ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดกระเป๋าอุปกรณ์สำรวจภาคสนามนักธรณีวิทยา

ไลฟ์สไตล์
23 พ.ย. 65
12:53
1,189
Logo Thai PBS
เปิดกระเป๋าอุปกรณ์สำรวจภาคสนามนักธรณีวิทยา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

สำหรับนักธรณีวิทยา เปรียบเสมือนผู้บุกเบิกค้นพบอดีตจากซากฟอสซิลที่ถูกฝังอยู่ในชั้นหิน ทั้งซากกระดูกไดโนเสาร์ ซากหอย รอยตีน ซากนอติลอยต์ ผู้ค้นหาแหล่งแร่

แล้วมีใครรู้บ้างว่า เวลาออกภาคสนามเพื่อออกพื้นที่ พวกเขาพกอะไรไปบ้า ไทยพีบีเอสออนไลน์มีคำตอบ เปิดกระเป๋าอุปกรณ์การสำรวจภาคสนามนักธรณีวิทยา 

ค้อนธรณี

อาวุธคู่กายของนักธรณีวิทยาที่ไม่มีไม่ได้ เพราะการศึกษาหินโผล่ (outcrop) ต้องศึกษาเนื้อหินสด และเก็บตัวอย่างหินกลับไปศึกษาอย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการ โดยนักธรณีวิทยาจะใช้ค้อนธรณีด้านที่แบนแหลม ขุด ถาก งัด เจาะหิน และใช้ด้านที่ทู่ทุบหินให้แตกเป็นชิ้นๆ

เข็มทิศ

เข็มทิศที่นักธรณีวิทยาใช้นอกจากจะบอกทิศทางในการเดินทางแล้ว ยังมีความแตกต่างจากเข็มทิศทั่วไป ตรงที่สามารถวัดทิศทางการวางตัวของชั้นหิน และสามารถวัดความสูงและระบุตำแหน่งต่างๆ บนแผนที่ได้ แต่ปัจจุบันมักนิยมพก GPS ติดตัวด้วย เพราะสามารถกำหนดตำแหน่งได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น

แว่นขยาย

ใช้สำหรับศึกษาเนื้อหินที่มีเนื้อละเอียด โดยแว่นขยายช่วยขยายวัตถุขนาดเล็กให้ใหญ่ขึ้น ทำให้จำแนกชนิดและลักษณะหินแร่ได้ง่าย

สมุดโน๊ตขนาดเล็ก

ใช้บันทึกสิ่งที่พบเห็นตลอดการเดินทางเพื่อไม่ให้ลืมรายละเอียดที่สำคัญ ได้แก่วันที่ ตำแหน่งที่สำรวจ ชื่อหิน ลักษณะหิน ทิศทางการวางตัวและรูปวาดหินโผล่

แผนที่

แผนที่ที่นักธรณีวิทยาพกติดตัวเสมอมีทั้งแผนที่ภูมิประเทศที่แสดงชั้นความสูงต่ำในพื้นที่ ระบุพิกัดชัดเจนเพื่อไม่ให้หลงทาง และแผนที่ธรณีวิทยา (geologic map) ที่แสดงรายละเอียดการกระจายตัวของหน่วยหินต่างๆ ในพื้นที่พร้อมกับภาคตัดขวางแสดงโครงสร้างการวางตัวของหิน รวมถึงการลำดับอายุชั้นหิน ทั้งหมดนี้ช่วยให้นักธรณีวิทยาวางแผนก่อนการสำรวจได้ดี

ปากกาเคมี

ใช้จดวันที่ ตำแหน่งที่สำรวจ ชื่อหินตัวอย่าง

มีด

ใช้ฟันกิ่งไม้ ต้นไม้ขนาดเล็ก

เป้ใส่น้ำ อาหาร ตัวอย่างหิน

ใช้ใส่น้ำดื่ม เก็บอาหาร ตัวอย่างหิน และของจำเป็นอื่นๆ

กล้องถ่ายรูป

ใช้บันทึกภาพสถานที่และสิ่งต่างๆ ที่พบในภาคสนาม ซึ่งรูปถ่ายเป็นหลักฐานอ้างอิงในสิ่งที่พบ และง่ายต่อการจดจำ

ที่มาข้อมูล : https://www.geothai.net/geologic-tools/

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขุดอดีต “หอย-หิน” สู่อาชีพนักธรณี

รู้จัก “วาฬอำแพง” อายุ 3,380 ปี ฟอสซิลวาฬตัวแรก

ไขปริศนาอายุ “วาฬอำแพง” บ่งชี้ 3,380 ปีก่อน "บ้านแพ้ว" เป็นทะเล

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง