เมื่อวันที่ 8-10 พ.ย.2566 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (ศวทบ.) สำรวจสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์บริเวณ จ.สมุทรสาคร และ จ.เพชรบุรี พบสัตว์ทะเลหายาก จำนวน 2 ชนิด คือ
ภาพ : ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (ศวทบ.)
1.วาฬบรูด้า (Bryde’s whale : Balaenoptera edeni) จำนวน 10 ตัว ทราบชื่อจำนวน 5 ตัว ได้แก่ แม่ข้าวเหนียวกับเจ้าข้าวสวย แม่กันยากับเจ้ามะลิ เจ้าสายฝน ไม่ทราบชื่อ จำนวน 5 ตัว บริเวณชายฝั่งทะเล จ.สมุทรสาคร และ จ.เพชรบุรี ระยะห่างจากฝั่ง 24 - 33 กม.
ภาพ : ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (ศวทบ.)
อ่าน พบ "วาฬบรูด้า" เกิดปีละ 5 ตัว แหล่งอาศัยอ่าวตัว ก.ตอนบน
2. โลมาอิรวดี (Irrawaddydolphin : Orcaella brevirostris) จำนวน 4 ตัว บริเวณชายฝั่งทะเล จ.สมุทรสาคร ระยะห่างจากฝั่ง 5.02 กม.สัตวแพทย์ตรวจสุขภาพวาฬบรูด้าที่สำรวจพบ พบมีอัตราการหายใจและคุณภาพการหายใจปกติ มีความสมบูรณ์ร่างกาย (Body Condition Score) อยู่ในเกณฑ์ดี และพบรอยโรค Tattoo Skin Disease (TSD) บนผิวหนังวาฬบรูด้าจำนวน 3 ตัว ได้แก่ แม่ข้าวเหนียวและเจ้าข้าวสวย เจ้าสายฝนและวาฬบรูด้าไม่ทราบชื่อ 1 ตัว
ภาพ : ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (ศวทบ.)
อ่าน 3 วาฬบรูด้า โผล่อวดโฉมเล่นน้ำ-หาอาหาร เขตอุทยานฯ หมู่เกาะอ่างทอง
ภาพ : ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (ศวทบ.)
นอกจากนี้ ยังได้รับแจ้งพบแม่สายชลและวาฬบรูด้าไม่ทราบชื่อ 2 ตัว และพบบาดแผลบริเวณด้านหน้าหางทั้งสองด้าน และรอยถูกพันรัดที่คอดหางของแม่ข้าวเหนียว ซึ่งสัตวแพทย์จะติดตามต่อไป
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
พบซากวาฬบรูด้าหนักกว่า 10 ตัน กลางทะเลชะอำ
ปะการังเขากวาง "เกาะยักษ์ใหญ่" ป่วยโรค SCTLD ทช.เก็บเนื้อเยื่อ
ทีมวิจัยจุฬาเกาะติด "น้ำมันรั่วกลางทะเล" จ.ชลบุรี หวั่นปะการังเป็นหมัน