ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"เอ็งกอ" ตำนาน 108 นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งเขาเหลียงซาน

Logo Thai PBS
"เอ็งกอ" ตำนาน 108 นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งเขาเหลียงซาน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"เอ็งกอ" การแสดงที่สืบสานวัฒนธรรมจีน จากตำนาน 108 นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งเขาเหลียงซาน สู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม อุดรธานี

เมื่อตรุษจีนที่ผ่านมา ที่ศาลเจ้าพ่อพระเพลิง ตลาดพลู คณะเอ็งกอจากจังหวัดอุดรธานี ได้เปิดทำการแสดงที่มีชื่อว่า "เอ็งกอ" ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานจากประเทศจีน ด้วยการวาดลวดลายบนใบหน้าที่บ่งบอกถึงอาชีพและชนชั้น ที่เคยได้ร่วมกันต่อสู้กับความอยุติธรรมในสังคม โดยมีผู้เข้าร่วมการแสดงถึง 90 คน

สำหรับคณะเอ็งกอศาลเจ้าปู่-ย่า จังหวัดอุดรธานีนั้น วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2565 เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญ เนื่องจากจังหวัดอุดรธานีประกาศให้การแสดงชุด "เอ็งกอ" คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า จังหวัดอุดรธานี ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำจังหวัดอุดรธานี ด้านศิลปะการแสดง ประเภทนาฎศิลป์และการละคร ไทยพีบีเอส ออนไลน์ จึงอยากพาทุกท่านย้อนไปรู้จักกับจุดกำเนิดของ “เอ็งกอ” จนกลายมาเป็นการแสดงที่เป็นขวัญใจของคน จากรุ่นสู่รุ่น

ว่าที่ พันตรี ฉัตรวัชระ เสนะบุตร์ วัย 55 ปี ผู้ฝึกสอนนักแสดงเอ็งกอ เล่าให้ฟังว่า การแสดง “เอ็งกอ” คณะศาลเจ้าปู่-ย่า จังหวัดอุดรธานี ได้ถือกำเนิดมาพร้อมๆ กับการสร้างศาลเจ้าปู่-ย่า เมืองอุดรธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2488 แต่การแสดงอย่างเป็นทางการหรือการแสดงแบบเต็มรูปแบบ โดยมีการจัดเป็นขบวนเข้าร่วม กับขบวนการแห่เจ้าปู่-ย่า การแห่สิงโตนั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2498 หรือประมาณ 10 ปี หลังจากสร้างศาลเจ้าปู่-ย่า นับถึงเวลานี้ก็กว่า เกือบ 70 ปีแล้ว

คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี ในอดีต

คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี ในอดีต

คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี ในอดีต

ส่วนการก่อตั้งคณะ เอ็งกอ เริ่มต้นจากกรรมการศาลเจ้าปู่ย่า สมัยที่ 18 ได้มีมติก่อตั้งคณะเอ็งกอขึ้น เมื่อ พ.ศ.2511 โดยเชิญ อาจารย์ชาวจีนสองท่าน มาสอนให้ที่อุดรธานี โดยหนึ่งในนั้น คือ ท่าน คอซัว ได้วางรากฐาน การแสดง “เอ็งกอ” ที่ติดตัวท่านมาจากเมืองจีน ซึ่งเมื่อก่อนที่ท่านจะเดินทางมาลง หลักปักฐานที่จังหวัดนครสวรรค์ ท่านเคยเล่น “เอ็งกอ” มาก่อนที่เมืองจีน โดยบ้าน เกิดเดิมอยู่ที่หมู่บ้านโถ่วเกา อำเภอโผวเล้ง จังหวัดแต้จิ๋ว ประเทศจีน ซึ่งปัจจุบัน รูปแบบการแสดง “เอ็งกอ” จังหวัดอุดรธานี ก็ยังคงเอกลักษณ์การแสดงไว้ได้อย่าง สมบูรณ์เฉกเช่นเดียวกับในอดีต

การแสดง คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี

การแสดง คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี

การแสดง คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี

การแสดง คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี

การแสดง คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี

การแสดง คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี

การแสดง คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี

การแสดง คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี

การแสดง คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี

เอ็งกอ ถือกำเนิดขึ้นมาจากเหตุการณ์วีรบุรุษแห่งเขาเหลียงซาน ซึ่งเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่ง ที่สะท้อนให้เห็นความไม่มั่นคงทางการเมืองการปกครองจากเหล่าขุนนางที่ฉ้อฉล ทำให้เกิดวีรบุรุษที่เสียสละตนเข้าต่อสู่เพื่อผดงความยุติธรรมและรักษาไว้ซึ่งความถูกต้องให้กับสังคมจนเป็นเรื่องที่ได้รับการจารึกไว้ในแผ่นดิน โดยสันนิษฐานว่าเรื่องราวเกี่ยวกับผู้กล้าแห่งเขาเหลียงชานเขียนขึ้นโดยนักเล่านิทานสมัยซ่งใต้ และเป็นเค้าโครงสำคัญในการประพันธ์เรื่อง สุยหูจ้วนซึ่งเป็นนวนิยายเรื่องแรกในประวัติศาสตร์จีนที่สะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง และขี้ให้เห็นว่า ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อต้านสุยหู่จ้วน เกิดจากการประพันธ์ของ ขือไน่อัน โดยรวบรวมเรื่องราวของเหล่าผู้กล้าจากนิทานสู่วรรณคดียิ่งใหญ่ของจีนโดยผู้กล้าส่วนใหญ่ถูกบีบบังคับจากสังคมที่ไม่เป็นธรรม เก็บภาษีจากชาวบ้านอย่างหนัก และปิดบังความจริงจากฮ่องเต้ รวมทั้งอาศัยพระราชโองการหาผลประโยชน์ให้กับตัวเองและพรรคพวกจึงเกิดการรวมตัวกันของผู้กล้า ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการทหาร ขุนนาง คหบดี และชาวบ้าน เพื่อต่อต้านอำนาจอธรรมด้วยความกล้าหาญและความเพียร

การแสดง ในช่วงหนึ่งปี แบ่งเป็น สองประเภท ประเภทที่ 1 เป็นไปตามลักษณะประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยประเพณีวัฒนธรรมของชาวจีน โดยมีศาลเจ้า หรือมูลนิธิ (ที่มีเจ้าจีน)ส่งเทียบเชิญ, ประเภทที่ 2 เป็นลักษณะงาน event เช่น ร่วมเปิดงาน แสดงโชว์ก่อนเปิดงาน เป็นต้น โดยสมาชิกในคณะ เริ่มต้นน้อยสุด อายุ 7 ขวบ จนถึง อายุ 55 ปี

“เอ็งกอ” ในอนาคต ว่าที่ พันตรี ฉัตรวัชระ ได้คาดหวังว่า อยากนำศิลปะการแสดงนี้ ที่เป็นความภาคภูมิของชาวไทย ไปยังต่างประเทศ และจัดนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ในศูนย์วัฒนธรรมไทยจีนเพื่อสืบทอดการแสดงนี้ให้คงไว้ยาวนาน

ภาพ : คณะเอ็งกอ ศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง