สธ.ย้ำตรวจหาไวรัส COVID-19 แบบรวมตัวอย่างช่วยประหยัด เน้นเฉพาะกลุ่มเสี่ยง-จำเป็น

สังคม
1 พ.ค. 63
13:39
644
Logo Thai PBS
สธ.ย้ำตรวจหาไวรัส COVID-19 แบบรวมตัวอย่างช่วยประหยัด เน้นเฉพาะกลุ่มเสี่ยง-จำเป็น
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยตรวจหาไวรัส COVID-19 แบบรวมตัวอย่าง (Pooled Sample) ช่วยประหยัดค่าตรวจกว่า 3-5 เท่า เน้นตรวจเฉพาะกลุ่มเสี่ยงและจำเป็น

วันนี้ (1 พ.ค.2563) กระทรวงสาธารณสุขแถลงความคืบหน้า สถานการณ์โรคไวรัส COCVID-19 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง การป้องกันตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID-19 หากมีคำสั่งผ่อนปรนมาตรการต่าง ๆ โดยระบุว่า การติดเชื้อไวรัส COVID-19 จะสามารถติดต่อกันได้ใน 2 วิธีคือ 1.ผู้ที่มีเชื้อหากไอ จาม และสารคัดหลั่งกระเด็นออกไป ผู้ที่อยู่ใกล้และรับสารคัดหลั่งเข้าทางปาก-จมูก ฉะนั้นจึงต้องรักษาระยะห่าง 1-2 เมตร รวมถึงการสวมหน้ากากจะทำให้โอกาสที่เชื้อจะปลิวไปยังอีกคนก็จะต่ำมากหรือแทบจะเป็นศูนย์

วิธีที่ 2 การติดต่อผ่านสารคัดหลัง เช่น สารคัดหลั่งบริเวณมือของผู้มีเชื้อและไปสัมผัสบนสิ่งของ และเมื่อมีผู้ไปสัมผัสและไปแตะปาก และจมูกก็จะได้รับเชื้อเหล่านั้น ซึ่งหากไปสัมผัสแต่มือไม่ไปลูบหน้า ก็จะไม่มีโอกาสที่จะติดเชื้อ

ฉะนั้นเมื่อมีการผ่อนปรนมาตรการต่าง ๆ การรับประทานชาบูคนละฝั่ง และอาหารปรุงสุก หม้อคนละถ้วย ไม่ใช้ภาชนะร่วมกัน โอกาสที่จะติดเชื้อก็จะใกล้ๆ เป็น 0 

ดังนั้นการลดโอกาสแพร่เชื้อไวรัส COVID-19 ยังคงดำเนินการตามมาตรบานเดิมคือ 1.สวมหน้ากาก 2.อยู่ห่างหรือเว้นระยะห่าง 3.ล้างมือ 4.ลดการสัมผัสสิ่งของ หรือลูบหน้า ก็จะช่วยลดการแพร่เชื้อได้

 

ขณะที่การตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่าง การให้ความรู้แรงงานข้ามชาติที่ไทยมีประมาณกว่า 3 ล้านคน (ที่ขึ้นทะเบียน) รวมถึงการสุ่มตรวจแบบ PUI ที่ระยะหลังมีการตรวจเยอะมากขึ้นทำให้อัตราการพบเชื้อเจอในเปอร์เซนต์ที่ต่ำลง และหากขยายวงไปยังกลุ่มใหญ่โอกาสที่จะพบก็ยิ่งน้อยลงไปอีก ซึ่งการตรวจแบบเดิมจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีการตรวจแบบรวมตัวอย่าง (Pooled Sample) ยกตัวอย่างเช่น กรณีเดิมการตรวจในชุมชนแห่งหนึ่ง 100 คน หากมีผู้ติดเชื้อ 1 คน จากเดิมที่ต้องตรวจ 100 ครั้ง และพบผู้ติดเชื้อ 1 คน

แต่อีกวิธีการตรวจแบบรวมตัวอย่าง (Pooled Sample) เช่นกรณีการตรวจ 100 คนเจ้าหน้าที่จะนำตัวอย่างจากคน 10 คนมารวมกัน เป็น 10 ชุด แล้วนำมาตรวจซึ่งกลุ่มใดที่ไม่พบก็จะเป็นลบ แต่หากตรวจเจอกลุ่มใดเป็นบวก ก็จะนำผลจากกลุ่มนั้นมาตรวจเป็นรายคนอีกครั้ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรวจทั้งหมด 100 ครั้งเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งวิธีการตรวจแบบรวมตัวอย่าง (Pooled Sample) จะประหยัดมากกว่า ซึ่งหากอัตราการติดเชื้อไม่สูงมากการใช้วิธีการนี้จะประหยัดค่าตรวจได้ถึง 3-5 เท่า

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า การตรวจหาไวรัส COVID-19 ในไทย ซึ่งจะพบมีผู้ติดเชื้อรุนแรงราว 5 เปอร์เซนต์ กรณีหากมีผู้ตรวจ 10,000 คนจะมีผู้ที่มีอาการหนักราว 500 คน คำถามคือ ผู้ที่มีอาการหนักอยู่ที่ไหน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเชื่อว่าไม่ได้ตรวจน้อย แต่เป็นการตรวจอย่างมีเป้าหมาย โดยการตรวจจะเน้นการตรวจในกลุ่มที่มีความเสี่ยงและความจำเป็นที่ต้องตรวจเท่านั้น ขณะที่การตรวจแอนติบอดี้ยังไม่ใช่การตรวจในขณะนี้ และยังไม่มีบทบาทในระบบของไทย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง