วันนี้ (20 มิ.ย.2566) นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี แถลงความคืบหน้าเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.0 เมื่อเวลา 08.40 น.ที่ระดับความลึก 10 กม.บริเวณตอนเหนือของทะเลอันดามัน ประเทศเมียนมา ห่างจาก กทม. 490 กม. พบว่าเกิดจากการเคลื่อนตัวของแนวรอยเลื่อนสะกาย ในเมียนมา ตามแนวระนาบแบบเหลื่อมขวา ซึ่งมีอัตราการเคลื่อนตัวประมาณ 2 ซม.ต่อปี
อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวอีกว่า สำหรับรอยเลื่อนสะกาย เคยก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีตเมื่อปี พ.ศ.2473 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขนาด 7.3 และทำให้มีผู้เสียชีวิตในเมียนมามากกว่า 500 คน
ในรอบ 50 ปีช่วง 2516-2566 เกิดแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนสะกาย ทั้งหมด 668 ครั้ง ขนาด 2.9-7.0 ครั้งใหญ่สุดรอบ 50 ปีขนาด 7.0 เมื่อวันที่ 5 ส.ค.2534 ที่เมือง Mogok ในมัณฑะเลย์
อ่านข่าวเพิ่ม รู้จัก "สะกาย" รอยเลื่อนต้นเหตุแผ่นดินไหว 8.0 ในอดีตมีพลังแรงสุด
อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และกรมอุตุนิยมวิทยา แถลงความคืบหน้าแผ่นดินไหว 6.0
รอยเลื่อนสะกายมีโอกาสแผ่นดินไหวขนาด 7.5
นางอรนุช สำหรับกรณีที่คนกทม.นนทบุรี และปทุมธานี โดยเฉพาะตึกสูงตั้งแต่ชั้น 10 ขึ้นไปจะรับรู้แรงสั่นสะเทือน เนื่อง กทม.ตั้งอยู่บนชั้นดินเหนียวอ่อน (ดินเหนียวกรุงเทพ) สามารถขยายคลื่นแผ่นดินไหวให้แรงขึ้นได้อีก 3-4 เท่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวระยะไกล ทำให้คนบนตึกสูงรับรู้ถึงการสั่นไหว
นอกจากนี้สำหรับแผ่นดินไหวในทะเลขนาด 6.0 ไม่ทำให้เกิดสึนามิ แต่ในอนาคต 5-10 ปีรอยเลื่อนสะกายอาจทำแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ได้อีก เพราะยังเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง
แผ่นดินไหวขนาด 7.5 จะเสี่ยงระดับ 4 ทำให้แค่ปูนแตกร้าว แต่จะไม่กระทบโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ เพราะอาคารส่วนใหญ่จะใช้ค่าความเร่งในการออกแบบอาคารที่สูงกว่า
นายธนิต ใจสะอาด หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า ขณะนี้มีการกำหนดให้อาคารในกทม.ต้องออกแบบรองรับแผ่นดินไหว โดยกำหนดความรุนแรงสูงกว่าความเสี่ยงที่กำหนด เนื่องจากดินอ่อนในกทม.ที่มีการขยายคลื่นความเร่งแผ่นดินไหว ดังนั้นถ้าออกแบบตามที่กฎหมายกำหนดจะมีความปลอดภัย อาจจะร้าวเสียหายแต่ไม่ถึงกับพังลงมาทั้งหลัง
ส่วนอาคารเก่าในกทม.ก่อสร้างก่อนปี 2550 ที่กฎหมายกำหนด ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้เก็บข้อมูลว่ามีกี่แห่ง แต่เท่าที่ทราบมีอยู่ประมาณ 100 แห่งที่เข่าข่าย
อ่านข่าวเพิ่ม เปิดสถิติ 10 ครั้งหลังสุดแผ่นดินไหวในไทย "ภาคเหนือ" บ่อยสุด
ธนิต ใจสะอาด หน.ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง ระบุอาคารสร้างหลังปี 2550 กำหนดให้อาคารในกทม.ต้องออกแบบรองรับแผ่นดินไหว
ชี้โอกาสเกิดสึนามิแนวรอยเลื่อนมีน้อย
สำหรับโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนสะกาย บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร ที่เฝ้าระวังกันว่าถ้าเกิดแผ่นดินไหวขนาดนี้ อาจเกิดสึนามิกระทบต่อจังหวัดทางฝั่งทะเลอันดามันนั้น โอกาสเกิดสึนามิน้อยมาก
เนื่องจากแผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับรอยเลื่อน Sagaing Fault ในทะเลอันดามัน รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนว N-S แผ่นดินไหวมีกลไกแบบ Strike-slip moment จึงมีโอกาสทำให้เกิดสึนามิน้อยมาก ๆ ถึงไม่มีโอกาสเลย เพราะเป็นรอยเลื่อนแบบ Strike-slip moment และแผ่นดินไหวสูงสุดที่เคยเกิดคือ 6.8
ขณะเดียวกัน แผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับรอยเลื่อน Andaman Back-Arc Spreading Center และ Transform fault รอยเลื่อนเหล่านี้อยู่ทิศตะวันออกของหมู่เกาะ Andaman islands เนื่องจากบริเวณนี้สัมพันธ์กับการเกิดแอ่งในทะเลอันดามัน แผ่นดินไหวในบริเวณนี้จึงมีกลไกแบบ Normal และ Strike-slip moment
อ่านข่าวเพื่ม ระทึก! แผ่นดินไหวเมียนมาขนาด 6.0 ตึกสูงกทม.-นนทบุรี สั่นไหว
ส่วนโอกาสเกิดสึนามิจากแผ่นดินไหวในบริเวณที่เกิดแอ่งใหม่ (Back-Arc Spreading zone) นี้มีไม่มากนัก ถึงแม้รอยเลื่อนจะเป็นแบบ normal moment แต่ขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดที่เคยเกิดคือขนาด 5.6 หากเกิดสึนามิน่าจะเป็น Local tsunami ไม่ส่งผลกระทบกับประเทศไทย
ขณะที่โอกาสเกิดสึนามิจากแผ่นดินไหวในบริเวณ Transform fault ที่มีแนวการวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ มีโอกาสน้อยมาก ๆ ถึงไม่มีโอกาสเลย เพราะเป็นรอยเลื่อนแบบ Strike-slip moment และขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดที่เคยเกิดคือ ขนาด 6.5
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง