ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เพียงคำเดียว "คำเรียกหัวล้านตามตำรา"

Logo Thai PBS
เพียงคำเดียว "คำเรียกหัวล้านตามตำรา"
ช่วงกรกฎาคมถึงกันยายน นอกจากเป็นช่วงฤดูวางไข่ของปลาน้ำจืด ยังจะได้เห็นพฤติกรรมของสัตว์ หนึ่งในนั้นคือการตีแปลงสร้างอาณาเขตของปลาชะโด เป็นที่มาของคำเรียกทรงผมประเภทหนึ่ง

ดุร้ายหวงถิ่นกินพวกเดียวกัน แถมยังมีฟันแหลมคม ถึงขนาดได้ชื่อเป็นปลาสายพันธุ์หนึ่งที่ต้องมีการล่าเพื่อควบคุมจำนวน นอกจากเป็นกิตติศัพท์ที่รู้กันดีในหมู่นักตกปลา พฤติกรรมการล่าช่วงผสมพันธุ์ ที่ปลาตัวผู้จะหวงไข่ไม่ให้สิ่งมีชีวิตใดเข้าใกล้รัง ยังทำให้คนโบราณสังเกตเห็นลักษณะเฉพาะของรังบนผิวน้ำ ที่มาของคำเรียก ชะโดตีแปลง

 

ชะโดตีแปลง หนึ่งในคำเปรียบลักษณะหัวล้านตามตำรา ว่าด้วยล้านเป็นวงคล้ายดงน้ำขัง มีผมรอบซ้ายขวาหน้าหลัง เหมือนชะโดที่ตีแปลง แรงจนน้ำและสิ่งโดยรอบกระเซ็นออกไป

ที่มาของชะโดตีแปลงมาจากพฤติกรรมของปลาชะโด ช่วงฤดูวางไข่ที่ตัวผู้จะตีแปลงหาพื้นที่เพื่อให้ตัวเมียวางไข่ เขาจึงเอามาตั้งชื่อทรงผมหัวล้านของคน ที่ตรงกลางว่างเปล่า มีแค่ผมข้างๆเป็นหย่อมหญ้า

นอกจากปลาชะโดยังมีการกล่าวถึงครีบและหางของปลา รวมถึงพฤติกรรมต่างๆของสัตว์ เปรียบเทียบกับลักษณะหัวล้านอีก 6 ประเภท ที่มีชื่อคล้องจองกันว่า ทุ่งหมาหลง ดงช้างข้าม ง่ามเทโพ ชะโดตีแปลง แร้งกระพือปีก ฉีกหางฟาด ราชคลึงเครา ปรากฏให้เห็นในการละเล่นพื้นบ้าน หัวล้านชนกัน

การละเล่นหัวล้านเป็นการสร้างความสนุกสนานและความสัมพันธ์ คนโบราณสังเกตเห็นหัวล้านในแบบต่างๆ จึงนำมาเปรียบกับลักษณะหรือพฤติกรรมของสัตว์ที่เห็นในชีวิตประจำวัน เช่น ง่ามเทโพ คือ ผมช่วงข้างหน้าล้าน ตรงกลางเป็นรูปคล้ายๆเงี่ยงสองแฉกของปลาเทโพ

 

https://web.facebook.com/ArtandCultureThaiPBS/videos/1177350885786176/

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง