วันนี้ (21 ก.พ.2566) นางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า แอมเนสตี้ ประเทศไทยได้ติดตามความคืบหน้าของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ที่จะมีกำหนดบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.พ.นี้มาโดยตลอดแต่การชะลอการบังคับใช้กฎหมายที่มีการผลักดันมามากกว่า 10 ปี และถือเป็นกฎหมายสำคัญที่นำไปสู่การป้องกันการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย
1.ประกาศการใช้พระราชบัญญัติทั้งฉบับโดยไม่มีการยกเว้นบางมาตรา เพื่อทำตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีต่อ อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน (CAT) อีกทั้ง ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการคุ้มครองบุคคล ทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (ICPPED) และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีอื่น ๆ (OP-CAT)
2.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำระเบียบหรือข้อกฎหมายย่อยในระดับกระทรวงเพื่อให้การ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเป็นไปตามกฎหมาย ติดตามการปฏิบัติของหน่วยงานต่าง ๆ อีกทั้ง ดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นในการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างถูกต้องสมบูรณ์และโดยเร็วที่สุด
3.การบังคับใช้จะต้องมีการประกาศ สื่อสาร และทำความเข้าใจกับสังคมในการเข้าถึงของกลไก มาตรการ และสิทธิที่ประชาชนมีภายใต้กฎหมาย ทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อันเป็นผลประโยชน์สูงสุดในการคุ้มครองและเติมเต็มสิทธิของประชาชน
ด้านนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ระบุว่า ตนเองเคยถูกจับกุมล่ามโซ่จากกรณีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติออก พ.ร.ก.เลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนที่ถูกกล่าวหา
แม่ “สยาม ธีรวุฒิ” ขอ อย่าเลื่อน พ.ร.บ.ป้องกันอุ้มหาย
นางกัญญา ธีรวุฒิ แม่ของสยาม ธีรวุฒิ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่สูญหาย ระบุว่า รู้สึกเสียใจเป็นอย่างมากที่มีการเลื่อนการบังคับใช้กฎหมาย พร้อมระบุว่า อย่าละเลยความสูญเสียของลูกชาย เพราะต้องหวั่นใจทุกวัน นอนไม่เคยหลับ ขอให้เห็นใจผู้สูญเสียและผู้เสียหายจากประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 ไม่ใช่มีแค่นายสยามคนเดียว แต่มีอีกหลายคน
พ.ร.บ.ป้องกันพร้อมทรมาน ใช้ 22 ก.พ. เว้นบางมาตรา
ขณะที่นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ขอบคุณภาคประชาชนที่ร่วมกันขับเคลื่อนการออกพระราชบัญญัติตัวนี้ เป็นเวลานานเกิน 10 ปีกว่าได้กฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้ สิ่งที่ภาคประชาชนสะท้อนอยู่ในหัวใจของกระทรวงยุติธรรมจะนำหนังสือเสนอต่อท่านรัฐมนตรีต่อไป
นายเกิดโชค ยังระบุอีกว่า ไม่ได้ยกเลิกกฎหมายทั้งฉบับแต่ยกเลิกให้บางมาตราเท่านั้น คือมาตรา 22-25 เป็นเรื่องของการบันทึกภาพของตำรวจและฝ่ายปกครองที่มีอำนาจเข้าไปจับ แต่มาตราอื่นบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.พ.นี้ตามปกติ
ส่วนมาตราที่เลื่อนออกไปนั้นเป็นอำนาจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ยังไม่มีความพร้อมในเรื่องของกล้องบันทึกภาพ ส่วนตัวหวังว่า ในวันที่ 1 ต.ค.หลังพระราชกำหนดเลื่อนออกไป จะมีความพร้อม