วันนี้ (11 ม.ค.64) นพ.ไผท สิงห์คำ ผอ.กองนวัตกรรมและวิจัยกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การสแกนแอปพบิเคขันไทยชนะ และใช้แอปพลิเคชัน หมอชนะ โดยไทยชนะ จะเป็น การทำ QR Code ประจำสถานที่ สถานที่จำเพาะ ทั้งห้างร้าน ที่อยู่ในห้างใหญ่ และ ห้องต่าง ๆ ในอาคาร จึงมีความแม่นยำในกิจรรมที่ประชานเดินทางเข้าไปอย่างละเอียด ต่างจาก "หมอชนะ" ที่ติดตามจากโลเคชั่นคือ GPS ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนจากการจับสัญญานดาวเทียมและแนวดิ่ง ซึ่งไทยชนะจะเข้ามาปิดช่องว่างในจุดดังกล่าว เพราะมี QR Code กำกับอย่างชัดเจน
ข้อดีของ หมอชนะคือ จะทำงานเองแม้ว่าจะลืมสแกน หรือ ลืมเปิดแอปฯ เพราะแอปฯจะติดตามการเดินทางในฐานข้อมูล ซึ่งเมื่อต้องการใช้ข้อมูลเจ้าหน้าที่สามารถเรียกดูข้อมูลได้ ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลว่าจะลืมสแกนหรือไม่
นอกจากนี้ แอปฯหมอชนะ ซึ่งประชาชนไม่ต้องยืนยันตัวตนด้วยเลขบัตรประชาชน หรือ เบอร์โทรศัพท์ ไม่ต้องกังวล ว่าผู้พัฒนาจะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่ละท่านแต่อย่างใด ขณะที่การเข้าใช้ข้อมูล 2 แอปฯ มีกระบวนการในการใช้ข้อมูลตามมาตรฐานจริยธรรม สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) โดยมีกลไก เป็นคณะกรรมการจากหลายภาคส่วน ทั้งเอกชน ประชาชน และรัฐบาล
นพ.ไผท อธิบายเพิ่มเติมว่า แนวคิดของ แอปฯ หมอชนะ คือ ประชาชนต้องการออกไปทำกิจกรรมตามความจำเป็นนอกบ้าน แต่เมื่อมีการเดินทาง กรณีการไปสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน หรือ มีความเสี่ยง ซึ่งอาจมีการสัมผัสผู้ป่วย ซึ่งการใช้แอปฯไทยชนะบางครั้งอาจลืมสแกน แต่ แอปฯ หมอชนะ จะทำหน้าที่เก็บข้อมูลการเดินทาง โดยไม่ระบุว่าเป็นใครซึ่งไม่ต้องกังวลว่าจะมีการเปิดเผยไทม์ไลน์การเดินทาง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะขอดูข้อมูลกรณีที่ท่านเป็นผู้ติดเชื้อยืนยันเท่านั้น เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนโรค เพื่อสามารถที่จะติดต่อกับผู่ที่มีความเสี่ยงที่ไปทำกิจกรรมในวันละเวลาดังกล่าว ซึ่งใช้แอปฯ หมอชนะเช่นเดียวกัน
นพ.ไผทยังกล่าวว่า มีข้อมูลว่าผู้ป่วยติดเชื้อโดยเฉลี่ย 1 คน จะใช้การสอบสวนโรคคนเพิ่มอีก 50-100 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องทำงานหนักมาก และหากมีผู้ป่วยวันละ 200 คน ก็ต้องทำหน้าที่ติดตามเพื่อสอบถามอาการเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานหนักและอาจติดตามไม่เพียงพอ ซึ่งตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต้อเนื่องทุกวันเจ้าหน้าที่อาจทำงานไม่เพียงพอ หมอชนะ จึงเป็นตัวช่วยให้เจ้าหน้าที่ติดต่อผู้ที่มีความเสี่ยงได้อย่างรวดเร็ว โดยส่งข้อความผ่านแอปฯไปยังผู่ที่ไปในสถานที่เดียวกันกับผู้ป่วยยืนยัน โดยจะส่งข้อความไปยังมือถือและให้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ หรือ ติดต่อกับกรณีมีอาการ ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถทำงานในแต่ละวันได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนร่วมกันป้องกันโรคอย่างมีส่วนร่วม
หมอชนะจะเหมือนหมอในรูปแบบดิจิทัล ที่จะคอยส่งข้อความ เตือนไปยังผู้ที่มีความเสี่ยง ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว ที่ส่งข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
นพ.ไผท ยังกล่าวว่า ข้อมูลที่เข้ามาในแอปฯหมอชนะ ถูกพัฒนาโดยนักพัฒนาของภาคประชาชนและเอกชน ดูแลร่วมโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และเป็นฐานข้อมูลซึ่งดูแลโดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA และเก็บในคราวน์ข้อมูลโดย CAT ผู้อนุญาตให้เข้าดูและเข้าใช้ข้อมูล คือ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งได้การันตีโดยกรมควบคุมโรคแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าดูข้อมูลการเดินทางของประชาชนและส่งข้อมูลในการแจ้งเตือนให้ประชาชนเพื่อการปฏิบัติตัวและติดต่อกลับ ทั้งนี้ระบบหลังบ้านจะเป็นระบบปิด ซึ่งระบบทั้งหมดเป็นกลไกออกแบบในรูปแบบคณะกรรมการ และมีการควบคุมทางเทคโนโลยีอย่างสูง