ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เช็กดัชนีความร้อนกระทบสุขภาพ - แพทย์แนะวิธีสังเกตอาการ

สังคม
21 เม.ย. 66
15:23
1,862
Logo Thai PBS
เช็กดัชนีความร้อนกระทบสุขภาพ - แพทย์แนะวิธีสังเกตอาการ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ค่าดัชนีความร้อนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แพทย์ แนะข้อสังเกตตัวเอง พร้อมต้องเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ชี้ดื่มน้ำเยอะๆ ช่วยให้ร่างกายมีพลังในการขับความร้อน

วันนี้ (21 เม.ย.2566) รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยกับไทยพีบีเอส ถึงสภาพอากาศร้อนที่พุ่งสูงสุดมากกว่า 54 องศาเซลเซียส ในวันนี้ 

อ่านข่าว : "เหนือ-อีสาน-กลาง" ร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุด 42 องศาฯ- กทม. 40 องศาฯ

ว่า อุณหภูมิภายในร่างกายคนปกติ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส ข้างนอกจะหนาวหรือร้อน แต่ร่างกายก็จะมีกลไกควบคุมอุณหภูมิ

ถ้าในร่างกายมีอุณหภูมิสูงไม่เกิน 42 องศาเซลเซียส ร่างกายก็ยังสามารถควบคุมได้ แต่ถ้าระดับอุณหภูมิในร่างกายสูงกว่านั้น ระบบเซลล์ในร่างกายเริ่มได้รับความเสียหายมากขึ้น ซึ่งถ้าความร้อนเข้าสู่ในร่างกายมากและไม่ยอมลด อาจจะนำไปสู่อากาศบาดเจ็บได้

สำหรับกลุ่มคนที่ต้องดูแลร่างกายเป็นพิเศษ คือ คนป่วยด้วยโรคทางสมอง กลุ่มเลือดทางเส้นเลือด ความดันสูง เบาหวานเด็กเล็ก และ ผู้สูงอายุ จะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีความไวที่ได้รับผลกระทบจากความร้อนภายนอกมากกว่าคนที่ร่างกายปกติ นอกจากนี้บุคคลที่อยู่กับที่ หรือผู้ป่วยติดเตียง ต้องมีคนช่วยเหลือ ญาติต้องดูแลเป็นพิเศษ

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ได้แนะนำจุดสังเกต ว่าถ้าร่างกายเริ่มรู้สึกร้อน อ่อนเพลีย มึนงงศีรษะ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกเหตุ เนื่องจากร่างกายขับความร้อนจนหมดแรงทำให้เกิดอาการดังกล่าว ถ้ารู้สึกมีอาการเหล่านี้ก็ต้องพาตัวเองก็มาจากจุดดังกล่าว และดื่มน้ำเยอะๆ 

แต่ทั้งนี้ความร้อนจากภายนอก ไม่ได้คงที่ตลอดเวลา ถ้ามีลมพัดความร้อนก็จะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอุณหภูมิสูงสุดจะเป็นแค่บางจุดบางเวลา ซึ่งร่างกายของคนเราก็จะปรับตัวได้ แต่ถ้าต้องไปอยู่ในสภาพอากาศที่นิ่งๆ ความร้อนเกิน 42 องศาเซลเซียส สถานที่อับ ไม่มีลม ร่างกายร้อนผ่าว เริ่มมึนงง ต้องรู้ตัวว่าเริ่มเข้าสู่ขั้นอันตราย

วิธีป้องกันสำหรับกลุ่มคนที่ต้องอยู่ในสภาพอากาศที่ไม่เปลี่ยนแปลงให้ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายมีพลังในการขับความร้อน ปรับระดับอุณหภูมิภายใน แต่ก็มีเวลาจำกัดที่ร่างกายทำงานได้ 

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ยังกล่าวว่า ในช่วงอากาศร้อน น้ำเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เมื่อเกิดกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง การเกิดลักษณะคล้ายตะคริว ซึ่งไม่ใช่เกิดจากร่างกายเสียน้ำอย่างเดียว แต่เกิดจากการเสียเกลือแร่ร่วมด้วย ดังนั้นการดื่มน้ำทดแทนต้องมีเกลือแร่ด้วย

ค่าดัชนีความร้อน

คืออุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้นว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร หรืออุณหภูมิที่ปราฏอยู่ขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยคำดัชนีความร้อนนั้นคำนวณมาจากค่าอุณหภูมิอากาศและค่าความชื้นสัมพัทธ์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อระบุความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนได้

  • ระดับเฝ้าระวัง ดัชนีความร้อน 27-32 องศาเซลเซียส ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นคืออ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อน ออกกำลังกายหรือทำงานกลางอากาศที่ร้อน ต่อมาคือระดับเตือนภัย (Alert)
  • ระดับเตือนภัย ดัชนีความร้อน 32-41 องศาเซลเซียส ผลกระทบ คืออาจเกิดตะคริวจากความร้อน และอาการเพลียแดด
  • ระดับอันตราย (Warning) ดัชนีความร้อน 41-54 องศาเซลเซียส ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็มีหลายพื้นที่ที่ต้องเตือนภัยระดับนี้ ผลกระทบ อาจเกิดตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือ Heat stroke แต่ที่เตือนภัยในวันนี้ 3 จุด
  • ระดับอันตรายมาก ดัชนีความร้อนมากกว่า 54 องศาเซลเซียส ผลกระทบต่อสุขภาพ อาจเกิดภาวะลมแดด ได้ ต้องหมั่นสังเกตอาการตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ควรลดกิจกรรมกลางแจ้ง หากจำเป็นควรสวมหมวก แว่นกันแดด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หากทำงานกลางแจ้งควรทำงานเป็นกลุ่ม จะได้ช่วยเหลือกันได้ หากมีใครไม่สบายขึ้นมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ใช่หรือไม่ ไทยเผชิญ “คลื่นความร้อน”

เม.ย.ร้อนจัด! ทุก 1 องศาฯ ที่เพิ่มขึ้นแอร์กินไฟเพิ่ม 3%

เตือน 21 เม.ย.นี้ ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดมากกว่า 54 องศาฯ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง