วันนี้ (25 ก.ย.2566) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวถึงกระ บวนการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎรว่า จะต้องรอการรับแจ้งจากพรรคก้าวไกล ที่มีการประสานแจ้งผลการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
จากนั้น เมื่อมีการรับรองผลการเลือกตั้งกรรมการบริหารชุดใหม่ ก็จะมีการแจ้งมายังสภาฯ และสภาจะประกาศแต่งตั้ง เพื่อนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง โดยจะทำโดยเร็วที่สุด
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา
รอ"ปดิพัทธ์" เคาะเลือกผู้นำฝ่ายค้าน-รองประธานสภาฯ
ขณะนี้อยู่ที่การตกลงกันระหว่างนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ที่เป็น สส.ของพรรคก้าวไกล ว่าจะได้ข้อสรุปอย่างไรกับพรรค ว่าจะเลือกตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน หรือตำแหน่งรองประธานสภาฯ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เชื่อว่าทางนายปฏิพัทธ์ และพรรคก้าวไกล จะดำเนินเรื่องให้มีความเรียบร้อย
ประธานรัฐสภา ยืนยันว่าทางสภาจะปฏิบัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่หากจะมีการวิพากษ์วิจารณ์พรรคกเาวไกลเรื่องการใช้เทคนิคด้านกฎหมายเพื่อรักษาเก้าอี้ตำแหน่งรองประธานสภาไว้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนรัฐบาลจะยอมรับได้หรือไม่ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล
นายวันมูหะมัดนอร์ นายนายปดิพัทธ์ ทำหน้าที่รองประธานสภาฯ คนที่ 1 สามารถทำหน้าที่ได้อย่างดี และร่วมมือกับประธานสภา และรองประธานสภาอีกท่านหนึ่งเป็นอย่างดี
ถ้าสมมุติว่าการจะดำรงตำแหน่งรองประธานสภาคนที่ 1 ต่อไปอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับนายปดิพัทธ์ และแนวทางของพรรคก้าวไกลในฐานะ สส. พรรคประชาชาติ ในกรณีดังกล่าวหากเป็นไปตามกฎหมาย สภาก็จะต้องปฏิบัติตาม
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1
นายวันมูหะมัดนอร์ ยังกล่าวถึงประมวลจริยธรรมของ สส.หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เป็นไปตามสากล กรณี น.ส.พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองว่า เป็นเรื่องประมวลจริยธรรมที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
โดยจะต้องปฏิบัติตามหากเป็นความบกพร่อง หรือเป็นเรื่องที่จะต้องมีการแก้ไขจะต้องแก้ไขที่รัฐธรรมนูญโดยเฉพาะมาตราที่ว่าด้วยประมวลจริยธรรม ซึ่งไม่ได้บังคับใช้กับผู้หนึ่งผู้ใด แต่จะเหมาะสมหรือไม่เป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญที่ได้มีการร่างและประกาศใช้ไว้แล้ว
ทั้งนี้ในฐานะประธานสภาฯ กล่าวถึงการประชุมสภาประจำสัปดาห์ จะมีการเพิ่มวันประชุมในเดือนต้น ต.ค.นี้ ในวันศุกร์ จากเดิมที่ประชุมทุกวันพุธ และพฤหัสบดี เนื่องจากต้องมีการพิจารณากฎหมาย หลาย 100 ฉบับที่ต้องพิจารณา ส่วนการทำประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรี ที่จะต้องนำเสนอต่อรัฐสภา
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
แกนนำก้าวไกล "ชัยธวัช-พิธา" โชว์วิสัยทัศน์-โรดแมปการเมือง
"เศรษฐา" เล็งตั้งกก.สอบ "บิ๊กโจ๊ก" ปมเว็บพนัน-ปัดโยงตั้งผบ.ตร.