วันนี้ (13 ก.ค.2566) เมื่อเวลา 11.00 น. นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล อภิปรายในสภาระบุว่า การเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา พรรคก้าวไกลเสนอนายพิธา เป็นแคนดิเดตนายกฯ และได้เสียง 312 เสียงจาก 8 พรรค ต้องได้ขึ้นเป็นนายกฯ ตามครรลองปกติของรัฐสภา เรื่องควรเรียบง่าย แต่บรรยากาศที่เกิดขึ้นตลอด 2 เดือน จนถึงวันนี้ทำให้มีคำถามดังๆจำนวนนับล้านคนที่กำลังเฝ้าดูการประชุมรัฐสภา
หากนายกฯ คนใหม่ ไม่เป็นไปตามผลการเลือกตั้งแล้ว จะมีการเลือกตั้งทำไม ตกลงอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือเป็นของใคร และมีคำถามว่าตกลงประชาชนอยู่ตรงไหน ในระบอบประชาธิปไตย
บรรยากาศการประชุมรัฐสภา เพื่อโหวตนายกรัฐมนตรี
นายชัยธวัช กล่าวอีกว่า คำถามในใจเหล่านี้สะท้อน และมีนัยอย่างไรกับสังคมและบ้านเมือง คำถามในทำนองนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เราผ่านการเลือกตั้ง และรัฐประหารมา 2 ครั้งผ่านการยุบพรคการเมือง ผ่านการชุมนุมมานับไม่ถ้วน มีผู้ดำเนินคดีจำคุกบาดเจ็บนับร้อยจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ไม่รู้ว่าจะยุติเมื่อไหร่
อ่านข่าวเพิ่ม ประชุมสภา : "เพื่อไทย" เสนอ "พิธา" เป็นนายกฯ ไร้พรรคอื่นเสนอแคนดิเดตนายกฯแข่ง
ทั้งนี้ การผ่านเหตุการณ์มา 2 ทศวรรษ แต่สังคมไทยยัง ยังไม่หาคำตอบที่พวกเรายอมรับได้ ตราบใดที่ยังไม่หาคำตอบได้ สังคมไทยจะหยุดนิ่ง จมดิ่งในวังวนเดิม มองไม่เห็นอนาคตไปอีกนาน
ในฐานะผู้แทนราษฎร ในฐานตัวแทนของพรรคก้าวไกล เห็นการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะเริ่มต้นแสวงหาคำตอบครั้งใหม่ให้สังคมไทย และสมาชิกหลายคนอาจไม่เห็นด้วยกับพรรคก้าวไกล และกังวลกับการเปลี่ยนแปลง มีข้อกล่าวหามากมาย
สะท้อนจากคำอภิปรายขอขง 2 ท่านแรกว่าจะพรรคพยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัญ และเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือไม่ หรืออทำให้สถาบันพระมหากษัติรย์ ไม่เป็นสถาบันหลักของชาติอีกหรือไม่ เจตนาที่แท้จริงในการเสนอ ม.112 ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายนโยบาย และประเด็นที่อยากกล่าวเอาไว้
ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอใดๆ ของพรรคก้าวไกล อยู่บนฐานความคิดว่าสถาบันหลักของชาติ หรือสถาบันการเมืองใดๆ จะดำรงอยู่ได้ด้วยความยินยอม พร้อมใจของประชาชน ไม่มีสถาบันใดที่ดำรงอยู่ได้ด้วยการกด ปราบ บังคับ
"พิธา" แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
นี่เป็นการเตือนให้สติจากทั้งในสภา ส.ส.และสังคมไทย และผู้มีอำนาจทุกฝ่าย ขอให้ตั้งให้มองการไกลเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และเล็งเห็นให้ได้ว่าากุศโลบายใดที่จะรักษาสิ่งที่เรารัก และหวงแหนในสังคมที่มีพลวัตตลอดเวลา และไม่เชื่อว่า สิ่งใดๆ จะดำรงอยู่ สถิตและมั่นคงอยู่ได้ อีกทั้งการมองไปไกลถึงขั้นว่าการลงมติให้นายพิธา จะเป็นการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตรย์ เป็นการล้มล้าง
พวกผมพยายามบอกว่า พระมหากษัตรย์ ต้องอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง และต่างฝ่ายจะรวมความผูกพันทางการเมือง เราพยายามเสนอว่าต้องช่วยกันนำสถาบันพระมหากษัตริย์ออกจากความขัดแย้งทางการเมือง และใครจะรับผิดชอบจากผลกระทบนี้
อย่างไรก็ตาม อยากจะเชิญชวนให้ลงมติให้พิธา เป็นนายกฯ เหตุผลไม่ใช่เพราะรัก พิธา ไม่ใช่เพราะเห็นชอบเห็นด้วยกับพรรคก้าวไกลแต่การลงมติเพื่อคืนความปกติให้กับระบบรัฐสภาของไทย และแสดงความเคารพต่อประชาชนเพื่อให้โอกาสครั้งใหม่กับสังคมไทยและลงมติเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการหาคำตอบแห่งยุคสมัยให้ได้
และขออวยพรให้ประชาชนที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในระบอบประชาธิปไตย คุ้มครองสมาชิกรัฐสภาที่จะตัดสินใจอยางกล้าหาญตามเจตนารมณ์
เกาะติดการเลือก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยทาง ไทยพีบีเอส หมายเลข 3 และ ทางออนไลน์ www.thaipbs.or.th/live
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประชุมสภา : เริ่มแล้ว! "วันนอร์" ลั่นทำหน้าที่ประชุมรัฐสภาเป็นกลาง โหวตนายกฯ