ศบค.เปิด 10 จังหวัดผู้ป่วยโควิด "ปอดอักเสบ" ครองเตียงมากสุด

สังคม
31 มี.ค. 65
14:22
10,081
Logo Thai PBS
ศบค.เปิด 10 จังหวัดผู้ป่วยโควิด "ปอดอักเสบ" ครองเตียงมากสุด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศบค.เปิดสถิติผู้ติดเชื้อ COVID-19 รักษาในโรงพยาบาล 62,747 คน เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 1,808 คน พร้อมเปิด 10 จังหวัดผู้ป่วยครอบเตียงมากที่สุด กทม.อันดับ 1 จำนวน 200 คน อัตราครองเตียง 36.10%

วันนี้ (31 มี.ค.2565) พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผอ.สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ผู้ช่วยรองโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)  เปิดเผยว่า ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ จาก RT-PCR 27,560 คน ATK 16,079 คน รวม 43,639 คน รวมป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 3,628,347 คน หายป่วยเพิ่ม 25,077 คน และเสียชีวิตเพิ่ม 85 คน 


ขณะที่ยอดผู้ป่วยรักษาอยู่ 246,770 คน เป็นผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล 62,747 คน รักษาในโรงพยาบาลสนามและอื่น ๆ 184,023 คน โดยเป็นผู้ป่วยอาการหนัก 1,808 คน ใส่เครื่องช่วยหายใจ 713 คน อัตราครองเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 29.5% 


10 จังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาในโรงพยาบาล

1.กรุงเทพมหานคร ผู้ป่วยปอดอักเสบ 200 คน ครอบเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 36.10%

2.นครราชสีมา ผู้ป่วยปอดอักเสบ 110 คน ครอบเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 33.10%

3.สมุทรปราการ ผู้ป่วยปอดอักเสบ 81 คน ครอบเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 47.10%

4.สงขลา ผู้ป่วยปอดอักเสบ 68 คน ครอบเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 65.70%

5.กาญจนบุรี ผู้ป่วยปอดอักเสบ 56 คน ครอบเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 39.80%

6.นนทบุรี ผู้ป่วยปอดอักเสบ 52 คน ครอบเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 47.30%

7.ชลบุรี ผู้ป่วยปอดอักเสบ 48 คน ครอบเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 38.10%

8.ระยอง ผู้ป่วยปอดอักเสบ 48 คน ครอบเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 10.90%

9.สุราษฎร์ธานี ผู้ป่วยปอดอักเสบ 47 คน ครอบเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 50.90%

10.นครศรีธรรมราช ผู้ป่วยปอดอักเสบ 45 คน ครอบเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 17.60%

 

โอมิครอน BA.2 กลายเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐฯ

ขณะที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 กลายเป็นไวรัสสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดในสหรัฐฯ แล้ว รายงานระบุว่า ไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยนี้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาจากความสามารถในการแพร่เชื้อที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสายพันธุ์โอมิครอนดั้งเดิม

นอกจากนี้ ไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 คิดเป็น 54.9% ของยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ในสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 26 มี.ค. ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 39% ในสัปดาห์ก่อนหน้า และ 27.8% ในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้า

ทั้งนี้ ไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 คาดว่าจะสามารถแพร่ระบาดได้มากกว่าไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม BA.1 ประมาณ 30%

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง