ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ชวนมองท้องฟ้าเดือน ส.ค.2566 ชม 4 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์

Logo Thai PBS
ชวนมองท้องฟ้าเดือน ส.ค.2566 ชม 4 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ชวนมองท้องฟ้า เดือน ส.ค.2566 กับ 4 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ฝนดาวตกในวันแม่ - ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก - ดาวเสาร์ใกล้โลก - ซูเปอร์บลูมูน"

วันนี้ (4 ส.ค.2566) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (สดร.) ชวนชม 4 ปรากฏการณ์ ดาราศาสตร์ เดือน ส.ค.2566

ฝนดาวตกวันแม่

ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ (ฝนดาวตกวันแม่) คืนวันที่ 12 - รุ่งเช้า 13 ส.ค. มีอัตราการตกสูงสุด 100 ดวง/ชั่วโมง ศูนย์กลางการกระจายตัวอยู่บริเวณกลุ่มดาวเพอร์เซอิดส์ สังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น. ของวันที่ 12 ส.ค. จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 13 ส.ค. ไม่มีแสงจันทร์รบกวน หากฟ้าใสไร้ฝน แนะนำนอนชมในพื้นที่มืดปราศจากแสงเมือง

ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก

ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 วันที่ 16 ส.ค. เวลา 12.22 น. ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นโลก หากสังเกตวัตถุกลางแดดจะดูเสมือนไร้เงา เนื่องจากเงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี และอาจไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุด ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นร่วมด้วย ดูข้อมูลการเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉากทั้ง 77 จังหวัดในประเทศไทย ได้ที่นี่

ดาวเสาร์ใกล้โลก

ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี คืนวันที่ 27 ส.ค. ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ส่งผลให้ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 1,310 ล้านกิโลเมตร ในวันดังกล่าวเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จะเริ่มสังเกตดาวเสาร์ได้ทางทิศตะวันออก ปรากฏสุกสว่าง สังเกตได้ยาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า สามารถชมได้ทุกภูมิภาคทั่วไทย

ซูเปอร์บลูมูน

ซูเปอร์บลูมูน (Super Blue Moon) คืนวันที่ 30 - รุ่งเช้า 31 ส.ค. 2566 ชม 2 ปรากฏการณ์ของดวงจันทร์ ได้แก่

ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) หรือ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ปีนี้มีระยะห่างจากโลกประมาณ 357,334 กิโลเมตร

บลูมูน (Blue Moon) หรือ ดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน ปกติแล้วในหนึ่งเดือนจะเกิดดวงจันทร์เต็มดวงเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่บ่อยนักที่จะเกิดขึ้นสองครั้ง ครั้งล่าสุดคือเมื่อวันที่ 31 ต.ค.2563

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญ "ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี" ในคืนวันที่ 27 ส.ค. และ "ซูเปอร์บลูมูน" ในคืนวันที่ 30 ส.ค.ตั้งแต่เวลา 18.00 - 22.00 น. ณ จุดสังเกตการณ์หลักทั้ง 4 แห่งของ สดร. ได้แก่

  • อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา สงขลา และฉะเชิงเทรา

นอกจากนี้ยังสามารับรับชมไลฟ์สดปรากฏการณ์ได้ทางเฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 

อ่านข่าวอื่น ๆ

ปรากฏการณ์เกาะความร้อน มุมมองจากอวกาศ

ยานโอไซริส-เร็กซ์ ปรับวงโคจร เตรียมยิงตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยกลับโลก

ฮับเบิลศึกษาดาวเคราะห์ AU Mic b ที่ชั้นบรรยากาศกำลังระเหยหายไป

"SWOT" ดาวเทียมสำรวจแหล่งน้ำจืดดวงแรกของโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง