กรณีเสือโคร่งของกลาง ที่ตรวจยึดจากวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน จ.กาญจนบุรี ป่วยตายจำนวน 86 ตัว จากเสือโคร่ง 147 ตัว ซึ่งจากการตรวจสอบพันธุกรรมเสือโคร่งที่ตายส่วนใหญ่เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ไซบีเรีย ที่เกิดจากการผสมพันธุ์กันเองจากเสือโคร่งของกลางเพียง 7 ตัวที่ตรวจยึดไว้เมื่อปี 2544 จนเกิดภาวะเลือดชิด
วันนี้(16 ก.ย.2562) ไทยพีบีเอสออนไลน์ เปิดใบรายงานผลการวินิจฉัยจากห้องปฏิบัติการ ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ จากคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ชากเสือโคร่งไชบีเรียที่ตายอย่างเฉียบพลันช่วงกลางเดือนมิ.ย.2560 ที่ผ่านมา
พบว่า 1 ใน 2 ตัว ให้ผลบวกต่อเชื้อไข้หัดสุนัข (canine distemper vinus) ที่บริเวณเนื้อเยื่อสมอง ซึ่งเป็นเชื้ออาร์เอ็นเอไวรัส ชนิดสายเดียว(single-stranded RNA virus) ในสกุล
morbilivirus และในวงศ์ paramyxovindae
ช่วงที่ผ่านมายังไม่มีรายงานการเกิดไข้หัดสุนัขในเสือโคร่งในประเทศไทย มีเพียงสัตว์บางชนิด เช่น กลุ่มชะมด หรืออี้เห็นที่สามารถติดโรคดังกล่าวได้
ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์ุพืช
ลักษณะอาการบ่งชี้ น้ำหนักลด-น้ำมูกใส-หายใจผิดปกติ
โดยทั่วไปลักษณะการติดต่อของโรคเกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง และของเสียจากร่างกายสัตว์ที่ติดเชื้อ จากการวินิจฉัยและตรวจพบเชื้อครั้งแรก ได้มีการสอบสวนการระบาดของโรคดังกล่าว โดยพบเสือโคร่งที่มีอาการป่วยเข้าข่ายนิยามการเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 4 มี.ค.2559 จนถึงปลายเดือน พ.ย.2560 ทั้งนี้ อัตราการป่วยในเสื้อโคร่งดังกล่าว เท่ากับ 27% อัตราการตายเท่ากับ 88%
และอัตราการบ่วยตายอยู่ที่ 31%
สำหรับการสอบสวนโรค นิยามในการเฝ้าระวังโรค ลักษณะอาการทางคลินิกที่พบ พบได้ในเสือโคร่งสายพันธุ์ไซบีเรียในทุกรุ่นอายุ สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีขนหยาบ สีขนมีสีเข้มขึ้น น้ำหน้กลด มีอาการถ่ายเหลว อาจพบอุจจาระมีสีดำ น้ำมูกใส อาจมีอาการอาเจียน เป็นของเหลวสีดำคล้ำ หายใจลำบาก หอบ น้ำหนักลด บางตัวอาจมีเสียงหายใจเข้าผิดปกติ และหรืออาจมีอาการทางประสาทร่วมด้วย เช่น อาการซัก เป็นต้น
ผลการชันสูตรซาก เสือโคร่งไซบีเรีย มีเลือดออกในปอด หัวใจ สมอง และระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีพบมีเลือดปนออกมากับอุจจาระเป็นสีดำ และหรือบางตัวอาจพบร่วมกับการบวมของกล่องเสีย กล่องเสียงป็นอัมพาต
ตั้งข้อสังเกตการระบาด
การสอบสวนโรค ได้ตั้งสมมุติฐานการระบาดไว้ 4 ประเด็น ดังนี้
- สมมติฐานที่ 1 มีสัตว์พาหะจากการนำเข้า หรือสัตว์ในกรงเลี้ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ สัตว์ในตระกูล ลิง หมี สุนัขจิ้งจอก ชะมด อีเห็น หรือสัตว์ในกรงเลี้ยงที่ไม่แสดงอาการ หรือไม่สามารถสังเกตความผิดปกติได้ และมีปัจจัยความเครียด ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
- สมมติฐานที่ 2 การติดเชื้อมีอยู่ในตัวสัตว์อยู่แต่เดิม แต่ไม่แสดงอาการ มื่อถึงเวลาขนย้ายและเกิดความเครียด จึงส่งผลให้แสดงอาการของโรคดังกล่าวขึ้นมา
- สมมติฐานที่ 3 การระบาดของสัตว์เลี้ยงในบริเวณใกล้เคียงหรือสัตว์เลี้ยงของคนลี้ยงสุนัขและแมว สามารถเป็นสัตว์รังโรค และแพร่เชื้อออกมาได้
- สมมติฐานที่ 4 การเข้าออกและทำกิจกรรมของเจ้าหน้าที่ คนเลี้ยง และสัตวแพทย์ ที่อาจนำเชื้อจากภายนอกมายังพื้นที่
สอดคล้องกับที่ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์ นายสัตวแพทย์เบญจรงค์ สังขรักษ์ สัตวแพทย์กลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุืพืช กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปหาต้นตอ การระบาดของไข้หัดสุนัขที่ติดในเสือโคร่งได้ชัดเจน โดยทีมสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสอบสวนโรค รวมทั้งหาเส้นทางโรคที่ติดมาที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าที่มีระบบควบคุมที่ดีได้อย่างไร
ยังสรุปไม่ได้เส้นทางการระบาดของโรคได้ชัดเจน เพราะปกติโรคนี้ จะมาจากสุนัข ที่ทำให้แพร่เชื้อกระจาย จากทางน้ำลาย การหายใจ การไอ การจาม แต่การติดเข้ามาสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ที่มีระบบการควบคุมแน่นหนา มีการวางกรงรั้วล้อมรอบ ป้องกันสุนัขเข้ามาในพื้นที่ต้องหาคำตอบเพิ่มเติม
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
เฝ้าระวังเสือโคร่ง 44 ตัว "เครียด-เลือดชิด-ติดโรค" เสี่ยงตายเพิ่ม
กลุ่มสิทธิสัตว์ตั้งคำถาม ชะตาชีวิต "เสือ" ติดโรค