"กินเจ" ดันเงินสะพัด 4.5หมื่นล้าน ม.หอการค้าฯเผย ประชาชนยังระวังใช้จ่าย

เศรษฐกิจ
26 ก.ย. 67
18:07
10
Logo Thai PBS
"กินเจ" ดันเงินสะพัด 4.5หมื่นล้าน ม.หอการค้าฯเผย ประชาชนยังระวังใช้จ่าย
ม.หอการค้าไทย เผย เทศกาลกินเจปี 67 เงินสะพัด 45,003 ล้านบาท สูงสุดนับตั้งแต่เกิดโควิด ชี้คนระวังใช้จ่ายเงิน เหตุเศรษฐกิจไม่ฟื้น ขณะที่แจกเงิน 10,000 บาท ส่งผลต่อจีดีพี 0.2-0.3% สร้างเม็ดเงินเพิ่มขึ้น 2.5-4.5 หมื่นล้าน

วันนี้ (26 ก.ย.2567) นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผย ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจ ปี 2567 ว่า บรรยากาศกินเจปีนี้ มีความใกล้เคียงกับปีที่แล้ว คาดว่าปีนี้จะมีการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจ อยู่ประมาณ 45,003 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับปี 66 ที่มีค่าใช้จ่าย 44,558 ล้านบาท แต่ถือว่าสูงสุดนับตั้งแต่เกิดโควิด-19 เมื่อปี 2562

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

โดยจากผลสำรวจระหว่างวันที่ 17 - 23 ก.ย. จำนวนทั้งสิ้น 1,265 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า ประชาชนที่ตอบว่าไม่กินเจ อยู่ที่ 63.9% กินเจ 36.1% ซึ่งกลุ่มผู้กินเจ เป็นเพราะตั้งใจทำบุญ 20.2% ลดการกินเนื้อสัตว์ 17.0%

ส่วนไม่กินเจเป็นเพราะอาหารเจแพง 26.1% ไม่มีเชื้อสายจีน 23.6% เศรษฐกิจไม่ดี 12.1% โดยมีมูลค่าการเดินทางไปทำบุญเฉลี่ย 4,523.30 บาทต่อ 2-3 วันต่อทริป หรือทำบุญเฉลี่ย 2,081.61 บาทต่อคน

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า คนส่วนใหญ่ยังคงระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยอยู่ สะท้อนถงภาวะเศรษฐกิจที่มองว่ายังไม่ดีขึ้น แม้มีการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทเข้ามา แต่ไม่ได้ช่วยในช่วงเทศกาลกิจเจมากนัก เพราะกลุ่มผู้กินเจอาจยังไม่ได้รับเงิน 10,000 บาทนี้ โดยคนมองว่าเศรษฐกิจยังแย่กว่าปี 2566 รวมถึงเศรษฐกิจยังนิ่งๆ ทรงตัว และซึมลงกว่าเดิม

สำหรับด้านทัศนะต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและบัตรพิการ หรือเงิน 10,000 บาท สำรวจจากผู้ไม่ถือบัตร 80.2% ถือบัตร 19.8% ส่วนใหญ่เลือกเงินโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ 93.0%

โดยการใช้เงินจะแบ่งใช้หลายครั้ง 67.3% ใช้ให้หมดในครั้งเดียว 19.2% ไม่แน่ใจ 13.5% จะใช้ซื้อทองคำ/เพชร/อัญมณี 17.8% เครื่องใช้ไฟฟ้า 10.7% เครื่องมือสื่อสาร 8.8% สินค้าอุปโภคบริโภคเช่น อาหาร เสื้อผ้า 8.4% สินค้าวัตถุดิบเพื่อการเกษตรหรือการค้า 8.3%

กลุ่มคนที่รับเงินสด 10,000 บาท ส่วนใหญ่จะแบ่งใช้จ่ายเงินหลายครั้งโดยจะใช้จ่ายภายในระยะเวลา 3 เดือน เพื่อซื้อสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศเอง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณี และสินค้าอุปโภคบริโภค

ทั้งนี้ เงิน 10,000 บาทเฟสแรก มีจำนวนผู้ได้รับสิทธิ 14.5 ล้านคน วงเงิน 145,000 ล้านบาท จะส่งผลต่อจีดีพีปี 67 เพิ่ม 0.2%-0.3% เกิดการหมุนในระบบเศรษฐกิจ 2-3 รอบ สร้างเม็ดเงินเพิ่มขึ้น 2.5-4.5 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตามคาดว่าเศรษฐกิจไตรมาส 3 ขยายตัว 2.5-3% ไตรมาส 4 ขยายตัว 3.8-4.3% ครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวในกรอบเฉลี่ย 3-3.5% ทำให้ทั้งปี 2567 โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณ 2.6-2.8% มีโอกาสสูงขึ้น

 อ่านข่าว:

เร่งพื้น "เศรษฐกิจไทย" พาณิชย์ จับมือคนดังไฟล์ขายสินค้า

"กรุงศรีฯ" แนะลงทุนตราสารหนี้ลดเสี่ยง ชี้ตลาดทุนทั่วโลกยังผันผวน

แห่กดเงินสด 10,000 บาท ต่อลมหายใจ ซ่อมบ้าน - จ่ายค่าเทอมลูก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง