ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดค่าใช้จ่ายครัวเรือนคนไทย

เศรษฐกิจ
7 ต.ค. 66
16:47
4,313
Logo Thai PBS
เปิดค่าใช้จ่ายครัวเรือนคนไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“เงินเฟ้อ”ทำเหตุ ค่าใช้จ่ายครัวเรือนพุ่ง แต่ยังต่ำกว่ากลุ่มอาเซียน พาณิชย์ชี้รายจ่ายต่อเดือนลดลงเล็กน้อยจากมาตรการช่วยค่าครองชีพของรัฐบาล ขณะที่ราคาเนื้อสัตว์มีแนวโน้มลงต่อเนื่อง

หลังๆจะเริ่มเห็นคนพูดถึงเงินเท่าเดิมแต่ซื้อของแพงขึ้น หรือซื้อสินค้าได้ปริมาณเท่าเดิมแต่ราคาแพงขึ้น ซึ่งคิดต้องทำความเข้าใจว่าเงินเฟ้อ คือค่าดัชนีชี้วัด ค่าของเงินในกระเป๋าที่เรามีอยู่ว่ามีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าค่าเงินเฟ้อเป็นบวกมากๆ ก็แสดงว่าเงินในกระเป๋ามีค่าน้อยลงตาม อำนาจจับจ่ายก็น้อยไปด้วย

บรรยากาศใช้จ่ายของประชาชน

บรรยากาศใช้จ่ายของประชาชน

บรรยากาศใช้จ่ายของประชาชน

ยกตัวอย่างเช่น เรามีเงิน 100 บาท เมื่อก่อนสั่งข้าวกระเพราหมูไข่ดาว จานละ35บาทแต่ปัจจุบันต้นทุนวัตถุดิบในการปรุงอาหารเพิ่มขึ้น ข้าวกระเพราหมูไข่ดาว จานละ45บาท นั้นหมายความว่า เงิน100บาทของเรายังเท่าเดิมแต่การจ่ายกลับเพิ่ม ซึ่งส่งผลให้กำลังซื้อลดลงตาม

กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไปเพื่อวัดอุณภูมิทางเศรษฐกิจโดยรวม เพราะยิ่งค่าเงินเฟ้อสูงแสดงว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมาก

บรรยากาศจับจ่ายของประชาชน

บรรยากาศจับจ่ายของประชาชน

บรรยากาศจับจ่ายของประชาชน

หมายความว่า รายได้อีกฝากหนึ่งของกระเป๋าเงินก็เข้ามาได้มากและแน่นอนก็จ่ายมากตามไปด้วยดังนั้น การดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงไป หรือต่ำไป จนเป็นเงินฝืด คือ ค่าเงินเฟ้อติดลบเกิน 6 เดือนนั้น เป็นสิ่งจำเป็น

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป)เงินเฟ้อถึงจุดสูงสุดแล้ว และน่าจะทรงตัวและปรับตัวลดลงโดยเดือนก.ย.66 เงินเฟ้อเพิ่มร้อยละ 0.30 ซึ่งเป็นการชะลอตัวลง

สาเหตุมาจากมาตรการลดราคาดีเซล ค่าไฟฟ้า และสินค้ากลุ่มอาหารปรับลดลงร้อยละ 0.10 เป็นครั้งแรกในรอบ 23 เดือน ส่งผลให้ เงินเฟ้อเฉลี่ย 9 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-ก.ย.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.82

สินค้าอุปโภคบริโภค

สินค้าอุปโภคบริโภค

สินค้าอุปโภคบริโภค

อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ (ข้อมูลล่าสุดเดือนสิงหาคม 2566) พบว่า ประเทศไทยยังอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และยังคงต่ำที่สุดในอาเซียน จาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย)

โดยอัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มยุโรป อาทิ สหราชอาณาจักร อิตาลี และเยอรมนี

ที่นี่เรามาดูกันว่า ในเดือนก.ย.2566 มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้นอะไรบ้าง เช่น ข้าวสาร ปลานิล ไข่ไก่ มะนาว ขิง กระเทียม นมสด กับข้าวสำเร็จรูป อาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) อาหารว่าง และน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

พาณิชย์ คุมเข้ม "เทศกาลกินเจ" ผักไม่ขาดตลาด

"พาณิชย์" หั่นเงินเฟ้อปี 66 เหลือ 1.35%

หอการค้าโพล เผยปชช.เชื่อ ดิจิทัล10,000 บาท ดันเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือนก.ย. 2566 โดยประชาชนมีรายจ่ายที่เป็นรายเดือนอยู่ที่ 18,163 บาทลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยเกือบทุกรายการ ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการรัฐที่ช่วยเรื่องค่าครองชีพ โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง แบ่งเป็น

1. ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ 4,285 บาท
2. ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม ค่าใช้ในบ้าน 3,988 บาท
3. เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ 1,658 บาท
4. อาหารบริโภคในบ้าน(เดลิเวอลรี่) 1,640บาท
5. อาหารบริโภคนอกบ้าน(ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง(เคเอฟซี พิซซ่า)1,255 บาท
6. ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริหารส่วนบุคคล 986 บาท
7. ผักและผลไม้ 1,027 บาท
8. ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน ค่าการกุศลต่างๆ 764บาท
9. ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง 696 บาท
11.เครื่องปรุงอาหาร 427 บาท
12.เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 403 บาท
13.ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 376บาท
14.ไข่และผลิตภัณฑ์นม 415บาท
15.ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 242 บาท

สินค้าอุปโภคบริโภค

สินค้าอุปโภคบริโภค

สินค้าอุปโภคบริโภค

ทั้งนี้ถ้าดูสัดส่วนการบริโภคต่อครัวเรือน พบว่า สินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ58.58 โดย ค่าโดยสารรถสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์ สูงถึงร้อยละ23.59

ผักสด

ผักสด

ผักสด

รองลงมาเป็นค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ21.96 ส่วนสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ41.42 โดย เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงถึงร้อยละ9.13 รองลงมาเป็นอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 9.03 และอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 6.91 เป็นต้น

ราคาเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ และเครื่องประกอบอาหารที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสินค้าในกลุ่มพลังงาน (ค่ากระแสไฟฟ้า ราคาน้ำมัน) และสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มลดลงจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ ส่งผลให้กำลังซื้อผู้บริโภคกลับมาในช่วงปลายปีนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง