วันนี้ (5 ธ.ค.2562) เฟซบุ๊ก วิทยาสัตว์ตอบคุณได้ เผยแพร่ข้อความเรื่องเมนูหูฉลาม ที่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้ ว่าเมนูหูฉลามเป็นเมนูที่มีสารพิษอันตรายมหาศาล มีโลหะหนักตกค้าง
"หูฉลาม" อาหารขึ้นชื่อของผู้รากมากดีเชื้อสายจีนมาช้านาน แต่ด้วยจากความต้องการที่มากขึ้นตามการขยายตัวของประชากรโลก ทำให้ฉลามหลายชนิดกลายเป็นเหยื่อทางค่านิยมการบริโภคนี้
ถ้าพูดถึงปัญหาการบริโภคเกินขนาด ก็หนีไม่พ้นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม หลายคนก็จะหาว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่เห็นเกี่ยวกับวิถีชีวิตในรัฐสภาและห้องอาหารหรูหราเลย
แต่ถ้าเกิดว่าหูฉลามเมนูบำรุงกำลังราคาแพงนั้น กลับพ่วงแถมมาพร้อมสารพิษอันตรายมหาศาลล่ะ? รายงานทางวิทยาศาสตร์และบทความหลายแหล่ง ทั้งจากในจีนและประเทศตะวันตกต่างยืนยันว่า เมนูหูฉลามนนั้นเต็มไปด้วยโลหะหนักตกค้าง
เพราะด้วยความที่ฉลามเป็นผู้ล่าสูงสุดของระบบนิเวศ ฐานะนี้ไม่ได้มีแค่ความเกรงขาม แต่ต้องแบกภาระการเป็นที่รองรับสารพิษปริมานมาก ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของห่วงโซ่จนมาถึงตัวเอง
ถ้านึกภาพไม่ออก ให้ลองนึกภาพ ปลา 1 ตัว มีสารพิษ 1 กรัม ต่อตัว ฉลามจะต้องกินปลาวันละ 10 ตัวถึงจะอิ่ม เท่ากับวันหนึ่งมันได้สารพิษมากกว่าปลาเหยื่อถึง 10 เท่า ทำให้ตัวฉลามกลายเป็นแหล่งสะสมของสารพิษจำนวนมหาศาลนั้นเอง
ยิ่งในยุคนี้ที่มหาสมุทรมีการปนเปื้อนโลหะหนักมากมายจากพื้นทวีป ปริมาณสารพิษตกค้างในฉลามยิ่งทวีคูณมากขึ้น
โลหะหนักที่มักพบในหูฉลามคือ ปรอท (เกิดโรคมินามาตะ) และแคดเมียม (เกิดโรคอิไต-อิไต) ถ้าพูดถึงอาการเจ็บป่วยที่ตามมาเพราะสาร 2 ชนิดนี้ คงเขียนยาวเป็นหางว่าว หากสนใจต่อลองสืบค้นข้อมูลทางสุขภาพเพิ่มเติมได้ด้วย คีย์เวิร์ด พิษปรอท หรือ พิษแคดเมียม
ถ้ารู้อย่างนี้แล้วหูฉลามยังจะน่ากินอยู่หรือไม่? อยากถามคนที่เพิ่งไปกินมาเหลือเกิน
เศร้า ! พรรคร่วมรัฐบาลเสิร์ฟ "หูฉลาม" กระชับมิตร
ทั้งนี้ เฟซบุ๊ก วิทยาสัตว์ตอบคุณได้ ยังได้แนบลิ้งค์ ข่าวงานวิจัยสารพิษในฉลาม ไว้ด้วย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชาวโซเชียล หนุนหยุดเมนู "หูฉลาม" ในงานเลี้ยง