ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ภารกิจสุดลุ้น ล้วง "หมวก" จากท้องปลายักษ์

สิ่งแวดล้อม
6 พ.ย. 63
15:49
1,777
Logo Thai PBS
ภารกิจสุดลุ้น ล้วง "หมวก" จากท้องปลายักษ์
เปิดใจทีมสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ภารกิจล้วงคอช่วยปลากลืนหมวกทั้งใบสำเร็จภายใน 25 นาที หลังเด็กทำหล่นบ่อในวัด ล่าสุดอาการปลอดภัยและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ

"ดีใจที่ออกมาได้ ตอนแรกปลาซึมมาก นิ่ง ๆ แทบไม่ว่ายน้ำ มันคงแย่แล้ว พอเอาออกมาได้และฟื้นจากสลบ ปลาว่ายน้ำได้ดี แข็งแรง ท้องคงโล่งขึ้นมา" รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงนาทีประทับใจที่ช่วยชีวิตปลากดอเมริกาใต้ หรือปลากดหางแดง เป็นความพยายามของทีมสัตวแพทย์ 3 คนที่ออกแรงดึงและดัน จนกระทั่งล้วงหมวกออกจากท้องปลาสำเร็จ

ภาพ : Nantarika Chansue

ภาพ : Nantarika Chansue

ภาพ : Nantarika Chansue

นาที "ล้วงหมวก" ออกจากท้องปลา

เมื่อได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือ ตอนแรกก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าหมวกหล่นไปอยู่ตรงจุดใดของร่างกายปลา กลืนเข้าไปแล้วอยู่ในกระเพาะ ลำไส้ หรืออุดตันส่วนใด แต่หมวกมีขนาดใหญ่ เชื่อว่าไม่ลงไปถึงลำไส้ โดยเตรียมเครื่องมือไปทั้งหมด เช่น เครื่องเอ็กซ์เรย์ อัลตราซาวด์ และเครื่องมือผ่าตัด จากนั้นวันรุ่งขึ้นได้เข้าไปช่วยเหลือและรักษาปลา ซึ่งลักษณะภายนอกพบว่า ปลาท้องกางมากและเริ่มมีแผล

ภาพ : Nantarika Chansue

ภาพ : Nantarika Chansue

ภาพ : Nantarika Chansue

 

ทีมสัตวแพทย์วางยาสลบปลาและทดลองล้วงมือเข้าทางปากและใช้นิ้วค่อย ๆ ขยับนำหมวกออกมา แต่ขั้นตอนต่าง ๆ ต้องทำอย่างระมัดระวังและพยายามให้เร็วที่สุด เพื่อให้สัตว์เกิดความเครียดน้อยที่สุด อุปสรรคสำคัญ คือ ฟันแข็งแรงและแหลมคม อีกทั้งเงี่ยงที่ยักได้อยู่บริเวณครีบหน้า จึงได้ประยุกต์ใช้สนับแขนยิงปืนป้องกันการบาดเจ็บ

คิดอยู่นานมากว่าจะเอาแขนเข้าไปได้ยังไง ที่ยากคือฟันของปลาแข็งแรง แหลมคม หากถูกเงี่ยงจะปวดมาก ต้องหาสิ่งปิดแขนโดยประยุกต์ใช้สนับแขน ส่วนแข็งใช้ง้างปากได้ ระหว่างนำมือล้วงเข้าไป
ภาพ : Nantarika Chansue

ภาพ : Nantarika Chansue

ภาพ : Nantarika Chansue

 

ระหว่างที่เปิดปากปลาแล้วที่คั่นหลุดจนงับแขน รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ทีมสัตวแพทย์พยายามใช้มือง้างปากปลาจนได้แผลมาเล็กน้อย จากนั้นนำสนับมาคั่นป้องกันฟันปลา ล้วงมือลงไปคลำ และค่อย ๆ งอหมวกทั้งใบให้เล็กลง ดึงออกมาอย่างช้าๆ ไม่ให้ปลาเป็นแผล หรือได้รับบาดเจ็บ ล่าสุดปลาสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ภารกิจช่วยชีวิตปลาในครั้งนี้ เริ่มต้นจากแม่ของเด็กคนหนึ่งโทรศัพท์มาแจ้งว่า ปลาภายในบ่อของวัดกลืนหมวกที่ลูกชายทำหล่นเข้าไป โดยขอให้ทีมศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ เข้ามาช่วยเหลือ เพราะเป็นห่วงปลามาก

แม่เด็กน่ารักมาก มาดูปลาก่อน 1 วัน และให้ทางวัดช่วยจับปลาออกให้ เขาเป็นคนที่รับผิดชอบมาก เพราะรู้ว่าสาเหตุมาจากหมวกของลูกหล่น เขาบอกว่าไม่มีเงินนะ แต่จะหามาจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ ทีมสัตวแพทย์จึงไม่ได้คิดเงิน ใช้ทุนของตัวเอง
ภาพ : Nantarika Chansue

ภาพ : Nantarika Chansue

ภาพ : Nantarika Chansue

 

รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา เล่าว่า ก่อนหน้านี้เคยพบเคสสัตว์น้ำกินสิ่งแปลกปลอมที่ตกในบ่อน้ำ เช่น กิ๊บติดผม จุกยาง จุกนม ฝาขวด เครื่องประดับ และสิ่งของมีค่า รวมทั้งการโยนเหรียญลงบ่อ ทำให้สัตว์เจ็บป่วยและตายได้ จึงขอความร่วมมือประชาชนใช้ความระมัดระวัง ช่วยดูแลอย่าให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในที่เลี้ยงสัตว์ หากเกิดอุบัติเหตุสัตว์กลืนสิ่งของต่าง ๆ ขอให้รีบแจ้งเพื่อช่วยชีวิตสัตว์ได้ทันท่วงที

ภาพ : Nantarika Chansue

ภาพ : Nantarika Chansue

ภาพ : Nantarika Chansue

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง