ขอบคุณข้อมูลและภาพจากเว็บไซต์ : https://thaiarmedforce.com/
โดยรวมแล้ว ปัจจุบัน Lockheed Martin ส่งมอบ F-35 ทั้งสามรุ่นไปแล้วมากกว่า 750 ลำ และฝูงบิน F-35 ทั่วโลกมีชั่วโมงบินรวมกัน 274,699 เที่ยวบิน ด้วยจำนวนมากกว่า 470,000 ชั่วโมงบิน มีนักบินที่เข้ารับการฝึกมากกว่า 1,585 คน และช่างอากาศยานมากกว่า 11,545 คน
มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจในเบื้องต้น หรือ Initial Operational Capability ใน 12 กองทัพ ใน 9 ประเทศ และสามารถประกาศ ความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจจริงแล้วใน 6 กองทัพ 5 ชาติคือสหรัฐทั้งกองทัพอากาศและนาวิกโยธิน สหราชอาณาจักร อิสราเอล อิตาลี และนอร์เวย์
สิ่งที่น่าสนใจคือการซ่อมบำรุง ซึ่งสหรัฐฯ เรียกว่า Sustainment โดยเมื่อพิจารณาเพียง F-35 A พบว่า มีชั่วโมงบินเฉลี่ยการพบความเสียหายหรือ Mean Flight Hour Between Failure สูงกว่าที่คาดไว้ คือ 9.8 ชั่วโมง เทียบกับที่คาดไว้เพียง 6 ชั่วโมง และต้องการชั่วโมงแรงงานในการซ่อมบำรุง น้อยลงกว่าที่คาดไว้ คือต้องการเพียง 5.3 ชั่วโมง เทียบกับที่คาดไว้ที่ 9 ชั่วโมง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่อชั่วโมงลดลง 45 % นับจากปี 2558 โดยในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 33,000 เหรียญต่อชั่วโมง
นอกจากนั้นยังมีรายชื่อฐานทัพและศูนย์ซ่อมบำรุงประจำภูมิภาคเพิ่มขึ้นทั่วโลกตามจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น
โดยรวมแล้ว แม้ว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ F-35 จะยังอยู่ในสถานะ Low-rate Initial Production ซึ่งถือเป็นสถานะที่บอกว่า F-35 อยู่ในระหว่างการทดสอบ ตัวเครื่องยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากยังมีข้อผิดพลาดที่ยังต้องแก้กว่า 600 จุด แต่จากตัวเลขการผลิตราว 150 ลำต่อปี หรือผลิตได้ 1 ลำในทุก 2.5 วัน
ค่อนข้างชัดเจนว่าอัตราการผลิตของ Lockheed Martin มาถึงจุดสูงสุดและมีความเสถียรแล้ว ซึ่งจำนวนการผลิตแม้จะมาก แต่ถือว่ายอดสั่งซื้อในอนาคตที่ได้รับแล้ว และคาดว่าจะได้รับจะทำให้สามารถคงสายการผลิต F-35 ไปได้อีกมากกว่าสิบปีเลยทีเดียว
ซึ่งถ้าการลดค่าใช้จ่ายทั้งค่าจัดซื้อเครื่องบิน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการยังทำได้ต่อเนื่อง F-35 ก็อาจจะเป็นเครื่องบินที่เข้าใกล้สถิติเครื่องบินขับไล่สมัยใหม่ที่มียอดการผลิตสูงสุดของ F-16 ที่ 4,600 ลำก็เป็นได้ แม้ว่าสุดท้ายไม่น่าจะทำลายสถิติการผลิตของ F-16 ก็ตาม
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ทอ.ยัน ครม.อนุมัติ 1.38 หมื่นล้าน ซื้อเครื่องบินขับไล่ 4 เครื่อง