เทศบาลนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ มีปริมาณขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นวันละ 320-340 ตัน โดยภายหลังจากการคัด แยกขยะประเภทต่างๆ จะมีขยะมูลฝอยที่ต้องนําไปกําจัดเฉลี่ย 290 ตัน/วัน ซึ่งมีการจัดการขยะแยกตามประเภท ดังนี้
• ขยะมูลฝอยทั่วไป จะส่งไปกําจัดโดยวิธีฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล
• ขยะมูลฝอยประเภทของเสียอันตราย ได้มีการจัดวางภาชนะทิ้งของเสียอันตรายไว้ตามจุดต่างๆ บริเวณ โดยรอบเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งแต่ละปีจะมีการรวบรวมของเสียอันตราย ได้จํานวน 25 ตัน/ปี และนําไปกําจัดโดยโรงงานที่ได้รับอนุญาต
• ขยะติดเชื้อ ใช้วิธีการจัดการโดยการทําลายเชื้อด้วยไอน้ำ มีปริมาณขยะติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายในเขต เทศบาลนครเชียงใหม่ประมาณ 5 ตัน/วัน จากสถานพยาบาลสถานประกอบการเวชกรรมจํานวน 400 กว่า แห่ง โดยเทศบาลฯสามารถจัดการขยะติดเชื้อได้วันละ 1.5 ตันอีกส่วนหนึ่งโรงพยาบาลขนาดใหญ่ สามารถดําเนินการในเตาเผาของตนเอง
• ขยะอินทรีย์ มีปริมาณขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นประมาณ 8-10 ตัน/วัน แต่ที่สามารถนํามาผลิตปุ๋ยหมักได้ มีประมาณ 3-5 ตัน/วัน กระบวนการผลิตปุ๋ยหมักของเทศบาลนครเชียงใหม่ อ้างอิงจากวิธีการทําปุ๋ยหมัก แบบไม่พลิกกลับกองสูตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งใช้เวลาการหมักประมาณสามเดือน หลังจากได้ปุ๋ยหมัก แล้ว จะนําไปบรรจุใส่กระสอบขนาดเล็ก น้ําหนักประมาณ 5 กิโลกรัม เพื่อแจกจ่ายไปยังชุมชน โรงเรียน รวมถึงหน่วยงานราชการต่างๆ
นายจิโรจน์ โรจนเสาวภาคย์ รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ระบุว่า ได้ต่อยอด โดยการนําปุ๋ยหมักที่ผลิตได้ มาปรับปรุงคุณภาพดิน ในการทําสวนเกษตร อินทรีย์ ผลผลิตที่ได้นําไปแจกจ่ายให้แก่ชุมชน และพัฒนาพื้นที่สวนเกษตรให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน
ปัจจุบันเทศบาลนครเชียงใหม่ มีแปลงเกษตรสาธิตอยู่สองแห่ง คือ สวนผัก ร.9 ใน บริเวณสวนหลวงล้านนา ร.9 ขนาดพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ และสวนผักคนเมืองเชียงใหม่ ในบริเวณสุสานช้างคลาน ขนาดพื้นที่ประมาณ 2 ไร่
ด้านการจัดการวัสดุใช้แล้วที่มีขนาดใหญ่ เช่น การจัดการยางรถยนต์โดยการนําไปทําเป็นกระถาง ปลูกต้นไม้ ทําเป็นชุดเก้าอี้ของตก ของตกแต่งภายในสถานที่การซ่อมแซมวัสดุใช้แล้ว เช่น โต๊ะ เก้าอี้ให้แก่โรงเรียน ในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่
การนําวัสดุใช้แล้วกลับมาใช้อีกครั้ง เช่น รับบริจาคที่นอนใช้แล้ว ที่ยังคงมี สภาพดี ใช้การต่อได้ นํามาทําความสะอาดฆ่าเชื้อ และนําส่งให้แก่ผู้ที่มีความต้องการ เช่น กลุ่มผู้เปราะบาง ในชุมชน และศูนย์ผู้พักพิงคนไร้บ้าน
นายพฤกษ์ อักกะรังสี ผู้อำนวยการศูนย์จัดการขยะชีวมวล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า ปัจจุบันมีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่หากมีความเข้าใจและบริหารจัดการที่ดีสามารถนำไป ใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะขยะ RDF หรือเชื้อเพลิงขยะที่สามารถนําไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม ชุมชน หรือเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน
ปัจจุบันขยะในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ ถูกส่งไปกำจัดไกลถึงพื้นที่ อ.ฮอด ระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร ทำให้มีต้นทุนกระบวนการจัดเก็บสูง แบ่งเป็นค่าขนส่ง 200 บาทต่อตัน รวมกับค่าจัดเก็บขยะอีก 700-800 บาทต่อตัน
ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นว่าการจัดการปัญหาขยะอย่างได้ผล ต้องเริ่มตั้งแต่การคัดแยกขยะจากครัวเรือน ขยะที่รีไซเคิลได้จะถูกแยกไปใช้ประโยชน์ ส่วนขยะที่เหมาะสมเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าจะถูกส่งให้ยังโรงไฟฟ้า จึงจะทำให้กำจัดขยะได้รวดเร็ว และลดต้นทุนค่าขนส่ง