ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไขคำตอบ! คดีรุกป่าเขาใหญ่นักการเมืองรอด อุทยาน-ป.ป.ช.ลุยต่อ

สิ่งแวดล้อม
22 ก.ย. 66
12:36
1,011
Logo Thai PBS
ไขคำตอบ! คดีรุกป่าเขาใหญ่นักการเมืองรอด อุทยาน-ป.ป.ช.ลุยต่อ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไขคำตอบ! คดีนายสุนทร-กนกวรรณ วิลาวัลย์ 2 พ่อลูกรอดคดีบุกรุกป่าเขาใหญ่ เหตุไม่มีเจตนารู้เห็นกับการออกเอกสารสิทธิ แต่กรมอุทยานฯ-ป.ป.ช.ยังลุยต่อเอกสารสิทธิได้มาโดยมิชอบหรือไม่

วันนี้ (22 ก.ย.2566) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวลา 13.00 น. นายสุนทร วิลาวัลย์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี (อบจ.) จะชี้แจงรายละเอียดด้วยตัวเอง หลังศาลอาญาคดีทุจริตประพฤติมิชอบภาค 2 ศาล มีคำพิพากษายกฟ้องนายสุนทร  นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ อดีตรมช.ศึกษาธิการ พร้อมพวกรวม 10 คน คดีถูกกล่าวหาว่าบุกรุกป่าเขาใหญ่ โดยคำพิพากษาระบุว่าชี้ไม่มีเจตนา และไม่ใช่ผู้สนับสนุนกระทำความผิด

อ่านข่าว ยกฟ้อง! สุนทร-กนกวรรณ คดีบุกรุกป่าเขาใหญ่

นายสุนทร วิลาวัลย์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี

นายสุนทร วิลาวัลย์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี

นายสุนทร วิลาวัลย์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี

แนวทางสู้คดีรุกที่เขาใหญ่ 

สำหรับคำพิพากษาดังกล่าวเป็น 1 ในคดี ที่นายสนุทร และนางกนกวรรณ ต่อสู้ หลังจากที่ครอบครองที่ดินที่ถูกออกเอกสารสิทธิในช่วงปี 2536-2545 และเมื่อเริ่มปรับสภาพที่ดิน ในปี 2563 ก็ได้กลายมาเป็นจุดเปลี่ยนของการตรวจสอบที่สำคัญที่ครั้งนั้น มีหน่วยงานรัฐหลายส่วนเข้าไปตรวจสอบ ทั้งอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กอ.รมน. รวมทั้งป.ป.ช.

นายอรรถพล เจริญชันษา รกษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า  นับตั้งแต่เข้าไปตรวจสอบคดีบุกรุกอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่ศาลพิจารณาเมื่อวาน เป็นกรณีเจตนากับการบุกรุก ที่ดิน 2 แปลง ที่มีเนื้อที่ 11

ส่วนอีก 12 ไร่ ซึ่งคดี 11 ไร่ อยู่ในชั้นอัยการสูงสุด ส่วนคดี 12 ไร่ หยุดการสอบสวน ในชั้นพนักงานสอบสวน ซึ่งกรมอทุยานฯ และป.ป.ช. ตรวจสอบการได้มาซึ่งเอกสารสิทธิโดยมิชอบ และเอาผิดกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่ามีเจตนาในการกระทำผิดหรือไม่อย่างไร แต่ปลายทางของคดีก็คือ มันทับซ้อนกับเขตอุทยาน ต้องเพิกถอนโฉนด เพื่อเรียกคืน

สิ่งที่ศาลพิจารณาเมื่อวานคือ ผู้ต้องหาไม่มีเจตนารู้เห็นกับการออกเอกสารสิทธิ แต่เอกสารสิทธิผิดหรือถูก ตรงนี้ศาลไม่ได้เอ่ยถึงเท่ากับว่าคดีบุกรุก ยังเดินหน้าต่อไม่ว่า พ่อลูก นักการเมือง จะไม่มีเจตนา เพื่อให้ที่ดินของรัฐกลับคืนมา

แต่ถามว่า ในเมื่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการออกแนวเขตก็ถูกระบุว่าไม่มีเจตนา แล้วจะมีผลกับความถูกต้องของแนวเขตด้วยหรือไม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงแนวเขตในช่วงที่ผ่านมา ก็ตามมาด้วยการออกเอกสารสิทธิ

อ่านข่าว กางที่ดิน! "สุนทร-กนกวรรณ วิลาวัลย์" ริมทางขึ้นเขาใหญ่

คงต้องรอให้ถึงที่สุดก่อน เชื่อว่าทางป.ป.ช.คงจะมีการอุทธรณ์ และรวบรวมหาเอกสารเพิ่มเติม และคงต้องต่อสู้กันต่อไป

นายอรรถพล กล่าวว่า จากนี้ไปกรมอุทยานฯ จะหารือกับ ป.ป.ช. โดยเฉพาะการยืนยันเรื่องแผนที่เขตอุทยานแนบท้ายพระราชกฤษฎีการประกาศแนวเขตที่ดิน และภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อยืนยันการใช้ประโยชน์ที่ดินก่อนประกาศเขตอุทยาน และเอกสารสิทธิ เพื่อเป็นอีกหนึ่งหนทางพิสูจน์ถึงเจตนาในการกระทำผิดด้วย

รวมไปถึงการทำแนวเขต ต้องคุยกัน และรวบรวมข้อมูลพยานหลัก ต้องตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่รับรองไป และแก้ไขแนวเขตจนทำให้ออกโฉนด ทำโดยทุจริตหรือไม่ เพราะถ่ายทอดมาจากพระราชกฤษฎีการประกาศแนวเขตที่ดินว่าถูกตามหลักวิชาการหรือไม่

อ่านข่าว"กนกวรรณ" ไม่ต้องลาออก- จี้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดในเขาใหญ่ 

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการ ป.ป.ช.

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการ ป.ป.ช.

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการ ป.ป.ช.

ป.ป.ช.ยังไม่ชัดอุทธรณ์เพิ่มได้หรือไม่

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวถึงกรณีที่ศาลอาญาทุจริตประพฤติมอชอบ ภาค 2 ยกฟ้องนายสุนทร และนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ 2 พ่อลูกในคดีรุกป่า ป.ป.ช. จะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ว่าจะต้องนำคำพิพากษามาวินิจฉัยในการยื่นอุทธรณ์ ซึ่งมีกรอบระยะเวลาตามกฎหมายต้องหยิบยกประเด็นในคำพิพากษามาชี้ให้เห็นถึงเหตุผล

โดยเฉพาะเจตนาว่ารู้หรือไม่รู้ว่ามีการบุกรุกที่อุทยาน เช่นอยู่ในแนวเขตอุทยานหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องฟัง ซึ่งการพิสูจน์ของ ป.ป.ช.ใช้ระบบ GPS ในการวิเคราะห์ สอดคล้องกับข้อมูลของกรมอุทยานฯ ที่ยืนยันว่าเป็นที่ของกรมอุทยาน ยืนยันว่าไม่ล่าช้า

เมื่อถามว่ากรณีที่ศาลระบุว่า ป.ป.ช. ไต่สวนโดยมิชอบจะส่งผลกระทบหรือสะท่อนต่อการทำงานของ ป.ป.ช. อย่างไรบ้าง เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ตามที่ศาลมีคำพิพากษาว่าโดยมิชอบต้องดูว่าไม่ไม่ชอบอย่างไร เป็นประเด็นหรือไม่ที่มีการกล่าวหาทั้ง 2 คนเนื่องจากศาลจะต้องพิจารณาตามคำร้องที่ได้ยื่นไป

ส่วนการวินิจฉัยจะต้องดูพยานหลักฐานว่าอะไรบ่งชี้ว่า ป.ป.ช. ไต่สวนไม่ชอบ ซึ่งมีหลายคดีที่มีคำพิพากษาในลักษณะนี้ โดยยกตัวอย่างคดีศาลอาญาทุจริตฯ มีคำพิพากษาว่า ป.ป.ช. ไปยัดเยียดข้อ กล่าวหามาตรา 147 เนื่องจากคดีใกล้ขาดอายุความ ซึ่งป.ป.ช. ต้องพิจารณาว่าคำพิพากษาเช่นนี้มีเหตุผล และพยานหลักฐานอะไร ทุกอย่างต้องถูกตรวจสอบได้

ลั่นไม่แพ้ตรวจสอบคดีรุกป่า-ไม่ปรักปรำใคร 

ขณะเดียวกันยอมรับว่าคำพิพากษาอาจมีผลกระทบต่อหน่วยงานอื่น ส่วนตัวเห็นว่าจะต้องมีความชัดเจนว่าประเด็นไหน หลักฐานคืออะไร สำคัญที่สุดต่างก็ทำงานในกระบวนการยุติธรรมเหมือนกัน และเห็นว่าเป็นสิทธิของผู้ต้องหา เป็นสิทธิของทุกคน ที่จะฟ้องร้องหากเห็นว่าการทำงานของ ป.ป.ช.เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือเป็นการทุจริต

ปัจจุบันผู้เสียหายสามารถฟ้องโดยตรงต่อศาลคดีอาญาทุจริตได้ ซึ่งผลจากการทำงานของ ป.ป.ช. ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ แต่ขอให้มีหลักฐาน ยืนยันว่าการทำสำนวนในคดีนี้รอบคอบแน่นหนา

พร้อมกันนี้ได้ถามกลับว่านักข่าวได้ลงพื้นที่ไปทำข่าวได้เห็นสภาพจริงหรือไม่ หรือวิญญูชนที่ไปดูสภาพป่า ตรงนั้นจะเห็นได้ว่าเป็นป่าหรือไม่ หรือเป็นพื้นที่ทำการเกษตรมาก่อน

วันนี้จะต้องดูตามข้อเท็จจริง ป.ป.ช.ทำงานเพื่อเรียกร้องทรัพยากรธรรมชาติกลับคืนมาเป็นของแผ่นดิน ทำงานอย่างนี้ ไม่ต้องไปปรักปรำหรือใส่ร้ายใคร

เลขาธิการ ป.ป.ช. ระบุว่าแรงสะท้อนกลับมาทำให้ ป.ป.ช. เข้มแข็งขึ้น และจะต้องตรวจสอบว่ามีความบกพร่องอะไร ยังขาด แต่ไม่มีวันแพ้ เพราะเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ เพราะสร้างองค์กรนี้ให้มาทำงานกับผู้มีอิทธิพลหรือนักการเมืองที่ทำไม่ชอบ ไม่ถูกต้อง ยืนยันจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

เมื่อถามว่าคดีรุกป่าของนางกนกวรรณที่อยู่ในชั้นพิจารณาของ ป.ป.ช. อีกเรื่อง คำพิพากษาจะส่งผลต่อการทำงานให้ ป.ป.ช. ต้องเข้มงวดมากขึ้นหรือไม่ว่า ต้องดูข้อเท็จจริงที่ศาลตัดสินหรือรอคำพิพากษา หากทำมาพิจารณาอาจนำไปอุดช่องโหว่ ในการทำทุกคดีของ ป.ป.ช. มีความมั่นคง

"ป.ป.ช." ลงดาบ "กนกวรรณ" รุกป่าเขาใหญ่-ฟันผิดจริยธรรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง