ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"หอมวาริน" พันธุ์ข้าวทางเลือกรองรับสภาพภูมิอากาศวิกฤต

Logo Thai PBS
"หอมวาริน" พันธุ์ข้าวทางเลือกรองรับสภาพภูมิอากาศวิกฤต
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
IR57514 สายพันธุ์ข้าวต้นกำเนิด พัฒนาสู่ "หอมวาริน" พันธุ์ข้าวเจ้าทางเลือกรองรับสภาพภูมิอากาศวิกฤต

รวงข้าวสีเหลืองในแปลงนาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คือ "ข้าวเจ้าหอมวาริน" พันธุ์ข้าวทนแล้ง

แปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมวาริน (ภาพจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)

แปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมวาริน (ภาพจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)

แปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมวาริน (ภาพจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)

รศ.ดร.สุรีพร เกตุงาม อาจารย์ประจำภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ ร่วมกับนักศึกษาปริญญาโท ทดลองนำเมล็ดพันธุ์ปลูกในแปลงนาวิจัย เป็นผลผลิตจากการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวทนทานสภาพเครียดหลายลักษณะรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศวิกฤต เพื่อพื้นที่ปลูกข้าวอาศัยน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โครงการนี้ใช้สายพันธุ์ข้าวต้นกำเนิด IR57514 เพราะมีฐานพันธุกรรมทนแล้ง ทนน้ำท่วมฉับพลัน ปลูกได้ดีในลุ่มน้ำโขงและให้ผลผลิตสูง ปรับตัวได้ดี แต่มีข้อจำกัดที่ไม่ได้รับการยอมรับ เพราะเป็นข้าวแข็งและไม่หอม จึงคัดเลือกมาผสมกับขาวดอกมะลิ 105 ปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีผสมกลับ ใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยคัดเลือกลักษณะยีนความหอมและคุณภาพการหุงต้มให้เหมือนขาวดอกมะลิ ใช้ดีเอ็นเอช่วยคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์จนได้ต้นแบบ Jasmine IR57514 หรือ "หอมวาริน"

รศ.ดร.สุรีพร เกตุงาม (ภาพจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)

รศ.ดร.สุรีพร เกตุงาม (ภาพจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)

รศ.ดร.สุรีพร เกตุงาม (ภาพจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)

จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนศึกษาพันธุ์ ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตและคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ดีเด่น เกษตรกรนำไปปลูกในพื้นที่ภาคเหนือกับภาคอีสาน จนเลือกออกมาได้พันธุ์เดียวและขึ้นทะเบียนรับรองพันธุ์พืชใหม่เป็น "หอมวาริน"

ผลผลิตที่ได้จาก 10 แหล่งปลูกในภาคเหนือและภาคอีสาน เฉลี่ย 750 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการทดลองปลูกในนาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ผลผลิตสูงเกือบ 1 ตันต่อไร่

ล่าสุดมีการต่อยอดงานวิจัยเพิ่มยีนต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ต้านทานเพลี้ยกระโดด เพื่อให้หอมวารินทนทานสภาพเครียดที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนทดสอบผลผลิตในระดับระหว่างสถานี และจะทดสอบในนาเกษตรกรปี 2567

อ่านข่าว : ไทยส่งออกข้าวเพิ่ม 10% ยังติดหล่มพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ช้า

รวงข้าวเจ้าหอมวารินพร้อมเก็บเกี่ยว

รวงข้าวเจ้าหอมวารินพร้อมเก็บเกี่ยว

รวงข้าวเจ้าหอมวารินพร้อมเก็บเกี่ยว

รศ.ดร.สุรีพร บอกถึงสาเหตุที่เน้นพันธุ์ข้าวทนทานสภาพเครียดในสภาพวิกฤต มองว่าจะลำบากหากไม่มีทางเลือกของแหล่งพันธุกรรม เพราะใช้เวลานาน แต่หากมีแหล่งพันธุกรรมก็สามารถเร่งปรับปรุงพันธุ์ข้าวคุณภาพให้มีความแข็งแกร่งได้ในอนาคต

ยืนยันการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมวารินโดยใช้ดีเอ็นเอ ไม่ใช่การดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) เพราะระบบค้าข้าวในประเทศไทยระมัดระวังเรื่องนี้ อีกทั้งไม่อนุญาตให้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในไทย จึงมั่นใจว่าไม่มีข้าวจีเอ็มโอในประเทศ

รศ.ดร.สุรีพร กล่าวว่า ภาคอีสานมีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุด คิดเป็น 60% ของพื้นที่ปลูกข้าวในประเทศไทย ปลูกข้าวหอมมะลิ 2 สายพันธุ์คือ ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15 ได้ผลผลิตข้าวเจ้าเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ ไม่เกิน 400 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะเดียวกันโรงสีส่วนใหญ่ก็รับซื้อเฉพาะข้าว 2 พันธุ์นี้ แต่อยากให้เกษตรกรลองเปิดรับและนำพันธุ์ใหม่ไปใช้ ไม่จำกัดแค่หอมมะลิเท่านั้น

ข้าวของเราเป็นพันธุ์ทางเลือกที่รองรับสภาพวิกฤต ทนแล้ง ทนน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคไหม้ หอมนุ่มคล้ายขาวดอกมะลิ 105 และได้ผลผลิตสูงกว่า
บรรยากาศเยี่ยมชมแปลงงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บรรยากาศเยี่ยมชมแปลงงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บรรยากาศเยี่ยมชมแปลงงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

รศ.ดร.สุรีพร กล่าวว่า ตั้งใจพัฒนาพันธุ์เพื่อรองรับสภาพเครียด สภาพวิกฤต จะได้พันธุ์ที่เรียกว่า Resilience rice varieties รองรับสภาพเครียดในอนาคต ดังนั้นพันธุ์ข้าวต้องปรับตัวให้ทนโรค ทนแมลง ทนน้ำท่วม ทนแล้ง แต่ก็ไม่ลืมคุณภาพที่ยังคงความหอมและความนุ่ม

เป็นหนึ่งในความตั้งใจพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อรองรับวิกฤตสภาพอากาศ ทำให้ข้าวแข็งแรง มีผลผลิตมากขึ้น แต่ยังคงคุณภาพ "ข้าวหอมวาริน" จึงเป็นอีกทางเลือกเพื่อเกษตรกรและผู้บริโภค

อ่านข่าวอื่นๆ

"เอลนีโญ" พ่นพิษ "ฝนแล้ง-น้ำลด " กระทบพืชผลเกษตร

ชาวนาเฮ ! รัฐบาลไฟเขียว สั่งพักหนี้-หนุนจ่ายไร่ละ 1,000 บาท

ปล่อยฟรี!น้ำตาลหน้าโรงงานขึ้น 2 บาท กกร.เลิกคุมขายปลีก-ส่งออก

ข้าวโพดหวาน อาหารสำเร็จรูป "อานิสงส์ " ถก FTA ไทย-เอฟตา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง