ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“แอ่วกุมกามยามแลง” เรียนรู้ประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม

ภูมิภาค
6 ธ.ค. 66
11:01
2,132
Logo Thai PBS
“แอ่วกุมกามยามแลง” เรียนรู้ประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“เวียงกุมกาม” พญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนาสร้างเมืองและอาศัยอยู่ราว 10 ปี ( พ.ศ. 1819-1829) เปรียบเสมือนราชธานีแห่งแรกของล้านนา โบราณสถานและศิลปะที่ขุดค้นพบล้วนเป็นยุคทองของล้านนา และถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีจากตะกอนดินทรายเมื่อเกิดน้ำท่วม

สายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้เล่าถึงเวียงกุมกามผ่านหลังฐานทางประวัติศาสตร์ และการขุดค้นทางโบราณคดี ว่า

เดิม “เวียงกุมกาม” เป็นพื้นที่ในพื้นที่วัฒนธรรมหริภุญชัย หลังพญามังรายขึ้นครองเมือง และยึดเมืองได้ จึงยกระดับจากหมู่บ้าน เป็นเมืองขนาดใหญ่ สะท้อนผ่านข้อมูลการขุดทางโบราณคดี และโบราณวัตถุ ที่ขุดค้นพบ เช่น พระพิมพ์ วัดช้างค้ำ วัดกานโถม

เวียงกุมกาม มีความสำคัญมาตลอดนับตั้งแต่สร้างไปจนถึง พ.ศ.2100 กว่า จนเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม เมื่อพิจารณาจากเอกสารประวัติศาสตร์หลังสมัยหลังพญามังรายสร้างเมือง เช่น สมัยพญาแสนภู พระมเหสีออกจากเมืองเชียงใหม่ข้ามน้ำแม่โท หรือ น้ำแม่ข่า เพื่อข้ามไปเวียงกุมกาม หรือ สมัยหลังมีพระราชวงศ์ชื่อท้าวเวียงกุมกาม แสดงให้เห็นว่าลำดับของเวียงกุมกามมีพัฒนาการตลอด ในเอกสารประวัติศาสตร์

โบราณสถานวัดหนานช้าง เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่

โบราณสถานวัดหนานช้าง เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่

โบราณสถานวัดหนานช้าง เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่

หลักฐานโบราณคดีและศิลปกรรมมีความต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ต่อเนื่องมาพุทธศตวรรษที่ 22 เช่น วัดช้างค้ำ วัดกานโถม หลักฐานโบราณสถานหันหน้าไปทิศตะวันตก เป็นหลักฐานสำคัญ

เมื่อพิจารณาเรื่องพัฒนการเปลี่ยนแปลงของเมือง จากภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี พ.ศ.2497 จะเห็นว่าเวียงกุมกาม พบแนวแม่น้ำปิงสายเดิมอยู่สองแนว คือบริเวณที่ผ่ากลางเมือง และด้านทิศเหนือ

แม่น้ำปิงที่เห็นสายน้ำปัจจุบันด้านทิศตะวันตก สิ่งนี้สำคัญต่อพัฒนาการเวียงกุมกาม จะเห็นว่าพื้นที่วัดหนานช้าง วัดอีก้าง วัดปู่เปีย วัดกู่ป่าด้อม ตั้งอยู่บริเวณของร่องน้ำปิงสายเก่า ที่ผ่ากลางพื้นที่

เมื่อมองนัยยะ วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือวัดกู่คำ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของร่องน้ำปิง และวัดช้างค้ำ-กานโถม ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของร่องน้ำปิง

วัดช้างค้ำ-กานโถมหันหน้าไปทิศตะวันตก เดิมเป็นปริศนามานาน เหตุใดวัดช้างค้ำ-กานโถมจึงหันไปทางทิศตะวันตก แตกต่างจากวัดอื่นของล้านนา ในเวียงกุมกามวัดมักหันไปทางทิศตะวันออก เมื่อพิจารณาสายน้ำปิงสายเดิม

สายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่

สายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่

สายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่

วัดกานโถมหันหน้าเข้าแม่น้ำปิงสายเก่า สอดคล้องหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พอพิจารณาชื่อเดิมของเวียงกุมกาม ในเอกสารพงศาวดารภาค ที่ 11 พูดถึงพญามังราย ตั้งเวียงกุมกามที่บ้าน “เชียงกวมเชียงงาม”

ถ้าแบ่งวรรคตอน เชียงกวม น้ำแม่ระมิงค์ สร้างเมืองทับน้ำแม่ระมิงค์ ซึ่งสอดคลองหลักฐานที่ปรากฏ วัดกานโถมอยู่ทางด้านทิศตะวันออก วัดเจดีย์เหลี่ยมอยู่ทางทิศตะวันตกค่อมทับน้ำปิงสายเก่าที่ผ่านตัวเมือง เป็นพัฒนาการระยะแรกเวียงกุมกาม

เมื่อดูศิลปกรรมประกอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยิ่งสอดคล้องกับเจดีย์เหลี่ยมที่รับรูปแบบมาจากวัฒนธรรมหริภุญชัย จาดวัดกู่กุด

ทำไมเวียงกุมกามจึงร้าง?

สายกลาง ระบุว่า เวียงกุมกาม มีความเปลี่ยนแปลงเพราะสัมพันธ์กับเรื่องน้ำมาโดยตลอด เกิดขึ้นครั้งแรกก็เกิดขึ้นสร้างกวม หรือ ครอบทับแม่น้ำปิง

การเปลี่ยนแปลงครั้งที่สองก็เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสายน้ำปิงเช่นเดียวกัน แม่น้ำปิงที่เคยไหลกลางพื้นที่ก็ไหลเลาะทางด้านทิศเหนือ ทำให้ในช่วงที่สายน้ำปิงเปลี่ยนผ่าน ทำให้บริเวณกลางพื้นที่แม่น้ำปิงสายเก่าเกิดวัดขึ้นมา เช่น วัดกู่ป้าด่อม วัดหนานช้าง วัดปูเปี้ย วัดอีก้าง ฯลฯ

สังเกตเห็นได้อีกครั้ง ในพื้นที่วัดที่ตั้งอยู่พื้นที่จะมีความลึกมากกว่าวัดอื่น ๆ ที่อยู่ในเวียงกุมกาม จะมีความลึกจากดินปัจจุบัน 2 เมตร แต่วัดอื่นๆ ลึกประมาณ 1 เมตร ซึ่งเพราะตั้งอยู่ร่องน้ำปิงสายเก่า

เดิมข้อมูลทางธรณีวิทยาร่องแม่น้ำปิงสายเก่ากว้างเท่าน้ำปิงสายปัจจุบัน ค่อยๆลดความกว้างและตื่นเขินลงจนเหลือ 2 เมตร จึงกลายเป็นที่ตั้งของ วัดกู่ป้าด้อม วัดหนานช้าง วัดปูเปี้ย วัดอีก้าง

การเกิดวัดแม่น้ำปิงสายใหม่ทางทิศเหนือ ยุคที่แม่น้ำปิงเกิดการเปลี่ยนวัดจะเริ่มหันหน้าไปทางทิศเหนือ เข้าหาเส้นทางคมนาคมคือแม่น้ำปิง ถ้าดูศิลปกรรมเป็นตัวประกอบจะเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงแม่น้ำปิง ครั้งที่สอง เกิดในกลางพุทธศตวรรษที่ 21

การเปลี่ยนแปลงแม่น้ำปิงระยะสุดท้าย ข้อมูลจากขุดโบราณคดีพบว่า ชั้นทับถมของโบราณสถาน เศษกระเบื้องมุงหลังคา ชิ้นสวนอาคาร อยู่ใต้ตะกอนทรายน้ำท่วม

สิ่งนี้เป็นนัยยะสำคัญ ”เดิมที่เราเข้าใจว่าเวียงกุมกามร้างไปเพราะน้ำท่วม เวียงกุมกามน้ำท่วมก่อนหน้านั้น อาจร้างไปเพราะศึกสงครามเป็นหลัก

เมื่อเกิดสงครามสิ่งสำคัญคือการกวาดต้อนผู้คน ทำให้เมืองร้างขาดการดูแล ศาสนสถาน จึงปรากฏเป็นเศษกระเบื้องมุงหลังคา ชิ้นสวนต่างๆ ที่เกิดจากการปรักหักพังวัดวาอารามหล่นอยู่ หลังจากช่วงเวลานี้จึงเกิดตะกอนน้ำเกิดขึ้นอีกที แสดงให้เห็นว่า น้ำท่วมมาภายหลัง

น้ำท่วมน่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

สายกลาง เล่าถึงจากการพบเครื่องถ้วยจีนวัดหนานช้าง เป็นหลักฐานบ่งชัดหลักฐานน้ำท่วม ควรจะเกิดขึ้นหลัก พ.ศ.2100 หรือ หลัง พ.ศ.2160 เป็นต้นไป เพราะในชั้นการทิ้งร้างของพื้นที่วัดหนานช้าง เพราะเครื่องถ้วยจีนใบหนึ่งที่มีตราประทับก้นถ้วย “ต้า หมิง หว่าน ลี่” แปลความได้ว่า ผลิตในรัชสมัยจักรพรรดิหว่านลี่ แห่งราชวงศ์หมิง ประมาณ พ.ศ.2100 ต้นๆ การที่พบเครื่องถ้วยจีนอยู่ใต้น้ำท่วมจึงเป็นสิ่งบ่งบอกถึงชั้นตะกอนทรายน้ำท่วมต้องเกิดขึ้นหลัง พ.ศ.2100-2160

เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง ที่ขุดค้นพบวัดหนานช้าง เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่

เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง ที่ขุดค้นพบวัดหนานช้าง เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่

เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง ที่ขุดค้นพบวัดหนานช้าง เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่

ยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากร ที่ 7 เชียงใหม่ เปิดเผยถึงจากการดำเนินทางโบราณคดีพบโบราณสถานเกือบ 30 แห่ง ที่นี่เป็นกลุ่มโบราณสถานที่ค่อนข้างใหญ่มากที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน ย้อนไปไป 40-50 ปี เวียงกุมกาม ยังเป็นเพียงชื่อในตำนานที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับล้านนา

ยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากร ที่ 7 เชียงใหม่

ยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากร ที่ 7 เชียงใหม่

ยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากร ที่ 7 เชียงใหม่

เมื่อปี พ.ศ.2527 การค้นพบเวียงกุมกามขึ้นมา เมื่อนำหลักฐานทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีจึงสามารถอธิบายได้ในฐานะเป็นเหมือนเมืองที่เป็นต้นทางประวัติศาสตร์ล้านนา การเคลื่อนย้ายของผู้คน เวียงกุมกามเป็นเสมือนตั้งถิ่นฐานชั่วคราวก่อนสร้างเชียงใหม่

พญามังรายครองเวียงกุมกามประมาณ 10 ปี การศึกษาทางโบราณคดี พบวัดที่เก่าก่อนหน้าสมัยพญามังราย มีเพียง 2-3 วัด ส่วนใหญ่มากกว่าถูกสร้างขึ้นหลัง พ.ศ.2000 หรือยุคทองของอาณาจักรล้านนา

หลังการสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นแล้ว เวียงกุมกามไม่ได้เป็นเมืองร้าง ยังเป็นเมืองการตั้งถิ่นฐาน ของผู้คน ถ้าดูจากลวดลายปูนปั้น แม้จะสร้างเมืองเชียงใหม่มาแล้ว เวียงกุมกามคงความสำคัญ ที่มีการอยู่อาศัยของคนชั้นสูง จะถึงราวพุทธศตวรรษที่ 22

โบราณสถานและศิลปกรรมที่ขุดค้นพบเวียงกุมกาม

ยอดดนัย ระบุเวียงกุมกามถือเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศิลปะได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะลวดลายปูนปั้น ช่วงยุคทองของล้านนา ในพื้นที่เชียงใหม่ก็มี แต่การบูรณะซ่อมแซมหลายยุคหลายสมัย

เวียงกุมกามเมืองที่อยู่พุทธศตวรรษที่ 22 ร้างไปและจมอยู่ใต้ชั้นตะกอนทรายเหมือนหลักฐานเหล่านี้รักษาไว้ใต้ชั้นดิน เหมือนหยุดกาลเวลาไว้ ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีจนมีการขุดค้น

การเปิดหลักฐานขึ้นทำให้เห็นยุคทองของล้านนา มีหลักฐานที่สมบูรณ์ให้ค้นคว้า มีความจริงแท้ดั่งเดิม มากกว่าโบราณสถานที่มีการซ่อมมาเรื่อยๆ หลายช่วงเวลา

ถึงแม้เวียงกุมกามเรื่องราวจะมีมาก่อนเมืองเชียงใหม่ แต่สิ่งก่อสร้างมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นศิลปกรรมหลังพุทธศตวรรษที่ 20 ที่เป็นยุคทองล้านนา วัดเหล่านี้ล้วนเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างในยุคทอง ลวดลายปูนปั้นมีส่วนผสมที่ลงตัวของศิลปะหลายที่ ทั้งพื้นถิ่นล้านนา พม่า จีน โดยเฉพาะของจีนจะเห็นชัดเจน เช่น ลายกิเลน ลายดอกไม้เหมือนปรากฏเครื่องถ้วยจีน

รถม้าวิ่งผ่านวัดปู่เปี้ย เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่

รถม้าวิ่งผ่านวัดปู่เปี้ย เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่

รถม้าวิ่งผ่านวัดปู่เปี้ย เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่

วัดที่เห็นพัฒนาการเชื่อมโยงกับศิลปะภายนอก เช่น กลุ่มวัดหนานช้าง วัดอีก้าง วัดปู่เปี้ย โดยเฉพาะวัดหนานช้าง เป็นเหมือนกุญแจสำคัญที่ทำให้เห็นความเชื่อมโยง เพราะเห็นลวดลายของศิลปกรรมปูนปั้นศิลปะจีน ร่วมด้วย

วัดหนานช้างค้นพบถ้วยราชวงศ์หมิง ซึ่งถูกฝังโดยตั้งใจ และรอดพ้นจากการค้นหามาโดยตลอด เครื่องถ้วยเหล่านี้เป็นเครื่องถ้วยพิเศษ เพราะมีจารึกอักษรจีนด้านหลัง

สิ่งเหล่านี้สะท้อนความสัมพันธ์ล้านนากับจีน เพราะสิ่งของเหล่านี้ไม่สามารถซื้อขายได้ หรือเป็นของใช้ทั่วไป แต่เป็นของตอบแทนบรรณาการจากจีน จากเตาหลวง ที่ใช้สำหรับจักรพรรดิ หรือคนชั้นสูงเท่านั้น ไม่เพียงเท่านั้นลวดลายยังถูกถอด เป็นลวดลายปูนปั้น ถูกนำมาประดับโบราณสถาน

“มกรคายมังกร” ศิลปะจีนพบหนึ่งเดียวในล้านนา ที่วัดกู่ป่าด่อม

“มกรคายมังกร” ศิลปะจีนพบหนึ่งเดียวในล้านนา ที่วัดกู่ป่าด่อม

“มกรคายมังกร” ศิลปะจีนพบหนึ่งเดียวในล้านนา ที่วัดกู่ป่าด่อม

ลวดลายปูนปั้น ทางขึ้นอุโบสถเวียงกุมกามมีความโดดเด่น ที่มีการออกแบบลวดหลายปูนปั้นหลายแบบ ตั้งแต่ลายก้นหอย ลายกระหนก ลายมกรคลายนาค แต่ยังพบที่อื่นในล้านนา

ในล้านนา “มกรคายมังกร” ศิลปะจีนพบหนึ่งเดียวในล้านนา ที่วัดกู่ป่าด่อม ซึ่งเป็นวัดร้างที่อยู่ใต้ตะกอนทราย หน้ากว่า 2.5 เมตร ตัวมังกรโดนเก็บรักษาจากตะกอนทราย ลายนี้มีเพียงหนึ่งเดียวของล้านนา

เวียงกุมกามปัจจุบันได้พัฒนาให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางมรดกวัฒนธรรม มีคุณค่าความจริงแท้ที่ใกล้เมือง อยู่เป็นกลุ่มชัดเจน ทุกวันนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่บริหารจัดการจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายภาคส่วน เช่น การบริหารท่องเที่ยว มีรถม้า รถราง ดูแลโดย อ.สารภี ส่วนบริการท่องเที่ยวชาวบ้านรวมตัวกันนำชมเวียงกุมกาม

สำหรับการจัดงาน “แอ่วกุมกามยามแลง” เป็นนโยบายตอบสนองซอฟต์พาวเวอร์ ต่อยอดพื้นที่วัฒนธรรมปรับภูมิทัศน์ให้สวยงามสามารถใช้ประโยชน์ได้ในที่สาธารณะ โบราณสถานที่สวยงาม หน่วยงานต่างๆเข้าร่วมทำกิจกรรม ไม่ได้แสดงเพียงโบราณสถาน ยังเอามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมาร่วมด้วย

โกวิทย์ บุญธรรม ผู้สื่อข่าว ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง