ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ทวงย้อนหลัง 46 ปี “ค่าเวนคืนที่ดิน” ขยายถนนนครศรีธรรมราช

ภูมิภาค
27 ส.ค. 66
10:44
3,056
Logo Thai PBS
ทวงย้อนหลัง 46 ปี “ค่าเวนคืนที่ดิน” ขยายถนนนครศรีธรรมราช
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทายาททวงกรรมสิทธิ์ค่าเวนคืนที่ดินเมื่อ 46 ปีก่อน หลังแขวงทางหลวงนครศรีฯ ที่ 1 ขอขยายถนน และพบว่าแขวงฯ ยังค้างค่าเวนคืนครั้งก่อนทั้งหมด 23 ราย กระทั่งเจ้าของเสียชีวิตไปแล้วกว่า 20 ราย ขณะที่สำนักงานที่ดินฯ พร้อมออกเอกสารสิทธิ์ให้

ทายาทผู้สูงอายุ เจ้าของที่ดินริมถนนบ้านหมนเหนือ ต.ท่าเรือ อ.เมืองนครศรีธรรมราช ลุกขึ้นมาทวงสิทธิ์ค่าเวนคืนที่ดิน ตั้งแต่ปี 2520 หลังแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ขอใช้พื้นที่ขยายผิวจราจร

จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับเงิน และความจริงถูกเปิดเผย เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากแขวงทางหลวง มีความจำเป็นต้องการขยายพื้นที่เพิ่ม กลับพบว่าชื่อกรรมสิทธิ์ผู้ครอบที่ดินยังเป็นของชาวบ้าน กรณีนี้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งหมด 23 คน ปัจจุบันยังเหลือชีวิตเพียง 3 คน

ยายเทียม อาชาฤทธิ์ 1 ใน 3 ผู้ถือครอบครองที่ดิน ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ จากจำนวน 23 คน รวมที่ดินทั้งหมด 25 แปลง ที่เคยถูกแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 เจรจาขอเวนคืนที่ดินเพื่อขยายถนน บริเวณบ้านหมนเหนือ หมู่ 15 ต.ท่าเรือ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี 2520 หรือ เมื่อ 46 ปีก่อน

ชาวบ้านร้องเรียนแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ค้างจ่ายค่าเวนคืนทำถนน 46 ปี

ชาวบ้านร้องเรียนแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ค้างจ่ายค่าเวนคืนทำถนน 46 ปี

ชาวบ้านร้องเรียนแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ค้างจ่ายค่าเวนคืนทำถนน 46 ปี

ในส่วนผู้ที่ถูกรื้อถอนบ้านรวมถึงยายเทียม มีการจ่ายเงินค่าเวนคืนแล้วเสร็จตั้งแต่สมัยนั้น คงเหลือเพียงค่าเวนคืนที่ดินติดกับริมถนน เฉลี่ยคนละ 1 งานเศษที่ยังตกค้าง การติดตามความคืบหน้าเพื่อทวงถามสิทธิ์ของตัวเองในสมัยนั้น ทำได้เพียงเดินทางไปสอบถามจากผู้นำท้องถิ่นอย่างผู้ใหญ่ แต่ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ จนข่าวคราวเงียบหายไปกับกาลเวลา

กระทั่งปี 2563 แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราช ที่ 1 เตรียมดำเนินการปรับถนนทางหลวงหมาย 408 ตอนหัวถนน-เฉลิมพระเกียรติ เพราะตลอดหลายปี ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้รถว่า ถนนบริเวณดังกล่าว เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจาก พื้นถนนมีความลาดเอียงไม่ได้มาตรฐาน ไม่รับโค้ง จึงมีความจำเป็นต้องการขยายผิวถนนออกไปอีก 6 เมตร

เมื่อเจ้าหน้าที่แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราช ที่ 1 ลงพื้นที่สำรวจพบว่า ที่ดินทั้งหมดยังอยู่ในการครอบครองของชาวบ้าน ยังไม่มีการโอนให้อยู่ในการดูแลของแขวงทางหลวงแต่อย่างใด จึงเกิดคำถามจากทายาท ของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว รวม 20 คน จึงสอบถามความจริงจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทั้ง 3 คน
สภาพถนนซึ่งชาวบ้านร้องเรียนว่า แขวงทางหลวงใช้ที่ดินก่อสร้าง แต่ยังไม่จ่ายค่าเวนคืน

สภาพถนนซึ่งชาวบ้านร้องเรียนว่า แขวงทางหลวงใช้ที่ดินก่อสร้าง แต่ยังไม่จ่ายค่าเวนคืน

สภาพถนนซึ่งชาวบ้านร้องเรียนว่า แขวงทางหลวงใช้ที่ดินก่อสร้าง แต่ยังไม่จ่ายค่าเวนคืน

นายภราดร อมรลักษณ์ ตัวแทนชาวบ้านหมนเหนือ เล่าว่า เมื่อทายาทผู้ครอบครองสิทธิ์ที่ดินรับทราบความจริง เริ่มการเคลื่อนไหวค้นหาหลักฐาน ทวงสิทธิ์ค่าเวนคืนให้กับบรรพบุรุษที่ควรจะได้ เพราะตลอดระยะได้กันพื้นที่ไว้ให้แขวงทางหลวง ไม่มีชาวบ้านคนใดเข้าไปใช้ประโยชน์

จากนั้นมีการนำเรื่องเข้าร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรม จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งชาวบ้านเองต่างได้รับความมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามได้เกิดคำถามหลายประเด็นต่อกรณีนี้ว่า ทำไมตอนนั้นเวนคืนแล้วไม่ได้เงิน และปล่อยให้เวลาล่วงเลยมานานกว่า 40 ปี

นายภราดร เล่าต่อว่า ขณะนั้นผู้ใหญ่บ้าน นำเงินมาให้ชาวบ้าน เฉพาะค่าย้ายบ้าน และค่าต้นไม้เท่านั้น ส่วนค่าเวนคืนที่ดินผู้ใหญ่บ้านบอกว่า แขวงทางหลวงจะจ่ายให้ตอนมาทำถนน ซึ่งกว่าจะมาทำถนน 4 เลน เมื่อช่วงปี 2551-2552 หรือ 32 ปีผ่านไป โดยได้รับการบอกเล่าหรือยืนยันจากยายเทียม ตาเรียบ และตาเคลื่อน เจ้าของที่ดินเพียง 3 คน ที่ยังมีชีวิต

แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ค้างจ่ายค่าเวนคืนทำถนน 46 ปี

แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ค้างจ่ายค่าเวนคืนทำถนน 46 ปี

แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ค้างจ่ายค่าเวนคืนทำถนน 46 ปี

รวมถึงกรณีการเพิกถอนที่ดินที่ถูกเวนคืนแล้ว ทำไมจึงไม่มีโฉนดใบใหม่ เพราะที่ดินทั้งหมดยังไม่ถูกเวนคืน ที่ดินยังเป็นชื่อเจ้าของเดิมทั้งหมด บางรายถือครอง สค.1 นส.3 และบางรายไม่มีเอกสารสิทธิ์ (ซึ่งข้อพิรุธนี้เตรียมยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป)

ส่วนข้อสงสัยที่ว่า ผ่านมาตั้งแต่ปี 2520 ทำไมจึงไม่รู้ความจริงที่รู้ตอนนี้ เพราะอะไร เนื่องจากรุ่นลูก และหลานของทุกคน รู้แต่เพียงว่า หน้าบ้านของตัวเองเป็นของแขวงทางหลวง มาโดยตลอด เพิ่งมารู้ความจริง เมื่อปี 2561

เนื่องจาก ยายเทียมต้องการโอนที่ดินด้านหลัง ซึ่งมีโฉนด เป็นแปลงที่แบ่งแยกจากทางหลวงให้ลูกชาย แต่เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินลงตรวจสอบมีการแจ้งว่า ที่ดินอีกแปลงตั้งอยู่ด้านหน้ายังเป็นของยายเทียม ลูกชายจึงไปติดต่อแขวงทางหลวง

ถนนซึ่งชาวบ้านร้องเรียนว่า แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราช ที่ 1 ใช้ที่ดินก่อสร้าง แต่ยังไม่จ่ายค่าเวนคืน

ถนนซึ่งชาวบ้านร้องเรียนว่า แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราช ที่ 1 ใช้ที่ดินก่อสร้าง แต่ยังไม่จ่ายค่าเวนคืน

ถนนซึ่งชาวบ้านร้องเรียนว่า แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราช ที่ 1 ใช้ที่ดินก่อสร้าง แต่ยังไม่จ่ายค่าเวนคืน

มีการติดตามเรื่องอยู่หลายครั้ง แต่ไม่มีความคืบหน้า และที่ทุกคนมารู้ความจริงอีกครั้ง เมื่อกำลังจะมีโครงการปรับปรุงถนน เมื่อปี 2563 ชาวบ้านจึงขอให้แขวงทางหลวงชี้แจงว่า ที่ดินทั้ง 25 แปลงนี้ มีสถานะอย่างไร ซึ่งตอนนี้มีเอกสารรับรองว่า ยังไม่ได้รับเงินค่าเวนคืนที่ดินทั้ง 25 แปลงนี้ จากแขวงทางหลวง และสิทธิ์ครอบครองที่ดินทั้งหมด ยังเป็นของชาวบ้าน

ขณะเดียวกันชาวบ้านได้รับการชี้แจงว่า แขวงทางหลวงจะมีการปรับปรุงถนนเข้ามาในที่ดินอีก 6 เมตร ชาวบ้านจึงรวมตัวกันคัดค้าน และเมื่อเรื่องถึงศาลปกครองนครศรีธรรมราช แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 จึงยอมแก้ไขแบบในสัญญาจ้าง แต่ยังค้างเรื่องค่าเวนคืนที่ดิน

ตุลาการศาลปกครองแจ้งให้แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ทราบว่า จะต้องจัดการเรื่องค่าเวนคืนที่ดินให้ชาวบ้านให้เรียบร้อย ภายในปี 2565 ถ้าไม่เรียบร้อยให้ชาวบ้านมาฟ้องใหม่ จวบจนเวลาล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบัน

ขณะนี้แขวงทางหลวงพร้อมจ่ายเงินค่าเวนคืน แต่ติดที่สำนักงานที่ดินนครศรีธรรมราช ยังไม่สามารถออกโฉนดได้ และชาวบ้านไม่รู้ว่าติดปัญหาอะไร ทั้ง ๆ ในที่ประชุมล่าสุด 21 เม.ย.2566 ที่ผ่านมา ขณะที่ตัวแทนของสำนักงานที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช แจ้งว่า สามารถออกโฉนดที่ดินได้โดยเร็ว เพื่อให้ชาวบ้านจะนำไปรับเงินค่าเวน จากแขวงทางหลวง

สำหรับพื้นที่ 1 งานเศษ (100 ตารางวา เศษ) ชาวบ้านได้รับเงินค่าเวนคืน เฉลี่ยคนละ 3-5 แสนบาท และแขวงทางหลวงพร้อมชดเชย โดยมีกำหนดระยะเวลา หลังยื่นเรื่องชาวบ้านจะได้รับเงินค่าเวนคืนภายใน 2-3 เดือน

แต่ยังเกิดความล่าช้า เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ ยังถือครองเอกสารสิทธิ์ สค.1 และ นส.3 ก เพราะเมื่อยกที่ดินให้แขวงทางหลวงแล้ว จึงไม่ได้ไปยื่นขอออกโฉนดบนพื้นที่ดังกล่าวแต่อย่างใด

รายงาน : กวีวงศ์ ธีระกุล ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง