปกป้องรัฐและขับเคลื่อนนโยบายอื่น เป็นต้น

หลายประเทศและไทยหวงแหน พูดแบ่งแยกดินแดนไม่ได้ ถ้าเกิดไปพูดถึงเรื่อง "เอกราช" ขัดรัฐธรรมนูญ


ทั้งนี้หลักการสำคัญคือการกระจายอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาหรือญี่ปุ่น ฯลฯ มีการกระจายอำนาจ เช่น ญี่ปุ่น การตัดสินใจโครงการอยู่ที่ท้องถิ่น ตั้งแต่การตั้งโรงงานแและการประเมินสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงไม่ควรยึดติดกับคำว่ารัฐหรือเอกราช เพราะประเทศต่างๆ กระจายอำนาจหมดแล้ว ที่สำคัญลักษณะที่เกิดขึ้นกับสามจังหวัดชายแดนใต้ไม่ใช่เกิดเฉพาะไทย แต่เกิดขึ้นทั่วโลก

ต้องการปกครองตนเองมีทุกแห่ง ไม่ใช่เรื่องประหลาด แต่เป็นเรื่องธรรม

ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงไม่ควรใช้กฎหมายนำหน้า แต่ควรใช้จิตใจนำหน้า และขอความกรุณาใช้คำที่ไม่สร้างความตระหนกต่อสังคม เพราะใช้คำว่า "เอกราช" อาจทำให้ความเข้าใจคาดเคลื่อน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง