ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก "อิกัวนาเขียว" เอเลียนสปีชีส์ เบอร์ต้น

สิ่งแวดล้อม
15 พ.ย. 66
14:43
13,564
Logo Thai PBS
 รู้จัก "อิกัวนาเขียว" เอเลียนสปีชีส์ เบอร์ต้น
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รู้จัก "อิกัวนา" วายร้ายต่างถิ่น หลังพบอาละวาดเมืองละโว้ จ.ลพบุรี ไม่ใช่สัตว์หน้าใหม่ ที่ "ฟลอริดา" สหรัฐฯ เคยถูกให้กำจัด เหตุทำลายระบบนิเวศ

"อิกัวนา" สัตว์เลื้อยคลานในจำพวก "กิ้งก่า" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Iguana iguana โดยจะมีรูปร่างสีสันแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์

"อิกัวนา" มีลักษณะที่โดดเด่นและเป็นภาพจำ คือ "เหนียง" ที่เป็นแผ่นหนังกลมขนาดใหญ่ห้วยอยู่ใต้คาง ตั้งแต่คอ กลางหลัง มีแผงหนามเรียงตัวต่อเนื่องยาวไปจนถึงหาง หากสังเกตดูที่ "แก้ม" จะเป็นเกล็ดแผ่นวงกลมขนาดใหม่ ซึ่งเรียกว่า subtympanic shield และมีช่องหูในแนวหลังตาแต่ละข้าง 

อ่านข่าว : ส.ผู้นิยมสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ คาดอีกัวนา "หลุด" สู่ธรรมชาติ ไม่ใช่การปล่อย


"อิกัวนา" มีหางยาวช่วยในการป้องกันจากสัตว์ผู้ล่า โดยหางที่ยาวแข็งแรง ใช้ฟาดใส่ศัตรูสร้างความเจ็บปวดได้ นอกจากนี้ หางสามารถสะบัดบางส่วนให้หลุดได้เหมือนกับกิ้งก่าชนิดอื่น ๆ นั้นเพื่อจะได้หนีได้เร็วขึ้น รวมทั้งหางสามารถงอกใหม่ได้

"อิกัวนา" มีเกล็ดปกคลุมทั่วร่างกาย เกล็ดที่อยู่รอบคอเป็นเกล็ดขนาดใหญ่ ทรงกลมนูน มีเกล็ดหนาและเรียงตัวแน่นในส่วนด้านล่างของลำตัว และเกล็ดที่มีตามร่างกายที่มีในส่วนต่าง ๆ สีสันหลากหลาย

สีเกล็ดยังมีปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับอายุ โดยที่ช่วงวัยเด็กสีพื้นของเกล็ดเป็นสีเขียวและมีแถบขนาดใหญ่สีน้ำตาล ปัจจัยที่สร้างความผันแปรอีก คือ สภาพอารม สุขภาพ อันดับในกลุ่ม และอุณหภูมิของพื้นที่ที่ร่างกายอีกัวนาจะต้องปรับตัวถ้าอากาศหนาวเย็นสีเกล็ดจะออกคล้ำ ส่วนในช่วงอากาศร้อนสีเกล็ดจะลดความเข้มลง

"อิกัวนา" เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อว่า Iguanidae วงศ์อิกัวนาแบ่งออกได้เป็น 8 วงศ์ย่อย แบ่งออกได้เป็น 44 สกุล และพบมากกว่า 672 ชนิด โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ อิกัวนาเขียว (Iguana iguana) ที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และอิกัวนาทะเล (Amblyrhynchus cristatus) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส

ครั้งนี้จะพาไปรู้จัก "อิกัวนาสีเขียว" ให้มากขึ้น ซึ่งสามารถปรับตัวเพื่ออยู่กับป่าได้หลายประเภท รวมทั้งการปรับตัวในพื้นที่ป่าที่มีต้นไม้ไม่หนาแน่น โดยเลือกอยู่ในจุดเรือนยอดและต้นไม้ที่อยู่ใกล้น้ำที่จะทิ้งตัวลงน้ำหนีจากสัตว์ผู้ล่าได้

อีกัวนาเขียว เอเลี่ยนสปีชีส์

อิกัวนาเขียว ไม่ใช่สัตว์พื้นถิ่นของประเทศไทย จัดอยู่ในหมวด "เอเลียนสปีชีส์"

"อิกัวนาเขียว" เป็นสัตว์ประจำถิ่นในป่าเขตร้อนของเม็กซิโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้และหมู่เกาะแคริบเบียน เป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ โดยช่วงวัยอ่อนจะกินแมลง หอย และเมื่อถึงช่วงอายุวัยเจริญพันธุ์จะกินใบไม้ ดอกไม้

"อิกัวนาเขียว" มีอายุขัยประมาณ 20 ปี ในกรงเลี้ยงปรากฏว่าอายุขัยจะน้อยกว่าในป่า เนื่องจากการดูแลที่ไม่เหมาะสม หากการดูแลอย่างถูกต้องอายุขัยในกรงเลี้ยงจะอยู่ในช่วง 10 - 20 ปี

อ่านข่าว : กองทัพ "อิกัวนา" บุกลพบุรี เก็บขี้หาเชื้อโรค-ใครปล่อยโทษ 6 เดือน

ในช่วงอายุโตเต็มวัย "อิกัวนาเขียว" จะเลือกเกาะกิ่งไม้ในระดับเรือนยอด ส่วนวัยอ่อนจะเกาะกิ่งไม้ในระดับต่ำลงมา และจะเลือกเกาะในจุดที่ได้รับแสงแดดโดยไม่ต้องลงจากต้นไม้ กรณีที่ลงพื้นดิน คือ เพศเมียที่ลงมาวางไข่

"อิกัวนาเขียว" สื่อสารผ่านการมองเห็น โดยการเคลื่อนลูกตา ซึ่งตัวอื่นจะรับรู้ได้ด้วยการการมองเห็นที่มีประสิทธิภาพสูง

ทั้งนี้ ภายใน 3 ปี จากน้ำหนัก 12 กรัม เมื่อออกจากไข่เติบโตจนกระทั่งมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม อีกัวนาช่วงอายุวัยเจริญพันธุ์มีความยาวจากปลายปากถึงโคนหางอยู่ในช่วง 1.2 - 1.7 เมตร และความยาวหาง 30 - 42 เซนติเมตร น้ำหนักของอีกัวน่าเพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 4 กิโลกรัม

 "อิกัวนา" ผสมพันธุ์ช่วงไหน

การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน และช่วงที่ลูกอีกัวนาเขียวออกจากไข่จะเป็นช่วงฤดูฝนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ รูปแบบการผสมพันธุ์จะเป็นแบบในหนึ่งฤดูผสมพันธ์ุทั้งเพศเมียและเพศผู้จะผสมพันธ์ุกับเพศตรงกันข้ามหลายตัว

"อิกัวนา" จะมีท่าทางการเกี้ยวพาราสีของเพศผู้จะทำท่าผงกหัว เหนี่ยงจะ เหยียดและหดเข้า การผสมพันธุ์จะเริ่มโดยการที่เพศผู้จะขึ้นไปบนหลังเพศเมีย ใช้ปากจับที่ผิวหนังต่อมาโคลเอก้าของทั้งสองเพศจะประกบกัน

อีกัวนาเขียวเพศเมียจะเก็บรักษาสเปิร์มได้หลายปี ทำให้เป็นการเพิ่มโอกาสที่สเปิร์มจะผสมกับไข่ได้ในจำนวนที่มากขึ้น เพศเมียจะวางไข่เฉลี่ย 65 วัน หลังจากการผสมพันธุ์ ไข่จะวางไข่ในรังในดินที่ลึก 45 เซนติเมตร ซึ่งรังดินนี้อาจจะมีเพศเมียตัวอื่นมาวางไข่ร่วมด้วย ในช่วงเวลา 3 วัน จะมีการวางไข่ที่อาจมากถึง 65 ฟอง โดยมีขนาด 15.4 X 35-40 มิลลิเมตร ระยะฟักไข่ 90-120 วัน

อ่านข่าว : อุทยานฯ ประกาศจับ "อิกัวนา" ก่อนนิเวศพัง พบ 3 พิกัดประชากรพรึ่บ

อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการฟักไข่อยู่ในช่วง 85-91 องศาฟาเรนไฮต์ ลูกที่กำลังจะออกจากไข่จะใช้ฟันที่กัดเปลือกไข่ออกมาที่เรียกว่า คารันเคิล และชุดฟันนั้นจะหลุดออกหลังจากที่ลูกอีกัวนาออกจากไข่ได้ไม่นาน ส่วนไข่แดงก็จะค่อยถูกดูดซึมไปโดยจะใช้เป็นอาหารสำรองในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก

อ่านข่าว : สภาพอากาศวันนี้ เหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดอีก หนาวต่ำสุด 8 องศาฯ

"อิกัวนา" ในประเทศไทย

หากจะพูดถึงสถานภาพของ "อิกัวนาเขียว" ตามกฎหมายในไทยถือเป็นสัตว์ป่าควบคุมในบัญชี อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ลําดับที่ 690 "อิกัวนา" ทุกชนิดในสกุล "Iguana" : มาตรา 9 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตวป่า พ.ศ. 2562 ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าควบคุม พ.ศ.2565

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ก.พ.2561 กำหนดให้อีกัวนาขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าต่างถิ่นที่มีประวัติว่ารุกรานแล้วในประเทศอื่น แต่ยังไม่รุกรานในประเทศไทย เพื่อป้องกันการหลุดรอดในธรรมชาติและกระทบระบบนิเวศ

ในรอบ 20 ปี ไทยนำเข้ากว่า 5,800 ตัว 

สำหรับข้อมูลการนำเข้าสัตว์เลื้อยคลานและอีกัวนาของประเทศไทยจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบุว่าระหว่าง ปี 2000 – 2021 แบ่งเป็น "สัตว์เลื้อยคลาน" จำนวน 199 ชนิด ทั้งหมด 238,774 ตัว จาก 72 ประเทศ 6 ภูมิภาค คือ แอฟริกา ยุโรป เอเชีย อเมริกากลาง อเมริกาเหนือ โอเชเนียร์

ในจำนวนนี้เป็น "อิกัวนา" 5,877 ตัว จาก 11 ประเทศ 5 ภูมิภาค คือ อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง เอเชีย แอฟริกา

ปี 62 ฟลอริดาไฟเขียว กำจัด "อิกัวนา" เหตุทำลายระบบนิเวศ

กรมอุทยานแห่งชาติฯ ยังยกกรณี คณะกรรมการอนุรักษ์สัตว์รัฐฟลอริดา ระบุว่า ผู้ถือครองที่อยู่อาศัยในรัฐฟลอริดาไม่จําเป็นต้องขออนุญาตเพื่อกําจัดอิกัวนา หากพบอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยของตัวเอง โดยทางคณะกรรมการสนับสนุนให้กําจัดได้โดยเร็วที่สุด "ทางคณะกรรมการยังอนุญาตให้ช่วยกันกําจัดอิกัวนาตามสถานที่สาธารณะ 22 แห่งในรัฐฟลอริดาได้ตลอดโดยไม่ต้องขออนุญาตด้วย"

"อิกัวนา" ยังสามารถสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศท้องถิ่น ด้วยการกินพืชและสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก เช่น ผีเสื้อ และหอยทากบางชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ทั้งยังขับถ่ายของเสียไว้ตามทางเท้า หลังคาบ้าน อาคาร นอกจากนี้ ยังเป็นพาหะของเชื้อสกุล "ซาโมเนลลา" ซึ่งก่อโรคอุจจาระร่วงในมนุษย์

นอกจาก กรณีที่กองทัพ อีกัวนาเขียว บุกพื้นที่บ้านห้วยบุ้ง ต.พัฒนา จ.ลพบุรี ทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบหนัก พืชผักที่ปลูกเอาไว้รับประทานเองหรือเตรียมไปขายล้วนถูก อีกัวนาเขียว กัดกินจนหมดสิ้น

อ่านข่าว : เอ็นดู! "พลายเดือน" อยากเดินได้-ปรับแผนเข้าเฝือกแข็ง 17 พ.ย.นี้

ยังเคยพบ อีกัวนาเขียว ใน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี โดยจากการสำรวจครั้งที่ 1 เมื่อเดือน พ.ย.2565 จำนวน 23 ตัว ครั้งนั้นพบแหล่งทำรังวางไข่ ในไร่มันสำปะหลัง โดยการขุดโพรงวางไข่ตามร่องมัน นอกจากนี้ยังพบมีการกัดกินพืชผลของชาวบ้าน เช่น พริก (ดอก) คะน้า ผักกาด ถั่วฝั่งยาว เป็นต้น

นอกจากนี้ ในปีเดียวกันยังมีรายงานการพบเห็นอีกัวนาเขียวในธรรมชาติ บริเวณถนนหน้าพระลาน จ.ลพบุรี

ข้อมูลจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช , องค์การสวนสัตว์ 

อ่านข่าวอื่นๆ

ดีเดย์! 16-17 พ.ย.ย้ายลูกช้างป่าทับลาน ผ่าตัดกระดูกที่มก.

ฝีมือใคร? ลอบขุดดินแม่น้ำแควใหญ่ยื่น 5 เมตรห่วงตลิ่งพัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง