แค่ชั่วข้ามคืน ชื่อขององค์กรนักศึกษาแห่งชาติถูกตั้งคำถามอย่างหนัก เพราะบัตรลงประชามติจำลองว่าเห็นด้วยกับทำประชามติแยกตัวเป็นเอกราช ได้อย่างถูกตัองตามกฎหมาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเวทีเสวนาเรื่อง "สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองกับสันติภาพปาตานี" ตามมาด้วยการท่าทีของหน่วยงานด้านความมั่นคงที่ชี้ว่าการทำประชามติ หมิ่นเหม่ต่อการทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ
หากย้อนเส้นทางการเคลื่อนไหวของ องค์กรนักศึกษาแห่งชาติผ่านเว็บเพจของกลุ่ม พบว่า เพิ่งมีการรวมกลุ่มเมื่อปลายปีที่แล้ว หลังจากนั้นมีการแสดงออกถึงความคิดเห็นทางการเมือง สิทธิ และความเท่าเทียม ซึ่งในเวทีสัมมนาที่กลายเป็นข้อถกเถียง คือเวทีแรกที่เปิดตัวกลุ่ม
ยืนยันว่าไม่มีพรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง มาจากมติของกลุ่มนักศึกษาว่าระบบ โดยพรรคการเมืองที่มีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพ 3 พรรคนี้อาจจะตอบโจทย์ และมาคลี่คลายปัญหาและประเด็นที่ตั้งข้อสงสัยมายาวนาน
สองแกนนำกลุ่มองค์กรนักศึกษาแห่งชาติ เปิดใจกับไทยพีบีเอสโดยชี้ว่า การรวมตัวของพวกเขา มาจากแนวคิดที่คล้ายกัน คือต้องการเรียกร้องสิทธิที่เท่าเทียม และการแก้ปัญหาความรุนแรงโดยสันติวิธี
ยืนยันว่าไม่มีพรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง มาจากมติของกลุ่มนักศึกษาว่าระบบ โดยพรรคการเมืองที่มีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพ 3 พรรคนี้ อาจจะตอบโจทย์ และมาคลี่คลายปัญหาและประเด็นที่ตั้ง
ข้อสงสัยมายาวนาน
สองแกนนำกลุ่มองค์กรนักศึกษาแห่งชาติ เปิดใจกับไทยพีบีเอสโดยชี้ว่า การรวมตัวของพวกเขา เพราะแนวคิดที่คล้ายกันคือต้องการเรียกร้องสิทธที่เท่าเทียม และการแก้ปัญหาความรุนแรงโดยสันติวิธี
อยากสื่อสารกับสังคมคนปัตตานีมากกว่าในบริบทที่มีความขัดแย้ง และถ้ามีกระบวนการบางอย่างคลี่คลายคงวามขัดแย้ง เขาเห็นด้วยหรือไม่
การจัดกิจกรรมลงประชามติจำลอง เพียงแค่ต้องการทราบความคิดเห็นของคนทั่วไปว่าแนวทางที่จะยุติความรุนแรงแนวทางนี้เห็นด้วยหรือไม่ โดยไม่มีการเมืองอยู่เบื้องหลัง แม้หลายคนจะพยายามผูกโยงกับเรื่องส่วนตัว เพราะบางคนเป็นลูกหลาน หรือญาตินักการเมือง
หากย้อนมองตลอดความขัดแย้ง 19 ปีของความรุนแรงมีรอยร้าวลึกระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคง และกลุ่มเยาวชนมาโดยตลอด เช่นกลุ่ม P.N.Y.S ซึ่งเป็นกลุ่มกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ภาคใต้
ที่เคยถูกตรวจสอบกับข้อกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังม็อบชุมนุมหน้ามัสยิดกลางปัตตานี การเคลื่อนไหวของกลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเยาวชนปาตานี หรือ เปอร์มัส ที่ถูกเชิญตัวในข้อกล่าวหาเกี่ยวข้องกับเหตุรุนแรงหลายครั้ง ก่อนจะประกาศยุบกลุ่ม
หรือการรวมตัวของเยาวชนในการจัดกิจกรรมแต่งกายด้วยชุดมลายูถิ่นในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี นำมาซึ่งการตั้งคณะทำงานติดตามตรวจสอบกิจกรรมที่มีการบิดเบือนประวัติศาสตร์ของภาคประชาสังคมและด้านการเมือง ก่อนกองทัพภาคที่ 4 จะผ่อนปรนให้มีการจัดกิจกรรมได้ในปีนี้ ไม่นับรวมการเชิญตัวเยาวชนตามกฎหมายพิเศษหลายครั้งในหลายเหตุการณ์
การทำประชามติจำลอง จึงเป็นข้อขัดแย้งล่าสุดกับเยาวชน ทำให้นักวิชาการคณะวิทยาการอิสลาม กังวลว่า การเลือกใช้ยาแรงของรัฐต่อกรณีนี้ อาจเป็นการผลักให้เยาวชน หรือคนที่ต่าง กลับไปใช้ความรุนแรงในการต่อสู้
ตราบใดถ้าไม่สร้างความรู้สึกว่าคนที่คิดต่างว่าเขาอยู่ในประเทศชาตินี้ด้วยกัน จะทำให้เกิดความคลางแคลง และเกิดการต้องการแยกส่วนเพราะอยู่ก็ไม่มีสิทธิที่จะทำพูด
ผศ.อับดุลรอนิง สือแต นักวิชาการ คณะวิทยาการอิสลาม ม.อ.ปัตตานี ยอมรับว่าการทำประชามติครั้งนี้อาจผิดเวลา เพราะอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของรัฐบาล และเรื่องเอกราชยังเป็นประเด็นอ่อนไหวสำหรับสังคม
แต่ในกระบวนการสร้างสันติภาพ การเปิดพื้นที่ให้คนทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะกลุ่มผู้เห็นต่าง เป็นหนทางต่อสู้เชิงสันติวิธีที่ดีที่สุดแล้ว และแนวคิดในการกำหนดอนาคตตัวเอง จุดหมายปลายทางก็อาจไม่ใช่เอกราชเสมอไป เพราะแนวคิดนี้อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของความต้องการของคนที่นี้ทั้งหมด