วันนี้ 29 ต.ค.2566 ซึ่งตรงกับ "ดวงจันทร์เต็มดวง" ในเช้าวันออกพรรษา เกิดปรากฏการณ์ "จันทรุปราคาบางส่วน" ในช่วงเช้ามืด สังเกตได้บริเวณทวีปยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แปซิฟิก แอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย อาร์กติก แอนตาร์กติกา
อ่านข่าว : วันออกพรรษา 2566 ประวัติ ความสำคัญ และกิจกรรมชาวพุทธ
“พระจันทร์เต็มดวง” ระหว่างเกิดจันทรุปราคาบางส่วนเหนือคูเวตซิตี
สำหรับประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลา 01.01 - 05.26 น. ดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลก เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว เวลาประมาณ 01.01 น. แสงสว่างของดวงจันทร์จะลดลงเล็กน้อย สังเกตด้วยตาเปล่าได้ค่อนข้างยาก
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน 29 ตุลาคม 2566
จนกระทั่งเวลาประมาณ 02.35 น. ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดของโลก เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์เต็มดวงจะค่อย ๆ เว้าแหว่งไปทีละน้อย เงาโลกบังมากที่สุด เวลาประมาณ 03.14 น. ประมาณร้อยละ 6 ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ จนสิ้นสุด
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน 29 ตุลาคม 2566
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน 29 ตุลาคม 2566
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วนในเวลาประมาณ 03.52 น. รวมเวลาเกิดจันทรุปราคาบางส่วนนาน 1 ชั่วโมง 17 นาที จากนั้นดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลกอีกครั้ง และสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาโดยสมบูรณ์ในเวลาประมาณ 05.26 น.
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน 29 ตุลาคม 2566
ปี 2568 รอชม "จันทรุปราคาเต็มดวง"
"ปรากฏการณ์จันทรุปราคา" เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ เกิดเฉพาะวันดวงจันทร์เต็มดวง หรือในช่วงข้างขึ้น 14-15 ค่ำ
ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกที่ทอดไปในอวกาศ ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปเรื่อย ๆ กรณีที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปอยู่ในเงามืดของโลกทั้งดวง เรียกว่า "จันทรุปราคาเต็มดวง" หากเคลื่อนผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกบางส่วน เรียกว่า "จันทรุปราคาบางส่วน"
และเคลื่อนผ่านเฉพาะส่วนที่เป็นเงามัวของโลก เรียกว่า "จันทรุปราคาเงามัว" ซึ่งสังเกตด้วยตาเปล่าได้ค่อนข้างยาก
สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคา ที่จะสังเกตเห็นได้ในประเทศไทยครั้งถัดไป เป็น "จันทรุปราคาเต็มดวง" ในคืนวันที่ 7 ถึงเช้ามืดวันที่ 8 ก.ย.2568