ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ผู้ว่าฯแม่ฮ่องสอน เปิดแนวทางช่วยเหลือผู้หนีภัยสู้รบในเมียนมา

ภูมิภาค
23 มิ.ย. 66
12:18
497
Logo Thai PBS
ผู้ว่าฯแม่ฮ่องสอน เปิดแนวทางช่วยเหลือผู้หนีภัยสู้รบในเมียนมา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผู้ว่าฯแม่ฮ่องสอน เผยระบบจัดการผู้หนีภัยสู้รบในเมียนมาเข้ามายังชายแดนไทยเมียนมา พร้อมดูแลปัจจัย 4 และระบบสาธารณสุข

จากกรณีการสู้รบในรัฐคะเรนนี ประเทศเมียนมา ตรงข้าม จ.แม่ฮ่องสอน จนทำให้ขณะนี้มีผู้อพยพลี้ภัยสงคราม เดินทางเข้าไทยมาเป็นจำนวนมาก

ทาง จ.แม่ฮ่องสอน ฝ่ายความมั่นคง และหน่วยงานด้านการช่วยเหลือเร่งสร้างที่พักบนพื้นฐานของหลักมนุษยธรรมและจำเป็นต้องจัดระบบภายในศูนย์ให้เหมาะสม หลังผ่านมากว่า 1 สัปดาห์

นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน

นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน

นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน

นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าฯแม่ฮ่องสอน เปิดเผยแนวทางการจัดระบบจัดการผู้หนีภัยสู้รบ กับ ไทยพีบีเอส ดังนี้ 

ให้ความช่วยเหลือกับผู้หนีภัยสู้รบ อย่างไรบ้าง ? 

เชษฐา : ให้การช่วยเหลือบนพื้นฐานของหลักมนุษยธรรม และเพื่อความปลอดภัย ผู้ที่หลบหนีภัยจากจากการสู้รบในเมียนมา เข้ามาดินแดนประเทศไทย จ.แม่ฮ่องสอน เป็นผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง ซึ่งหลบมาเพราะพื้นที่ที่เขาอาศัยอยู่นั้นมีการยิงสู้รบกัน

ส่วนหนึ่งเป็นผู้สูงอายุ และเด็กเป็นส่วนใหญ่ โดยหอบลูกจูงหลานกันมาเข้ามาบริเวณตามแนวตะเข็บชายแดน ซึ่งต้องช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม จัดพื้นที่ปลอดภัยและเหมาะสมให้อยู่ โดยคำนึงให้ไม่ส่งผลกระทบกับคนไทยและสามารถควบคุมดูแลได้

รวมถึง การดูแลเรื่องปัจจัย 4 ทั้ง อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค โดยที่อยู่อาศัยจะก่อสร้างโดยใช้วัสดุในพื้นที่เป็นหลัก เช่นไม่ไผ่ ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างมั่นคง มีลักษณะเป็นหลังและคลุ่มมให้เป็นระบบ หลังคาทำจากผ้าเต้นท์ พื้นที่นอนยกสูง เพื่อป้องกันแมลง รวมถึงมีผ้าห่ม มุ้ง

ขณะที่ อาหารส่วนใหญ่มาจากกาชาดแม่ฮ่องสอน รวมถึงยารักษาโรค นอกจากนี้มีการจัดระบบสุขอนามัย ทั้งน้ำอุปโภคและบริโภค ระบบสุขา การจัดการน้ำเสีย และที่ทิ้งสิ่งปฏิกูลและขยะให้เป็นสัดส่วน

รวมถึง มีการฉีดพ่นยากันยุง เนื่องจากชายแดนมียุงชุกชุม ทั้งนี้เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคเท้าช้าง โดยหน่วยงานสาธารณสุขจะเข้าไปดูแลเป็นระยะป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดและเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบคนไทย

ขณะนี้ ยา เวชภัณฑ์ และแพทย์เพียงพอหรือไม่ ?

เชษฐา : เบื้องต้นยังเพียงพออยู่ โดยวันแรก จะจัด 2 จุด มีทั้งหมด 4,000 คน เโดยสริมกำลังเข้าไปในด้านความมั่นคง ดูแลด้านการจัดระบบการแจกจ่ายอาหาร เครื่องนุ่งห่ม จัดกำลังไปเสริม รวมถึงด้านสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์จัดเข้าไปเสริม ณ วันนี้ 4,000 คนยังดูแลเพียงพออยู่

ดูแลผู้ป่วยไข้มาลาเรีย อย่างไรบ้าง ?

ผู้หนีภัยที่ป่วยโรคมาลาเรียจะให้ยารักษา มีการตั้งเต้นท์พยาบาลมีบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความรู้การฉีดพ่นยาป้องกันไม่ให้ขยายหรือระบาดเพื่อป้องกันด้วย หากอาการหนักก็จะส่งไปรักษากับแพทย์ต่อไป

ชุดเครื่องนอน หมอนมุ้ง เพียงพอหรือไม่ ?

เชษฐา :  ขณะนี้เพียงพอ แค่ถ้ามีเข้ามาอีกก็อาจต้องขอรับบริจาคเสริมจากประชาชน NGO เอกชน ซึ่งก็เข้ามาช่วยเหลือโดยตลอด

ระบบน้ำอุปโภค บริโภค เพียง พอหรือไม่ ?

เชษฐา :  ในระยะยาวมีความกังวลเนื่องจากจะต้องใช้ทรัพยาการจำนวนมาก ซึ่งต้องพูดคุยหารือกันและหาแหล่งน้ำมาเพิ่ม รวมถึงอาหาร ซึ่งเวลานี้ยังเพียงพอแต่มากกว่านี้ คงต้องหารืออีกครั้ง

ขณะที่ การจัดระบบ บ้านเสาหิน อ.แม่สะเรียง และ บ้านพะเข่ อ.ขุนยวม มีจัดระบบ โดยจัดตั้งเป็นโซน เมื่อมีสิ่งของได้รับบริจาคจะมีหัวหน้ากลุ่มทำหน้าที่แจกจ่ายสิ่งของอุปโภคและบริโภค

 

ทั้งนี้ สัดส่วนผู้อพยพมีแนวโน้มลดลง มีผู้เดินทางเข้ามาราว 10 - 20 คน ต่างจากช่วงแรกที่เดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมาก

ยอดผู้หนีภัยความไม่สงบในเมียนมา ขณะนี้มีจำนวน 4,071 คน อาศัยในพื้นที่ปลอดภัย 2 จุด ใน บ้านเสาหิน อ.แม่สะเรียง จำนวน 3,226 คน และ บ้านพะเข่ อ.ขุนยวม จำนวน 815 คน

หากสถานการณ์ยืดเยื้อ ต่อไป จะดำเนินการอย่างไร ?

เชษฐา : ผู้หนีภัยสู้รบเดินทางเข้ามาเพื่อความปลอดภัย  เมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่ความสงบ ก็จะแจ้งให้เดินทางกลับ ในช่วง 1-2 สัปดาห์ ยังไม่อาจประเมินได้จบสิ้นหรือไม่

สถานการณ์ปัจจุบัน จากติดตามของฝ่ายทหาร ยังมีการสู้รบกันในเมียนมา ระยะห่างจากชายแดนประมาณ 5 - 6 กม. ซึ่งขณะนี้ยังไม่ปลอดภัย และยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ผู้อพยพยังเดินทางเข้าไทยต่อเนื่อง หลังครบ 1 สัปดาห์เหตุสู้รบในเมียนมา 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง