ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เหตุผลค้าน "กระเช้าภูกระดึง" สิ่งแวดล้อมพังไม่คุ้มนักท่องเที่ยวเพิ่ม

สิ่งแวดล้อม
6 ธ.ค. 66
13:58
3,973
Logo Thai PBS
เหตุผลค้าน "กระเช้าภูกระดึง" สิ่งแวดล้อมพังไม่คุ้มนักท่องเที่ยวเพิ่ม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ยังไม่จบ! กระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง ยังมีเสียงหนุน-ค้านต่อเนื่อง นักอนุรักษ์มองต่างมุม "ภูกระดึง" มีข้อจำกัดเชิงพื้นที่ เสน่ห์คือซึมซับป่าธรรมชาติ ต่างกับกระเช้าในต่างประเทศไว้ชมเมือง ชี้เพิ่มนักท่องเที่ยวเสี่ยงสูญเสียสิ่งแวดล้อมพัง

วันนี้ (6 ธ.ค.2566) นางพวงเพ็ชร​ ชุน​ละเอียด​ รัฐมนตรี​ประจำ​สำนักนายกรัฐมนตรี​ กล่าวถึงกรณีที่นายอำเภอภูกระดึง​ จ.เลย​ กล่าวว่าประชาชนในพื้นที่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง ถึง 99% ว่า​ มีหลายหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว นายอำเภอ คนในจังหวัด สมาคมพ่อค้าต่างๆ ก็ออกมาสนับสนุนอยากจะให้มีโครงการดังกล่าว ซึ่งจะต้องทำรายงานผลกผลกระทบสิ่งแวดล้อม​ (อีไอเอ) เพื่อออกแบบก่อน​

ขณะนี้มีหลายหน่วยงานสอบถามเข้ามามาก​ แต่อยากให้กลับไปทางส่วนจังหวัด​ เพื่อศึกษาเรื่องการออกแบบ และนำมาประกอบกับการรายงานผลสำรวจอีไอเอ เพื่อส่งต่อให้ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 

อ่านข่าว เปิดหนังสือขอศึกษา "กระเช้าภูกระดึง" 2 ปีสิ้นสุดปี'68

นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนกนายกรัฐมนตรี ผู้ปลุกกระเช้าภูกระดึง

นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนกนายกรัฐมนตรี ผู้ปลุกกระเช้าภูกระดึง

นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนกนายกรัฐมนตรี ผู้ปลุกกระเช้าภูกระดึง

เชื่อเพิ่มรายได้-ยังมี 2 ทางเลือก

ส่วนในฐานะอดีตสส.ในพื้นที่ จังหวัดเลยจะมีกระบวนการอะไรที่จะทำให้โครง การเดินหน้า​ นางพวงเพ็ชร​ กล่าวว่า เรื่องนี้ทางจังหวัดจะต้องหารือกับทางสำนักงบประมาณ ถึงข้อมูลที่มีการขอไปเพียงพอหรือไม่ ดังนั้นจะต้องตรวจสอบกับทางจังหวัด 

นางพวงเพ็ชร​ กล่าวว่า เรื่องกระเช้าภูกระดึง ก็เคยผลักดันตั้งแต่เป็นสส.สมัยแรกเมื่อปี​ 2539 ว่าอยากให้มีกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง แต่ที่ผ่านมาจะมีผู้ต่อต้านบ้าง​ แต่ก็ยังมีผู้สนับสนุน​ และเมื่อมาในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุคที่เศรษฐกิจค่อนข้างตกต่ำ และจากที่นายอำเภอรายงานมา

ขณะนี้ยอดนักท่องเที่ยวขึ้นภูกระดึงลดน้อยลง จึงอยากมีกระเช้าเพื่อเพิ่มรายได้ และยังคงให้มีทางขึ้นลง 2 ทาง ทั้งทางเดินเท้าและทางกระเช้า​ โดยจะทำให้ลูกหาบในพื้นที่ยังคงมีรายได้
ป้ายครั้งหนึ่งต้องพิชิตภูกระดึง จ.เลย ที่นักท่องเที่ยวต้องไปเช็กอินจุดแรก

ป้ายครั้งหนึ่งต้องพิชิตภูกระดึง จ.เลย ที่นักท่องเที่ยวต้องไปเช็กอินจุดแรก

ป้ายครั้งหนึ่งต้องพิชิตภูกระดึง จ.เลย ที่นักท่องเที่ยวต้องไปเช็กอินจุดแรก

นางพวงเพ็ชร กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวพื้นที่ จ.เลย เนื่องจากที่ผ่านมานักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวเมืองเชียงคาน​ ภูเรือ​ ภูหลวง​ รวมถึงภูบ่อบิด​ ทึ่เป็นแหล่งท่องเที่ยว จ.เลย​ ภูกระดึงก็น่าจะเป็นจุดที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้จำนวนมาก

อ่านข่าว เปิดหนังสือขอศึกษา "กระเช้าภูกระดึง" 2 ปีสิ้นสุดปี'68

ส่วนของขวัญปีใหม่ประชาชนปี 2567 ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรีจะมีเรื่องใดบ้าง​ นางพวงเพ็ชร​ ขอให้รอดู​ว่านายเศรษฐา ทวีสนนายกรัฐมนตรี​จะแจกอะไรบ้าง​

อ่านข่าวปัดฝุ่น! "กระเช้าภูกระดึง" ชงของบ 28 ล้าน-ขอเข้าพื้นที่ศึกษาสวล.

กลุ่มนักอนุรักษ์ ค้านสร้างกระเช้าไฟฟ้า

ด้านนายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ ให้สัมภาษณ์ว่า การถกเถียงเรื่องการสร้างกระเช้าภูกระดึงเกิดขึ้นมาต่อเนื่องแทบจะ 3 ปีครั้งตามการผลักดันของทั้งหน่วยงานด้านท่องเที่ยวและรัฐมนตรีบางพื้นที่ แต่คำนึงถึงนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้น เช่น กรณีของสกายวอล์กเชียงคาน คนไปครั้งเดียวแล้วก็ไม่ได้ไปซ้ำ ไม่อยากให้หน่วยงานตั้งเป้าแบบการชี้นำคนมากๆ จะไม่เป็นจริงเ พราะไปครั้งเดียวแล้วเบื่อ ต่างกับคนที่เดินขึ้นภูกระดึงแล้วมีความประทับใจ เป็นการคัดคนที่ตั้งใจอยากไปเที่ยวภูกระดึง 

เป็นห่วงว่าคนจำนวนมากขึ้นไปภูกระดึง ที่ยอดภูมีข้อจำกัดเชิงพื้นที่ อาจจะทิ้งความเสียหายไว้ ไม่คุ้มกับสิ่งแวดล้อมที่จะสูญเสีย เป็นความเสี่ยง หน่วยงานแต่ละหน่วยต้องฟังข้อมูลอย่างไม่ลำเอียง

นายหาญณรงค์ กล่าวอีกว่า การท่องเที่ยวยังควรต้องมีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวแบบที่กรมอุทยานฯดำเนินการอยู่ และอยากให้มีการศึกษาให้ชัดเจนและคุยกันให้ตกผลึกก่อนเพราะที่ผ่านมาคุยกันแล้วพับโครงการไปหลายรอบแล้ว ยอมรับว่าฝ่ายสนับสนุนก็อยากให้คนในพื้นที่มีรายได้ และต้องศึกษาสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจน ขอให้รัฐบาลมีการทำการมีส่วนร่วมกับประชาชนด้วย

ไม่อยากให้เทียบกับต่างประเทศที่มีกระเช้า เพราะเรามีคามต่างทางด้านภูมิประเทศ ภูกระดึงขึ้นไปยาก แต่ที่อื่นเช่น บราซิล ขึ้นไปแล้วต้องการให้เห็นภูมิทัศน์ของเมือง และมองการเปลี่ยนแปลงอย่างไร แต่ภูกระดึงคือบรรยากาศของป่าและทรัพยากร

อ่านข่าว "ลูกหาบภูกระดึง" ในวันเปิดประเทศ รายได้บนความเสี่ยง

ขณะที่ตัวเลขการท่องเที่ยวที่มีรายได้ในแต่ละปี 50,000-80,000 ต่อปี และมีการจำกัดนักท่องเที่ยววันละประมาณ 2,000 คน เนื่องจากมีฤดูกาลท่องเที่ยวระหว่างเดือนต.ค.-พ.ค.ของทุกปีเพื่อปิดพื้นที่ให้ธรรมชาติฟื้นฟู และเส้นทางการเดินมีความยากลำบาก

อ่านข่าว

7 จุดห้ามพลาด "ภูกระดึง" ขุนเขา "รูปหัวใจ" แห่งเมืองเลย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง