วันนี้ (8 พ.ย.2565) เกิดปรากฏการณ์ "จันทรุปราคา" โดยดวงจันทร์สีแดงอิฐมองเห็นได้ทุกภาคของประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก ได้แก่ ทวีปยุโรปตอนเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย ทวีปอเมริกาเหนือ บางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย ขั้วโลกเหนือ และบางส่วนของขั้วโลกใต้
สมาร์ทโฟนถ่ายภาพพระจันทร์สีเลือดผ่านกล้องโทรทรรศน์ระหว่างเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงในเมืองโกยาง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงโซล เกาหลีใต้
ประชาชนชมปรากฏการณ์ จันทรุปราคาเต็มดวง บนท้องฟ้าของกรุงโตเกียว
จันทรุปราคาเต็มดวง ที่ อนุสาวรีย์ในจัตุรัสซัลวาดอร์ เดล มุนโด ในเมืองซานซัลวาดอร์
สำหรับประเทศไทยสังเกตเห็น "จันทรุปราคาเต็มดวง" ได้ตั้งแต่เวลา 17.16 น. จนถึงช่วงไฮไลท์ประมาณ 18.40 น. ที่จะเห็นเป็น "ดวงจันทร์สีแดงเต็มดวง" หรือที่หลายคนเรียกว่า "พระจันทร์สีเลือด"
ลำดับการเกิดปรากฎการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในประเทศไทย
- 17.44 - 18.41 น. จันทรุปราคาเต็มดวง
- 18.41 - 19.49 น. จันทรุปราคาบางส่วน
- 19.49 - 20.56 น. จันทรุปราคาเงามัว
- 20.56 น. สิ้นสุดปรากฏการณ์
ขณะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงเมื่อแสงของดวงอาทิตย์ ผ่านบรรยากาศโลก แสงสีน้ำเงินที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าจะถูกบรรยากาศกระเจิงออกไปหมด เหลือแต่แสงสีแดงที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าหักเหไปตกกระทบบนผิวดวงจันทร์ จึงมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดง
จันทรุปราคา บริเวณเขตบางเขน ประเทศไทย
จันทรุปราคาเต็มดวง เหนือเมืองเชียงใหม่ ณ จุดชมวิวดอยสุเทพ ภาพ : NARIT_Thailand
@NARIT_Thailand เมืองนนทบุรี#จันทรุปราคา pic.twitter.com/9abhUTsgcP
— Bigmong_ (@hsalfa3) November 8, 2022
"จันทรุปราคา" เป็นปรากฎการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลาง เส้นผ่านศูนย์กลางของโลกใหญ่กว่าของดวงจันทร์ 4 เท่า
ดวงจันทร์ (ที่เล็กกว่า) จะค่อย ๆ เคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลก ทำให้เห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปทีละน้อย จนเข้าไปอยู่ในเงามืดทั้งดวง นั่นคือ "จันทรุปราคาเต็มดวง" ส่วนที่เห็นเป็นสีแดง เกิดจากแสงและการหักเหของแสง
NARIT เผยภาพปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงเหนือฟ้าเมืองไทย ขณะเกิดคราสเต็มดวง ดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏเป็นสีแดงอิฐ มีดาวยูเรนัสปรากฏอยู่ด้านขวา บันทึกภาพ ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา เวลาประมาณ 18:29 น.
ใครพลาดวันนี้ ต้องรอไปอีก 3 ปี จะได้ชมดวงจันทร์สีแดงอิฐทั้งดวงแบบนี้อีกครั้ง คือ วันที่ 8 ก.ย. 2568
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
3 เหตุผลที่ห้ามพลาด "จันทรุปราคาเต็มดวง" คืนลอยกระทง
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ไลฟ์สดปรากฏการณ์ “จันทรุปราคาเต็มดวง” คืนวันลอยกระทง