วันนี้ (28 พ.ค.2566) กรณีนักเรียนหญิงอายุ 19 ปีที่เตรียมเข้ามอบตัวเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย ตรวจร่างกาย และพบสารเมทแอมเฟตามีน โดยแม่ของหญิงคนดังกล่าว เชื่อว่า เป็นผลมาจากอาหารเสริมผิวขาวที่ซื้อมากิน จึงอยากให้มีการตรวจสอบ
ผู้ปกครองของนักเรียนอายุ 19 ปี ยืนยันว่าลูกสาวกินอาหารเสริมตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา วันละ 1 เม็ดก่อนนอน เชื่อว่าสาเหตุที่ตรวจพบสารเมทแอมเฟตามีน เป็นเพราะอาหารเสริมดังกล่าว ยืนยันว่าลูกสาวไม่เคยกินยาตัวอื่น
เอกสารผลตรวจร่างกายหญิง 19 ปีพบสารยาบ้า กังวลอดเข้าคณะเภสัชฯ
มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ (สสจ.) พร้อมด้วยกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สาธารณสุขอำเภอประโคนชัย และตำรวจ สภ.ประโคนชัย ได้เข้าตรวจสอบอาหารเสริม และจะส่งผลิตภัณฑ์ที่เหลือ พร้อมปัสสาวะของนักเรียนคนดังกล่าว ส่งไปยังศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 9 นครราชสีมา เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง คาดว่าจะต้องรอผลไม่เกิน 1 สัปดาห์ก่อน จึงจะสามารถสรุปได้ไม่น่าจะเกิน 1 สัปดาห์
สสจ.บุรีรัมย์ เก็บตัวอย่างส่งตรวจคาด 1 สัปดาห์รู้ผล
โรงงานผลิต ยันไม่มีการผสมเมทแอมเฟตามีน
ทีมข่าวไทยพีบีเอส ได้ติดต่อไปยังโรงงานที่ผลิตอาหารเสริมยี่ห้อหนึ่ง ที่มีการเผยแพร่ทางสังคมออนไลน์ว่า เป็นผลิตภัณฑ์เดียวกับที่ถูกอ้างถึงในข่าว โดยยืนยันว่า ในขั้นตอนการผลิต ไม่ได้มีการใส่สารเมทแอมเฟตามีน
โดยอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง ก่อนจะมีการชี้แจงอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ยอมรับว่า การเผยแพร่รูปภาพสินค้าทั้งที่ยังไม่มีการตรวจสอบทำให้ได้รับผลกระทบ
เภสัชกรตั้งข้อสังเกตผลบวกมาจากแหล่งอื่น
ขณะที่ไทยพีบีเอส สอบถามการผสมสารต่างๆ ในผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกันเภสัชกรสมพงษ์ อภิรมย์รักษ์ นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมาในผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวขาว ไม่เคยพบการผสมสาร "เมทแอมเฟตามีน" เพราะไม่ได้มีประ สิทธิภาพทำให้ผิวขาว และที่ผ่านมายังไม่พบว่า มีสารชนิดใดที่จะทำให้เกิดผลบวกลวงได้เลย
นอกจากนี้ ยังตั้งข้อสังเกตว่า ผลบวกที่พบอาจเกิดจากการใช้ยาชนิดอื่น เช่น ยาขยายหลอดลม ยาแก้คัดจมูก ยาทางจิตเวช ยาปฏิชีวนะบางชนิด และยากระเพาะอาหารรุ่นเก่า หรือ อาจเป็นความผิดพลาดของชุดตรวจปัสสาวะ ควรนำผลิตอาหารเสริมดังกล่าวไปตรวจสอบหาสารส่วนประกอบในห้องแล็ปอีกครั้ง
พวกนี้ไม่มีสูตรโครงสร้างที่ทำให้เกิดเป็นผลบวกลวง กับพวกเมทแอมเฟตามันได้เลย ต้องการว่ามีการใช้ยาแก้หวัด ยาด้านจิตเวช ยาแก้ภูมิแพ้ ที่อาจทำให้เกิดผลบวกลวงได้
เภสัชกร ชี้ยังไม่เคยพบสารเมทแอมเฟตามันในผลิตภัณ์อาหารเสริมผิวขวา
ขณะที่ รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสเฟซบุ๊ก ระบุข้อความ และภาพ กลูตาไธโอน (glutathione) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เซลล์ในร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์ได้เอง
สูตรโมเลกุลคนละตัวกันกับยาบ้า เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการตรวจวิเคราะห์ผิดพลาด มีสองอย่างคือผู้ประกอบการแอบใส่ยาบ้าหรือน้องเสพยาบ้า ความจริงมีหนึ่งเดียว พร้อมระบุว่า สามารถส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาให้ตนเองตรวจได้ด้วย